ประเพณีทอดกฐินในประเทศไทย
วันสำคัญในแต่ละเดือน
ประเพณีทอดกฐินในประเทศไทย การทอดกฐินในประเทศไทย เป็นทั้งประเพณีและวิถีไทยในงานบุญ นับตั้งแต่โบราณกาลจนปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนคนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินถึงสามัญชน ต่างก็ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะต้องมีการทอดกฐินหลังจากเทศกาลออกพรรษาแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นทอดกฐินทางบก (สถลมารค) หรือทอดกฐินทางน้ำ (ชลมารค) สุดแต่สถานที่ตั้งของวัดที่จะจัดงาน
26 ธันวาคม วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ (National Wildlife Protection Day)
วันสำคัญในแต่ละเดือน
นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ บทความเรื่องนี้ ในอดีตประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผืนป่าอันกว้างใหญ่ไพศาลยังไม่ถูกรุกราน จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ต่อมาเมื่อมีการค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติ สัตว์ป่าจึงเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยม ทั้งการส่งนอแรด งาช้าง และของป่าไปขายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ชีวิตสัตว์ป่าเริ่มถูกรุกรานทำให้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนถึงขั้นที่สัตว์ป่าบางชนิด เช่น สมัน ต้องสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยอย่างน่าเสียดาย
25 พฤศจิกา พระมหาธีรราชเจ้า
บุคคลสำคัญของไทย
นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา ภาพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหาธีรราชเจ้า) หมายเหตุ. จาก วิถีแห่งจอมปราชญ์ ตามรอยพระยุคลบาทพระมหาธีรราชเจ้า = Footsteps of the Great Philosopher-King Vajiravudh (หน้าปก), โดย ชัชพล ไชยพรม, 2556, กรุงเทพฯ : มุลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชูปถัมภ์. “คนจะเป็นปราชญ์ได้ต้องมีศิลปะ” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชนิยมในศิลปะแขนงต่าง ๆ อย่างเด่นชัดทั้งในด้านวรรณศิลป์ และนาฏศิลป์ ทรงใช้ความสามารถด้านคีตศิลป์กล่อมเกลาจิตใจคนให้อ่อนโยน
กระทงไม่หลงทาง
เดือนตุลาคม - ธันวาคม
นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา 15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบันเชื่อกันว่าการ “ลอยกระทง” หรือ “ลอยประทีป” เป็นการขอขมากับพระแม่คงคา ที่ได้ใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค กระทงที่นิยมกันมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น กระทงใบตอง กระทงขนมปัง กระทงผัก แล้วกระทงแบบไหน ที่จะเหมาะสมกับการสืบทอดประเพณีอันดีงาม และรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
วันชาสากล 15 ธันวาคม
วันสำคัญในแต่ละเดือน
วันชาสากล (International Tea Day) ถูกกำหนดขึ้นให้ตรงกับวันที่ 15 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 เริ่มต้นมาจากเกษตรกรผู้ปลูกชากลุ่มเล็กๆ ทางตอนเหนือของอินเดีย ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในการค้าชาของตน
วันฮาโลวีน 31 ตุลาคม
วันสำคัญในแต่ละเดือน
วันฮาโลวีน นับเป็นหนึ่งวันอันสำคัญของคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก ซึ่งตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี เชื่อว่ามีที่มาจากวันฉลองปีใหม่ของชาวเคลต์ (Celt) ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา วันที่ 1 พฤศจิกายน คือ วันขึ้นปีใหม่ของชาวเคลต์ ซึ่งในวันที่ 31 ตุลาคมนี่เอง
วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล 25 พฤศจิกายน
วันสำคัญในแต่ละเดือน
  25 พฤศจิกายน “รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก”   รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ทำไมจึงต้องเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน ? เหตุผลเพราะองค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี มีสาเหตุมาจากเหตุการณ์สังหาร นักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชาวโดมินิกัน 3 คน คือ Patria, Maria and Minerva Mirable ในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1961 อันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมืองในยุคการปกครองของนาย Rafael (ค.ศ. 1930 – 1961)
วันสิ้นปี 31 ธันวาคม
วันสำคัญในแต่ละเดือน
วันสิ้นปี คือ วันสุดท้ายของปีซึ่งตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ตามปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) ซึ่งดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) ทางการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ คืนวันนี้จะมีการจัดงานนับถอยหลัง(countdown) เพื่อเข้าสู่วันปีใหม่ในเวลาเที่ยงคืนตามเมืองใหญ่ทั่วโลกซึ่งเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน โดยมักมีการจุดพลุเฉลิมฉลอง  
วันอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างประเทศ 29 ธันวาคม
วันสำคัญในแต่ละเดือน
ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง สิ่งมีชีวิตนานาชนิด เช่น พืชและสัตว์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันตามหน่วยของพันธุกรรม และสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีความหลากหลายทางพันธกรรมเป็นสายพันธุ์ ยิ่งถิ่นที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกันมากเพียงใด ก็ยิ่งมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมากขึ้นเพียงนั้น หนังสือ Red Data Books ซึ่งจัดพิมพ์โดยสหพันธ์นานาชาติ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติได้บันทึกไว้ว่า การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยทำให้สูญเสียสิ่งมีชีวิตไปร้อยละ 73 นอกนั้นก็มีสาเหตุมาจากการนำสิ่งมีชีวิตวัชพืชในหมู่พืช มลพิษจากสารเคมีจากอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยขาดดุล เช่น การล่าสัตว์มากเกินไป การจับปลามากเกินไป การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่ามากเกินไป สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งสิ้น และเมื่อมีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งสูญหายไปก็จะหายไปชั่วนิรันดร์ เช่น ไดโนเสาร์ เป็นต้น ประวัติความเป็นมา เรื่องความหลากหลายทางชีวิภาพจึงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณากัน โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (Unites Nation Environment Programme – UNPE) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และ UNPE ได้ตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชึวิภาพ (Intergovernmental Committee on the Convention on Biological Diver : ICCBD) เพื่อมาดำเนินการเตรียมการในการยกร่างอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งได้รับการรับรองในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ณ กรุงไนโรบี ประเทศสาธารณรัฐเคนยา ต่อมาอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ถูกนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (The United Nations Conference on Environment Development : UNCED) หรือการประชุม The Earth Summit ที่กรุงริโอเดอเจนาโร ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ระหว่างวันที่ 3-14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เพื่อให้ที่ประชุมดังกล่าวได้มีการพิจารณาร่วมลงนามและรับรองอย่างเป็นทางการ ซึ่งขณะนั้นมีประเทศที่ได้ร่วมลงนามและรับรองทั้งสิ้น 157 ประเทศ …
วันคริสต์มาส 25 ธันวาคม
วันสำคัญในแต่ละเดือน
“คริสต์มาส” ถ้าพูดถึงคริสต์มาสในเมืองไทย มักจะเริ่มด้วยห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่จะตกแต่งกันอย่างหรูหราด้วยสีสันสดใส่ไม่ว่าจะเป็นแสงไฟ เสียงเพลงรวมถึงต้นคริสต์มาสอันเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสต์มาส สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นบรรยากาศที่ชักจูงให้คิดถึง วันสำคัญของชาวโลกวันหนึ่ง ก็คือ “วันคริสต์มาส”