สำเนียงเสียงเหน่อ “เมืองสุพรรณ”
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม
หากใครได้ไปท่องเที่ยวที่เมืองสุพรรณบุรีแล้วได้พูดคุยสนทนากับคนสุพรรณ อาจสัมผัสได้ถึงสำเนียงเสียงเหน่อที่มีเสน่ห์เป็นธรรมชาติของคนเมืองสุพรรณ
ประเพณีวันสารทเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม
วันสารทเดือนสิบ วันสารทเดือนสิบ หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “วันชิงเปรต” นั้น ในเดือนสิบ (กันยายน) คือ การทำบุญกลางเดือนสิบ เพื่อนำเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคไปถวายพระ อุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษของตน ประเพณีนี้เป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนของชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี
สงกรานต์ในอาเซียน
ประชาคมอาเซียน
 Songkran Festival in ASEAN (เทศกาลสงกรานต์ในอาเซียน) เทศกาลหรือประเพณีไทย คือสิ่งดีงามซึ่งเราได้สืบทอดจากบรรพบุรุษต่อกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเชื่อ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย และในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฯลฯ ก็จะมีวัฒนธรรม ความเชื่อที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันกับประเทศไทย แต่จะมีรายละเอียดของพิธีกรรมแตกต่างกันไป เช่น เทศกาลสงกรานต์ ลอยกระทง เป็นต้น
แคน
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม
  ที่มาของคำว่า “แคน”  หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์แคน กาลครั้งหนึ่ง มีพรานคนหนึ่งเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก(นกการเวก) ร้องไพรเราะจับใจมากเมื่อเขากลับมาถึง หมู่บ้านนายพรานได้เล่าเรื่องที่ตนเองได้ยินเสียงนกที่ร้องมีเสียง อันไพรเราะให้ชาวบ้านฟัง หนึ่งในนั้นมีหญิงหม้ายคนหนึ่ง ได้ฟังเรื่องที่นายพรานเล่าให้ฟัง จึงใคร่อยากจะฟังเสียงนกกรวิกมาก
กำเนิดธงชาติไทย
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม
ตามหลักฐานต่างๆ ปรากฏว่าตั้งแต่สมัยโบราณไทยเรายังไม่มีธงชาติ โดยเฉพาะเมื่อเวลาจัดกองทัพไปทำสงคราม จะใช้ธงสีต่างๆ ประจำทัพเป็นเครื่องหมายทัพละสี ต่อมาเมื่อมีการเดินเรือค้าขายกับต่างประเทศทางตะวันตกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ใช้ธงสีแดงติดเป็นเครื่องหมายว่าเป็นเรือสินค้าของไทย
ประเพณีชักพระ
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม
ประวัติความเป็นมาของประเพณีชักพระ พุทธประวัติกล่าวว่า วันที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์สู่มนุษย์โลก หลังจากเสด็จขึ้นไปเทศนา โปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดุสิตตลอดพรรษา คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษาทรงเสด็จลงมาตามบันไดแก้ว, บันไดทอง, บันไดเงิน บันไดทั้ง 3 ทอดลงมายังประตูนครสังกัสสะ เมื่อเสด็จถึงประตูเมืองเป็นเวลาเช้าตรู่ของวันแรม 9 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันออกพรรษาพอดี
การละเว้นเนื้อหมูในศาสนาอิสลาม
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม
    ภาพอักษรภาษาอาหรับนี้แปลว่า : ด้วยนามแห่งพระเจ้าผู้ทรงเมตตาผู้ทรงปราณีเสมอ “พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้านั้นเพียงแต่สัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกรและสัตว์ที่ถูกกล่าวนามอื่นนอกจากอัลลอฮฺ(เมื่อถูกเชือด) แต่ผู้ใดได้รับความคับขันโดย และมิใช่เจตนาขัดขืน และมิใช่เป็นผู้ละเมิดขอบเขตแล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขา แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ” จากอัลกุรอาน บทที่ 2 อัล-บะเกาะเราะฮฺ : โองการ 173
เทศกาล และงานประเพณี จังหวัดสมุทรปราการ
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม
องค์พระสมุทรเจดีย์ เทศกาล และงานประเพณี จังหวัดสมุทรปราการ งานนมัสการพระเจดีย์กลางน้ำหรือพระสมุทรเจดีย์ ถือเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง…
การละเล่นพื้นเมืองไทย
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม
กีฬาพื้นเมืองของไทย ประวัติความเป็นมา กีฬาพื้นเมืองไทยเป็นกิจกรรมที่มีการเล่นสืบทอดต่อกันมาแต่สมัยโบราณตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1781 ถึง พ.ศ.1912 การเล่นกีฬาพื้นเมืองไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกฝนการต่อสู้ป้องกันตัวทั้งในลักษณะมือเปล่าและการใช้อาวุธโบราณ เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการสงคราม นอกจากนี้ ยังเล่นเพื่อเป็นการสนุกสนานรื่นเริงในงานประเพณีต่างๆ โอกาสที่เล่นมักเป็นการสมโภชงานพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะเป็นผู้ทรงโปรดให้มีการเล่นขึ้นนอกจากนั้นจะเล่นกันในงานเทศกาลรื่นเริงต่างๆ และเล่นในยามว่างจากงานสมัยกรุงสุโขทัย เรียกการเล่นกีฬาพื้นเมืองไทยว่า “การเล่น” ซึ่งเป็นคำเรียกรวมไปกับการเล่นร้องรำทำเพลงและขับระบำฟ้อนต่างๆ