น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” เนื่องใน วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (17 มกราคม)
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เว็บไซต์น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” เนื่องใน วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (๑๗ มกราคม) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชประวัติ และหัวเรื่องต่าง ๆ โดยเทียบเคียงกับเนื้อหาในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นสำคัญ ด้านท้าย มีบรรณานุกรม ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อได้อีก อ่านต่อ >>
บารมีพ่อขุนปกเกล้า ชาวราม
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2514 ในขณะนั้นประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ที่จะเข้ารับการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพเป็นจำนวนมาก ที่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อ เพราะมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยสมัยนั้นมีสถานที่เรียนจำกัด และไม่สามารถรับผู้ที่จะศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษาได้ทั้งหมด จากความจำเป็นดังกล่าวจึงเกิดมีแนวคิดที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยในลักษณะที่เป็นตลาดวิชาขึ้น
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นเป็นต้นเค้าของตัวอักษร และวิธีการเขียนหนังสือไทยในปัจจุบัน โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ยังคงเอกลักษณ์เดิม
ลายสือไท
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
กำเนิดลายสือไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทย หรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช 1205 (พุทธศักราช 1826) นับมาถึงพุทธศักราช 2546 ได้ 720 ปีพอดี ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปวัฒนธรรม และวิชาการต่างๆ และได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสืบต่อกันมา โดยอาศัยลายสือไทยของพระองค์เป็นส่วนใหญ่