ประเพณีทอดกฐินในประเทศไทย
วันสำคัญในแต่ละเดือน
ประเพณีทอดกฐินในประเทศไทย การทอดกฐินในประเทศไทย เป็นทั้งประเพณีและวิถีไทยในงานบุญ นับตั้งแต่โบราณกาลจนปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนคนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินถึงสามัญชน ต่างก็ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะต้องมีการทอดกฐินหลังจากเทศกาลออกพรรษาแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นทอดกฐินทางบก (สถลมารค) หรือทอดกฐินทางน้ำ (ชลมารค) สุดแต่สถานที่ตั้งของวัดที่จะจัดงาน
ห่อด้วยรักษ์
สนเทศน่ารู้อื่นๆ
นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ บทความเรื่องนี้ ช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี กลิ่นไอแห่งความสุขก็เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เทศกาลแห่งความสุขและการเฉลิมฉลองกำลังจะเริ่มต้นขึ้น หลายคนเริ่มมองหาของขวัญเพื่อมอบให้กับคนที่รักในเทศกาลวันปีใหม่ปลายเดือนธันวาคมนี้ ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา ดอกไม้ เค้ก หรือคุกกี้ ก็เป็นของขวัญอันดับต้น ที่มักจะเป็นตัวเลือกในการเป็นตัวแทนแห่งความรัก แล้วกระดาษ หรือวัสดุแบบไหนที่จะเหมาะสมกับการห่อความรักนั้นไว้
การประกอบพิธีเวียนเทียน ในวันมาฆบูชา
เดือนมกราคม - มีนาคม
การประกอบพิธีในวันสำคัญนี้ แบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ พิธีหลวง (หรือพระราชพิธี) พิธีราษฎร์ พิธีสงฆ์ การประกอบพระราชพิธี สำนักพระราชวัง จะมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ในวันมาฆบูชา ออกประกาศให้ทราบโดยทั่วกันทุกปี โดยปกติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จไปบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยพระองค์เอง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) แต่บางปีจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทน
26 ธันวาคม วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ (National Wildlife Protection Day)
วันสำคัญในแต่ละเดือน
นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ บทความเรื่องนี้ ในอดีตประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผืนป่าอันกว้างใหญ่ไพศาลยังไม่ถูกรุกราน จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ต่อมาเมื่อมีการค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติ สัตว์ป่าจึงเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยม ทั้งการส่งนอแรด งาช้าง และของป่าไปขายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ชีวิตสัตว์ป่าเริ่มถูกรุกรานทำให้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนถึงขั้นที่สัตว์ป่าบางชนิด เช่น สมัน ต้องสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยอย่างน่าเสียดาย
เทียนหอม
สนเทศน่ารู้อื่นๆ
นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ บทความเรื่องนี้ ความมหัศจรรย์ของกลิ่น.. เพียงแค่ได้กลิ่นอโรมาของเทียนหอม สมองก็รู้สึกผ่อนคลาย จิตใจเริ่มสงบ เพราะสารเคมีในสมองถูกกระตุ้นให้มีปฏิกิริยากับกลิ่นอโรมา ใช่ว่าเทียนหอมจะมีดีแค่กลิ่นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีกด้วย
25 พฤศจิกา พระมหาธีรราชเจ้า
บุคคลสำคัญของไทย
นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา ภาพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหาธีรราชเจ้า) หมายเหตุ. จาก วิถีแห่งจอมปราชญ์ ตามรอยพระยุคลบาทพระมหาธีรราชเจ้า = Footsteps of the Great Philosopher-King Vajiravudh (หน้าปก), โดย ชัชพล ไชยพรม, 2556, กรุงเทพฯ : มุลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชูปถัมภ์. “คนจะเป็นปราชญ์ได้ต้องมีศิลปะ” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชนิยมในศิลปะแขนงต่าง ๆ อย่างเด่นชัดทั้งในด้านวรรณศิลป์ และนาฏศิลป์ ทรงใช้ความสามารถด้านคีตศิลป์กล่อมเกลาจิตใจคนให้อ่อนโยน
กระทงไม่หลงทาง
เดือนตุลาคม - ธันวาคม
นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา 15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบันเชื่อกันว่าการ “ลอยกระทง” หรือ “ลอยประทีป” เป็นการขอขมากับพระแม่คงคา ที่ได้ใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค กระทงที่นิยมกันมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น กระทงใบตอง กระทงขนมปัง กระทงผัก แล้วกระทงแบบไหน ที่จะเหมาะสมกับการสืบทอดประเพณีอันดีงาม และรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
ก้าว..กระดาษ
สนเทศน่ารู้อื่นๆ
นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา การก้าวเดินของเวลาทำให้ได้เห็นถึงวิวัฒนาการทางความคิดของมนุษย์มากมายผ่านการจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของคนในอดีต แล้วอะไรคือสิ่งที่บันทึกเรื่องราว ความรู้ในแต่ละด้าน จนทำให้มนุษยชาติมีการเจริญเติบโตจนถึงทุกวันนี้ กระดาษก็เป็นอีกหนึ่งคำตอบของคำถามนี้เช่นกัน กว่าจะเป็นกระดาษที่เห็นกันในปัจจุบันได้ผ่านการพัฒนามาจากการใช้วัสดุธรรมชาติเพียงอย่างเดียวมาเป็นการใช้สารเคมีเป็นส่วนผสมในการทำกระดาษแต่ละแผ่น ก้าวแรกของกระดาษคือ “Papyrus”
วันปีใหม่ 1 มกราคม
วันสำคัญในแต่ละเดือน
ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย ในสมัยโบราณมาเราถือว่า วันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ อันต้องด้วยในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเหมันตฤดูเป็นการเริ่มต้นปี และในสมัยโบราณนั้น วันขึ้นปีใหม่ เราได้นับถือคติของพราหมณ์ คือ ใช้วันที่ขึ้น  1  ค่ำ เดือน  5  เป็นวันขึ้นปีใหม่ และเป็นเช่นนั้นตลอดมา จวบจนกระทั่งปี  พ.ศ. 2432 แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้ก็เนื่องจากทางราชการได้นิยมใช้หลักทางสุริยคติ แต่ก็ยังคล้องต้องตามคติพราหมณ์อยู่นั่นเอง เพราะเดือน  5  ก็ตรงกับเดือนเมษายนเรื่อยมา