หากใครได้ไปท่องเที่ยวที่เมืองสุพรรณบุรีแล้วได้พูดคุยสนทนากับคนสุพรรณ อาจสัมผัสได้ถึงสำเนียงเสียงเหน่อที่มีเสน่ห์เป็นธรรมชาติของคนเมืองสุพรรณผู้คนที่ได้ฟังสำเนียงเสียงเหน่อของคนเมืองสุพรรณแล้วนั้น บางคนอาจจะหลงเสน่ห์ของเสียงเหน่อที่ไพเราะและดูจริงใจ แต่จะมีบางคนที่เห็นเสียงเหน่อของคนสุพรรณเป็นเรื่องตลก น่าหัวเราะ และดูถูก มองว่าภาษาสุพรรณเป็นภาษาบ้านนอก เชย ๆ แต่ที่จริงแล้วสำเนียงเหน่อไม่ได้มีเพียงแต่คนเมืองสุพรรณเท่านั้น ยังมีอีกหลายจังหวัดบ้านใกล้เรือนเคียงกันมากมาย เช่น จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี อ่างทอง นครปฐม ฯลฯ ก็มีสำเนียงเสียงเหน่อคล้าย ๆ กัน เวลาที่ได้พูดคุยได้สนทนากับบุคคลเหล่านั้นก็จะรู้สึกถึงสำเนียงนั้นได้โดยง่าย

ภาพ ยินดีต้อนรับสู่จังหวัดสุพรรณบุรี ดัดแปลงมาจาก
– รูป ทุ่งทานตะวัน
– รูป หอคอยบรรหาร
– รูป อนุสรณ์ดอนเจดีย์
– รูป มังกรสวรรค์
– รูป วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
ในอดีตตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สำเนียงเหน่อเมืองสุพรรณบุรีนั้นเป็นสำเนียงหลวงที่คนในสมัยนั้นใช้เป็นภาษาทางการ ซึ่งหลักฐานที่สามารถใช้ยืนยันสำเนียงเหน่อได้ดีคือ “การพากย์โขน” เพราะโขนนั้นเริ่มต้นตั้งแต่สมัยยุคกรุงศรีอยุธยาจึงต้องใช้สำเนียงเสียงเหน่อแบบเมืองสุพรรณที่จะพากย์เสียงได้อย่างถูกต้องและลงตัวที่สุด สำเนียงอื่น ๆ เมื่อนำมาภาคโขนแล้วนั้นอาจจะมีความไพเราะไม่เท่ากับเสียงเหน่อของเมืองสุพรรณ และอีกหนึ่งหลักฐานสำคัญก็คือ ตามประวัติศาสตร์นั้นกษัตริย์เชื้อสายเมืองสุพรรณก็คือ “พระนครินทราธิราช หรือ เจ้านครอินทร์” ซึ่งท่านสามารถยึดครองเมืองกรุงศรีอยุธยาได้ จึงได้ย้ายไปตั้งเมืองที่กรุงศรีอยุธยาและได้ลดบทบาทเมืองสุพรรณบุรีให้น้อยลงตามด้วย แต่สำเนียงเหน่อไม่สามารถลดบทบาทให้น้อยลงไปได้ เพราะเป็นสำเนียงที่หลงตามตัวมา จึงทำให้คนไทยในสมัยนั้นใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อได้เปลี่ยนแปลงและย้ายเมืองหลวงมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ชาวจีนได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้ภาษาเหน่อในอดีตนั้นได้เปลี่ยนแปลงออกไปเป็นเพียงแค่ภาษาท้องถิ่น ส่วนสำเนียงของคนบางกอกในปัจจุบันเกิดจากสำเนียงภาษาเหน่อของเมืองสุพรรณผสมกับภาษาจีน โดยผสมกันจนผิดเพี้ยนจนเกิดภาษาของคนบางกอกหรือภาษาของคนกรุงเทพในปัจจุบันได้
บุคคลมีชื่อเสียงที่ยังคงใช้สำเนียงเสียงเหน่อแบบสุพรรณอย่างเห็นได้ชัดก็คือ นางเกลียว เสร็จกิจ หรือ “แม่ขวัญจิต ศรีประจันทร์” ศิลปินแห่งชาติสาขาการแสดง (เพลงพื้นบ้านเพลงอีแซว) ปี พ.ศ.2539

ที่มา : http://loveradio8790.blogspot.com/p/blog-page_18.html
ด้วยเหตุนี้ สำเนียงเหน่อเมืองสุพรรณจึงเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ที่คนไทยรุ่นหลังควรภาคภูมิใจ เพราะเป็นสำเนียงรากเหง้าของประเทศไทย
บรรณานุกรม
นายมนัส โอภากุล. (2535). สุพรรณบุรี:400ปี ยุทธหัตถี. กรุงเทพมหานคร : ฟิวเจอร์เพรส.
นายมนัส โอภากุล. (2547). ประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท มติชน จำกัด มหาชน.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี. (2558). ภาษาถิ่นชวนฟัง. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2558, จาก http://province.m-culture.go.th/suphanburi/soundsuphan.html
ภาพประกอบ
จังหวัดสุพรรณบุรี. (2558). รูปประจำจังหวัดสุพรรณบุรี. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2558, จาก http://www.suphanburi.go.th/
วชิร มีทองคำ. (2558, มกราคม 9). ภาพยินดีต้อนรับสู่จังหวัดสุพรรณบุรี. ดัดแปลงจาก
– ทีนิวส์. (2558). ทุ่งทานตะวัน. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2558, จาก http://www.tnews.co.th/html/LifeStyle/travel/1112/
– อีซีมอลล์. (2558). หอคอยบรรหาร. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2558, จาก http://www.ec-mall.com/gallery/architecture/building/17432.html
– โอลเดนสุพรรณบุรี. (2558). อนุสรณ์ดอนเจดีย์. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2558, จาก http://olden-suphanburi.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
– บุ๊คกิ้งโฮเทล. (2558). มังกรสวรรค์. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2558, จาก http://www.bookinghotels-online.com/
– บล็อคแกงค์. (2558). วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2558, จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=piroonrum&month=10-2012&date=18&group=4&gblog=79
เลิฟเรดิโอสุพรรณบุรี. (2558). รูปภาพแม่ขวัญจิต ศรีประจันทร์. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2558, จาก http://loveradio8790.blogspot.com/p/blog-page_18.html
เรียบเรียงโดย วชิร มีทองคำ นักศึกษาฝึกงาน ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ภาคการศึกษาที่ 2/2557