กระทงไม่หลงทาง

นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ
หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา
ภาพชื่อเรื่อง กระทงไม่หลงทาง
ภาพชื่อเรื่อง กระทงไม่หลงทาง

15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบันเชื่อกันว่าการ “ลอยกระทง” หรือ “ลอยประทีป” เป็นการขอขมากับพระแม่คงคา ที่ได้ใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค

กระทงที่นิยมกันมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น กระทงใบตอง กระทงขนมปัง กระทงผัก แล้วกระทงแบบไหน ที่จะเหมาะสมกับการสืบทอดประเพณีอันดีงาม และรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

ในยุคปัจจุบันมีการลอยกระทงออนไลน์ ซึ่งเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับใครหลาย เพราะสามารถลอยได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอินเทอร์เน็ต ประหยัดค่าใช้จ่าย และรักษ์โลกไปควบคู่กัน แต่สำหรับคนที่ยังคงอนุรักษ์การลอยกระทงแบบดั้งเดิมนั้น จะเลือกกระทงแบบไหนที่เป็นมิตรกับธรรมชาติและแหล่งน้ำ ซึ่งแน่นอนกระทงที่ทำมาจากโฟมคงไม่ใช่คำตอบ แล้วกระทงแบบไหนที่เหมาะสม

ภาพตัวอย่างการลอยกระทงออนไลน์ จากหน้าจอเว็บไซต์ https://season.sanook.com/loykrathong
ภาพตัวอย่างการลอยกระทงออนไลน์ จากหน้าจอเว็บไซต์ https://season.sanook.com/loykrathong

คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากระทงใบตอง ยังได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย เพราะกระทงใบตองจะใช้เวลาในการย่อยสลาย 14 วัน ถ้าเก็บออกจากแหล่งน้ำไม่ทัน อาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ นอกจากนี้กระทงขนมปัง กระทรงผัก ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ควรเลือกแหล่งน้ำที่เหมาะสม หากเลือกแหล่งน้ำที่ไม่เหมาะสมจะเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน

แหล่งน้ำที่เหมาะสมกับกระทงขนมปัง ควรเลือกแหล่งน้ำที่มีปลาอาศัยอยู่ ประเภทสระน้ำ บ่อ บึง ระบบปิด เพื่อเป็นการควบคุมจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายจากขนมปังและง่ายต่อการจัดเก็บ  ส่วนกระทงผักเหมาะกับแหล่งน้ำทั่วไป ใช้เวลาย่อยสลาย 5 วัน – 1 เดือน แล้วแต่ประเภทของผัก

ทิศทางการเลือกรูปแบบกระทงนั้น แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละบุคคล โดยอาจเลือกใช้แนวทาง 1 กระทง ต่อ 1 ครอบครัว เพื่อการรักษ์โลก รักษาสิ่งแวดล้อม และสืบทอดประเพณีที่ดีงามไปพร้อมกันด้วยได้ หวังว่ากระทงของแต่ละคนคงไม่หลงทาง

ภาพ Infographic สนเทศน่ารู้ เรื่อง กระทงไม่หลงทาง (ขนาดเล็ก)
คลิกดาวน์โหลด ภาพ Infographic สนเทศน่ารู้ เรื่อง กระทงไม่หลงทาง

บรรณานุกรม

ชาลิสา เมธานุภาพ. (2561). วัดระดับความกรีนของ 5 กระทงรักษ์โลก. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก https://www.greenery.org/articles/loikrathong-water-pollution.

piyawan-on. (2555). กรมประมง ชวนคนไทยทำกระทงจากขนมปัง ได้ประโยชน์ 2 เด้ง. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/3485-กรมประมง ชวนคนไทยทำกระทงจากขนมปัง ได้ประโยชน์ 2 เด้ง.html.

PPTV Online. (2558). “หยวกกล้วย-โฟม-ขนมปัง-กรวยไอติม” ทำกระทงแบบไหนไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม?. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/19051.

ภาพชื่อผู้จัดทำ (นางสาววัลฤดี โมอ่อน) และหน่วยงานที่จัดทำ (หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา) โทร. 0-2310-88647
ภาพชื่อผู้จัดทำ และหน่วยงานที่จัดทำ

จัดทำข้อมูลและภาพโดย นางสาววัลฤดี  โมอ่อน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา (โทร. 0-2310-8647)