ประเพณีทอดกฐิน

ประเพณีทอดกฐิน

ประเพณีทอดกฐิน

ความหมายของ “กฐิน”

“กฐิน” เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบตัดจีวร ในสมัยก่อน การตัดเย็บจีวรเป็นเรื่องใหญ่ ทำยาก เพราะไม่มีเครื่องทุ่นแรง เช่น จักรเย็บผ้า และไม่มีร้านขายจีวรสำเร็จรูป พระภิกษุจึงต้องตัดเย็บจีวรเอง โดยช่วยกันหลาย ๆ รูป และใช้ไม้สะดึงขึงผ้าเพื่อกะตัด เย็บ การใช้ไม้สะดึงช่วยในการตัดเย็บจีวร สะดวกแก่ผู้ไม่ชำนาญในการตัดเย็บ

“กฐิน” ตามความหมาย ของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 คือ “ผ้าที่ถวายพระซึ่งจำพรรษาแล้ว”

การทอดกฐิน ก็คือการน้ำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าสงฆ์ ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูป โดยมิได้เจาะจงว่าจะถวายภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

การทอดกฐิน มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ แรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึง กลางเดือน 12 มีกำหนด 1 เดือน ภายหลังจากออกพรรษาแล้ว จะทอดก่อนหรือภายหลังที่กำหนดนี้ไม่ได้

ที่มาของประเพณีทอดกฐิน

ประเพณีทอดกฐินมีมาแต่ครั้งพุทธกาล ดังมีตำนานดังนี้

ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีประภาคประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ 30 รูป ชาวเมืองปาฐาซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีราว 6 โยชน์ ภิกษุทั้ง 30 รูปนั้น ล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์ และต่างมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอ แม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้องฝ่าแดดกรำฝน ลุยโคลนอย่างไรก็ไม่ย่อท้อ เมื่อภิกษุทั้ง 30 รูปได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจแล้ว ครั้งพระองค์ตรัสถาม จึงได้เรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมมิกถาภิกษุเล่านั้นก็ได้สำเร็จพระอรหัตผล ในลำดับนั้นพระบรมศาสดา ทรงดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านี้ จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ในเมื่อออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาต จึงได้เป็นผู้ถวายกฐินเป็นคนแรก

ประเภทของกฐิน

กฐินมีหลายประเภท ซึ่งล้วนแต่มีข้อกำหนด กระบวนการ และขั้นตอนของพิธีกรรมี่แตกต่างกัน ดังจะได้กล่าวถึงกฐินหลายประเภท(ในยุคปัจจุบัน) โดยสังเขปดังนี้

1. กฐินหลวง เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชดำเนินไปทรงทอดเอง หรือพระราชทานให้บุคคลอื่น หรือหน่วยงานต่างๆ ไปทอดถวาย แบ่งออกได้ดังนี้

1.1 กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี คือกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดด้วยพระองค์เอง ณ วัดหลวง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 16 วัด เป็นวัดในกรุงเทพฯ 12 วัด และ ในต่างจังหวัด 4 วัด คือ

1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
2. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
3. วัดสุทัศน์เทพวราราม
4. วัดบวรนิเวศวิหาร
5. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
6. วัดเทพศิรินทราวาส
7. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
8. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
9. วัดอรุณราชวราราม
10. วัดมกฎกษัตริยาราม
11. วัดราชาธิวาส
12. วัดโอรสราราม
13. วัดนิเวศธรรมประวัติ (จ. พระนครศรีอยุธยา)
14. วัดวรรณดาราราม (จ. พระนครศรีอยุธยา)
15. วัดพระศรีมหาธาตุ (จ. พิษณุโลก)
16. วัดพระปฐมเจดีย์ (จ. นครปฐม)

1.2 กฐินต้น คือกฐินส่วนพระองค์ เริ่มมีมาแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกิดจากการเสด็จประพาสเป็นการส่วนพระองค์ หรือเสด็จประพาสต้น

1.3 กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าพระกฐินของหลวงแก่กระทรวง ทบวง กรม องค์การ สมาคม ตลอดจนเอกชนที่รับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายวัดหลวงต่างๆ (ยกเว้นวัดหลวง 16 วัด ดังกล่าวแล้ว)

2. กฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ชาวบ้านนำไปทอดหรือถวายพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา มีชื่อเรียกแตกต่างก้นไปตามกระบวนการของการทอด ได้แก่

2.1 มหากฐิน คือกฐินที่กระทำเป็นประเพณีในปัจจุบัน ที่เรียกว่า มหากฐิน เพราะชาวบ้านมีเวลาตระเตรียมนานวัน จำนวนผู้ไปร่วมทอดกฐินมีมาก จึงเรียกว่า มหากฐิน
2.2 กฐินสามัคคี คือ กฐินทั่วไปที่มิเจ้าภาพร่วมกันหลายคน กฐินประเภทนี้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เป็นการแสดงความสามัคคีที่ได้ทำบุญร่วมกัน ทั้งได้รับความสนุกสนานบันเทิงใจด้วย
2.3 จุลกฐิน เป็นกฐินที่จัดเป็นพิธีการใหญ่ ถือกันมาแต่สมัยโบราณว่าได้อานิสงส์มาก เพราะทุกลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้น จนกระทั่งถึงการทอดถวายนั้น ต้องกระทำได้สำเร็จเสร็จสิ้น ภายในวันเดียว จึงต้องใช้คนมาร่วมแรงร่วมใจกันมาก ถือเป็นงานทีแสดงถึงพลังสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ปัจจุบันจึงไม่สู้จะมีงานกฐินนี้ให้เห็นแล้ว
2.4 กฐินตก หรือกฐินโจร เป็นกฐินที่นำไปทอดที่วัดใดวัดหนึ่งที่ตกค้างจากการทอดกฐินในปีนั้น การนำไปทอดจะกระทำโดยไม่บอกกล่าวทางวัดล่วงหน้า ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่าเป็นกฐินตกค้างหรือกฐินโจร เพราะไปทอดในลักษณะจู่โจม

ลำดับขั้นตอนงานจุลกฐิน

ณ วัดยางหลวง ต. ท่าผา อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่
ระยะเวลาเริ่มพิธี เวลา 12.00 น. วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ระยะเวลาเสร็จสิ้นพิธี เวลา 12.00 น. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2543

หญิงพรหมจรรย์ทำพิธีสักการะพระแม่ธรณี ที่ช่วยดูแลและให้ต้นฝ้ายเจริญเติบโต เป็นพิธีทำก่อนลงมือเก็บฝ้าย
หญิงพรหมจรรย์ทำพิธีสักการะพระแม่ธรณี ที่ช่วยดูแลและให้ต้นฝ้ายเจริญเติบโต เป็นพิธีทำก่อนลงมือเก็บฝ้าย

อิดฝ้าย เป็นการนำเมล็ดฝ้ายจากปุยฝ้ายก่อนนำไปดีด
อิดฝ้าย เป็นการนำเมล็ดฝ้ายจากปุยฝ้ายก่อนนำไปดีด

ชาวบ้านกำลังทอผ้าสำหรับนำไปเย็บต่อเป็น สบง จีวร
ชาวบ้านกำลังทอผ้าสำหรับนำไปเย็บต่อเป็น สบง จีวร

ต่อผ้าที่ทอแล้วให้เป็นผืน
ต่อผ้าที่ทอแล้วให้เป็นผืน

ขบวนแห่องค์กฐินพร้อมบริวารกฐินรอบอุโบสถ 3 รอบ ก่อนทำพิธีถวาย
ขบวนแห่องค์กฐินพร้อมบริวารกฐินรอบอุโบสถ 3 รอบ ก่อนทำพิธีถวาย

พิธีถวายผ้ากฐิน ผ้าห่มพระประธานและเครื่องบริวารกฐิน
พิธีถวายผ้ากฐิน ผ้าห่มพระประธานและเครื่องบริวารกฐิน
ถวายผ้าห่มพระประธานในอุโบสถ
ถวายผ้าห่มพระประธานในอุโบสถ
สารบัญ
  1. ประเพณีทอดกฐิน (ความหมายของ “กฐิน”, ประเภทของกฐิน, ลำดับขั้นตอนงานจุลกฐิน) [ Click ]
  2. ประเพณีทอดกฐินในประเทศไทย [ Click ]

บรรณานุกรม

ประเสริฐ ณ นคร ; ชวนพิศ อิฐรัตน์, บรรณาธิการ. 2546. โคลงนิราศหริภุญชัย กรุงทพฯ : พัฒนาศึกษา.

สมชัย ใจดี; ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. 2531. ประเพณีและวัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช

สุเนตร ชุตินธรานนท์, บรรณาธิการ. 2545. เรือ : วัฒนธรรมชาวน้ำลุ่มเจ้าพระยา = Boats and ships : The river-based culture of Siam. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้ง.

ภาพประกอบ

ประเสริฐ ณ นคร ; ชวนพิศ อิฐรัตน์, บรรณาธิการ. ๒๕๔๖. โคลงนิราศหริภุญชัย กรุงทพฯ : พัฒนาศึกษา.

สุเนตร ชุตินธรานนท์, บรรณาธิการ. 2545. เรือ : วัฒนธรรมชาวน้ำลุ่มเจ้าพระยา = Boats and ships : The river-based culture of Siam. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้ง.

ประเพณีทอดกฐิน“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.watwashington.org

รวบรวมข้อมูลโดย : งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด