ที่มาของคำว่า “แคน” หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์แคน
กาลครั้งหนึ่ง มีพรานคนหนึ่งเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก(นกการเวก) ร้องไพรเราะจับใจมากเมื่อเขากลับมาถึง หมู่บ้านนายพรานได้เล่าเรื่องที่ตนเองได้ยินเสียงนกที่ร้องมีเสียง อันไพรเราะให้ชาวบ้านฟัง หนึ่งในนั้นมีหญิงหม้ายคนหนึ่ง ได้ฟังเรื่องที่นายพรานเล่าให้ฟัง จึงใคร่อยากจะฟังเสียงนกกรวิกมาก จึงได้ขอติดตามนายพรานไปในป่าเพื่อจะฟังเสียงนก และแล้วหญิงหม้ายก็ได้ฟังเสียงนกนั้น ตามที่เธอปราถนา ทำให้เธอติดอกติดใจในความไพรเราะของเสียงนกยิ่งนัก เมื่อครั้นกลับมาถึงบ้านเธอก็ยังรำพึงอยู่ในใจและอยาก ฟังเสียงนกนั้นอีกได้ และหลังจากนั้นเธอก็คิดว่าทำอย่างไรถึงจะได้ยินเสียง นกกรวิกทุกวันเธอจึงตัดสินใจทดลองประดิษฐ์ เครื่องบังเกิดเสียงดังเสียงนกกรวิกให้จงจากนั้นเธอพยายามประดิษบ์เครื่องดนตรีทั้ง เครื่อง ดีด เครื่องสี เครื่อง ตีหลาย ๆ อย่าง ก็ไม่ไมีเครื่องดนตรีชนิดใดเหมือนเสียงนกนั้น ในที่สุดเธอจึงได้ค้นพบ เครื่องที่มีเสียงคล้ายเสียงนกกรวิกมากนั้นคือเธอได้ไปตัด ไม้ไผ่น้อยเอามาดัด แปลงเป็นเครื่องเป่า ที่เมื่อเป่าออกมา จะมีเสียงคล้ายเสียงนก จากนั้นเธอจึงได้นำเครื่องดนตรีชนิดนี้ไปถวาย และได้เป่าถวายแก่พระเจ้า ปเสน ทิโกศล เมื่อพระเจ้าปเสน ทิโกศลได้ฟัง จึงติดอกติดใจ หญิงหม้ายจึงทรงถามว่า เครื่องดนตรีชนิดนี้จะเรียกชื่อว่าอย่างไรพระเจ้าข้า พระเจ้า ปเสน ทิโกศล จึงตรัสว่า “เจ้าจงเรียกเครื่องดนตรีนี้ว่า แคน ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ต่อไปภายหน้าเถิด” จึงเป็นที่มาของคำว่าแคนนั้นเอง
แคนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่ชาวพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) ของประเทศไทยที่มีการสืบทอดวัฒนธรรมมาอย่างช้านานมีภาษาอาหารและวัฒธรรม ที่มีเอกลักษณ์ที่รู้จักกันอย่าง แพร่หลายไปทั่วโลกมีหลักฐานยืนยันว่าในสมัยก่อนเมื่อหลายพันปีมาแล้วแคนเป็นที่นิยมแพร่หลายในเอเชียเช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ตะวันออกกลางและ อินโดนีเซียเป็นต้น เชื่อว่าแคนน่าจะมีแหล่งกำเนิดมาจากที่เดียวกันเพราะดูจากการเรียกชื่อ เช่น พวกแม้ว เรียกว่า ได้ง หรือ เด้งจีนเรียกว่าซะอังเกาหลีเรียกว่า แซง และ ญี่ปุ่นเรียกว่าโช โดยทำมาจากไม้ไผ่ที่เรียกว่าไม้เฮี้ย หรือ ไม้กู่แคน และตัดเอาลิ้นที่ทำด้วยทองเหลือง (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลิ้นทอง) หรือทองแดงผสมเงิน (เรียกกันทั่วไปว่าลิ้นเงิน) มาสอดใส่ลงในช่องของกู่แคน แล้วนำกู่แคนเหล่านี้ไปสอดใส่ลงในกรอบของเต้าแคนซึ่ง ทำมาจากไม้ประดู่หรือไม้นำ เกลี้ยง(ไม้รัก) แล้วใช้ขี้สูด(ขี้แมงน้อย หรือ ขี้ผึ้งดำ หรือ ชันโรง) เป็นชั้นสำหรับผนึก ให้กู่แคนติดแน่นกับเต้าแคน และยังช่วยบังคับให้ลมเป่าไม่รั่วไหลไปที่อื่น นอกจากวิ่งผ่านรูลิ้นเพื่อทำให้ลิ้นแคนสั่น สะเทือนและ เกิดเสียงแต่เสียงที่เกิดนี้เราไม่สามารถรับฟังได้จนกว่าผู้เป่าจะเอานิ้วไปกดรูนับ เพื่อให้กระแสคลื่นที่สั่นสะเทือนขยายกำลังภายในกู่แคนอีกทีหนึ่ง เราจึงจะได้ยินเสียงแคน หากต้องการเสียงของกู่ใดหรือลุกใด ก็ต้องเป่าลมพร้อม กับใช้นิ้วกดรูนับ ของลูกนั้น ๆ หากเป่าเฉย ๆ โดยไม่กดรูนับเสียง เสียงที่เกิดขึ้นจะเป็นเสียงที่เบาจนเราไม่ได้ยิน
ส่วนประกอบของแคน
การเรียกชื่อลักษณะของเครื่องดนตรีแต่ละอย่างนั้นแตกต่างกันออกไป เช่น
ซออู้ -ซอด้วง เรียก “คัน”
ขลุย เรียก “เลา”
กลอง เรียก ” ลูก”
จะเข้ เรียก “ตัว”
ระนาด เรียก “ราง”
ส่วนแคน เรียกว่า “เต้า” ซึ่งเป็นลักษณะนานที่แปลกออกไปตามลักาณะทางด้างท้องถิ่นทางภาคอีสาน การใช้คำนี้ อาจมาจาก รูปร่างลักษณะที่สำคัญของส่วนประกอบซึ่งได้แก่ ส่วนที่อยู่ตรงกลางของเครื่อง คือส่วนที่เป็นที่รวมของแคน อันทำให้เกิดเสียงต่าง ๆ ซึ่งรูปร่างลักษณะโดยประมาณ คล้ายเต้านมของสตรี ซึ่งการเป่าเพื่อบรรเลงเพลง ผู้เป่าจะต้องใช้วิธีเป่าและดูดเพื่อทำให้เกิดเสียงพร้อม กับใช้นิ้วมือทั้งสิบนิ้วเคลื่อนไหวนับ (ปิด) รูที่ลูกแคนซึ่งมี “เต้าแคน” เป็นสิ่งรองรับจึงมีการนำเอาคำว่า”เต้า” มาเรียกบอกลักษณะ จำนวนของแคนนั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดและโรแมนติกมาก แม้จะใช้เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณก็ตาม
ส่วนประกอบของ “แคน”
1.ไม้กู่แคน ไม้ที่ใช้สำหรับทำลูกแคน (ช่องที่เขาบากทำเป็นห้องไว้ใส่ลิ้นแคน)แต่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “ไม้เฮี่ย “หรือ ทางภาคกลางเรียก “ไม้ซาง”
2.ไม้เต้าแคน คือ ไม้ที่มีลักษณะสัณฐานกลม เอาไว้เสียบไม้ลูกแคน นิยมใช้ ไม้ประดู่ไหม ไม้พะยุง ไม้แคน (ไม้ตะเคียน) ไม้หนามแท่ง หรือภาคเหนือ เรียกว่า ไม้หนามแต้ง แต่ส่วนมากนิยมไม้ประดู่เพราะเนื้อไม้อ่อนเจาะง่าย
3. หลาบโลหะ คือ แผ่นดลหะบางๆที่สกัดออกมาทำเป็นลิ้นแคน ส่วนมากใช้โลหะผสมระหว่างทองแดง ผสมกับเงิน มีขนาด ยาวประมาณ 3 ซ.ม กว้างประมาณ 4 ซ.ม และ หนาเพียง 1 ม.ม
4. ขี้สูด หรือ ชันโรง ใช้แทนขี้ผึ้งสำหรับติดที่เต้าแคนกับลูกแคนให้ติดกัน เป็นภาษาอีสานที่ เรียกชื่อยาง และที่เกิดจากแมงขี้สูด(ภาษาอีสาน)แต่จะใช้ แทนกันไม่ได้เพราะคุณภาพไม่เหมือนกัน คือ ถ้าเป็นขี้ผึ้งแท้เวลาโดนความร้อนจะอ่อนตัวและเหนียว ส่วนขี้สูด จะเหนียวตลอดเวลาดังนั้นจึงใช้ทำเต้าแคน จะใช้อย่างอื่นแทนไม่ได้
มารู้จักกับประเภทของแคน แบ่งได้ 3 ประเภท
1. ประเภทแคนเดี่ยว ใช้เป่าบรรเลงแต่เพียงเต้าเดียวใช้เป่าประสานเสียงประกอบการขับลำ ภาคอีสานเรียก “หมอแคน” ในการเป่าเพียงคนเดียวนั้น อาจใช้แคนชนิดและขนาดใดก็ได้แล้วแต่ความสามารถเฉพาะตัวของหมอแคน เช่น อาจใช้แคนเจ็ด แคนแปด หรือแคนเก้า ก็ได้
2. แคนวง คือ แคนที่นำมาเป่าพร้อม ๆ กันหลาย ๆ เต้าโดยเป่าเป็นคณะร่วมกัน และจะมีเครื่องให้จังหวะ เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ ฯลฯ เข้าร่วมบรรเลงด้วยส่วนขนาดของวงที่ใช้แคนนั้นมีหลายขนาดคือ แคนวงขนาดเล็กใช้แคนเพียง 6 ตัวแคนวงขนาดกลาง ใช้แคนตั้งแต่ 8 ถึง 10 ตัวแคนวงขนาดใหญ่ใช้แคนถึง 12 ตัวและแคนที่ใช้เป่าบรรเลงประกอบเข้าเป็นวง ส่วนมากจะใช้แคนแปดทั้งหมด แต่มีขนาดต่างกัน
3. แคนวงประยุกต์ เกิดขึ้นจากการพัฒนาวงแคนในปัจจุบัน โดยการนำเอาเครื่องดนตรีสากลชนิดต่าง ๆ มาร่วมบรรรเลงกับแคน เช่น กลองชุด เบสส์ กีต้า หรือจะเป็น เครื่องดนตรีไทย เช่น ซอ ขิม จะเข้ เป็นต้น และยังนำ “หางเครื่อง” มาเต้นประกอบในวงแคนประยุกต์อีกด้วย ต่อไปก็ มาทำความรู้จักกับชนิดและขนาดของแคนกันบาง คำว่าชนิดของแคนที่แตกต่างกันนั้น หมายถึง จำนวนลูกแคนที่มีจำนวนมากน้อยแตกต่างกัน แบ่งได้ 4 ชนิดดังนี้
1. แคนหก คือ แคนที่มีจำนวนลูกแคน 3 คู่ หกลำ อยู่ด้านซ้าย 3 ขวา 3 เป็นที่นิยมสำหรับให้เด็กเป่า เพราะว่ามีเสียงสูงต่ำ
ไม่ครบตามต้องการจะมีเสียงอยู่หกเสียง ดังนี้
คู่ที่ 1 ซ้ายเรียกว่า “โป้ซ้าย” ,ขวา เรียกว่า “โป้ขวา” หรือ “แม่แซ”
คู่ที่ 2 ซ้ายเรียกว่า “แม่แก่” ,ขวา เรียกว่า “สะแน”
คู่ที่ 3 ซ้ายเรียกว่า “แม่ก้อยซ้าย”, ขวา เรียกว่า “ฮับทุ่ง” หรือ “รับทุ่ง” 2
2. แคนเจ็ด คือ ประกอบด้วยลูกแคน หรือไม้กู่ จำนวน 7 คู่ หรือ 12 ลำ มีเสียงอยู่ 14 เสียง
มีชื่อเรียกเฉพาะลูกแคนหรือรูนับแต่ละรูเสียงของลูกแคนดังนี้
คู่ที่ 1 ซ้ายเรียกว่า”โป้ซ้าย”,ขวา เรียกว่า”ทุ้ง”
คู่ที่ 2 ซ้ายเรียกว่า”แม่เวียง”,ขวา เรียกว่า”แม่แซ”
คู่ที่ 3 ซ้ายเรียกว่า”แม่แก่” ,ขวา เรียก ว่า”สะแน”
คู่ที่ 4 ซ้ายเรียกว่า”แม่ก้อยขวา”,ขวา เรียกว่า “ฮับทุ้ง”
คู่ที่ 5 ซ้ายเรียกว่า “แม่ก้อยซ้าย”,ขวา เรียกว่า”ลูกเวียง”
คู่ที่ 6ซ้ายเรียกว่า”สะแน” ,ขวา เรียกว่า”แก่น้อย”
คู่ที่ 7 ซ้ายเรียกว่า”ก้อยซ้าย”,ขวา เรียกว่า”ก้อยขวา”
3. แคนแปด ใช้เป็นแคนเดี่ยวสำหรับเป่าประสานเสียงคลอไปกับการขับร้องที่เรียกว่า “ลำ” ประกอบด้วยไม้ดู่แคนหรือลูกแคน 8 คู่หรือ 16 ลำ มีเสียง 16 เสียง มีชื่อเรียกตามภาษาพื้นเมือง เหมือนกันกับแคน7 แต่จะมีคู่ที่8 ที่เพิ่มขึ้นมา คู่ที่8 ซ้ายเรียกว่า “เสพซ้าย” , ขวา เรียกว่า “เสพขวา”
4. แคนเก้า เป็นแคนที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุด และมีน้ำหนักมากที่สุดใช้ในการเป่าเพื่อประกอบการ “ลำ” เช่นเดียวกับแคนแปด ประกอบด้วยไม้กู่แคนหรือลูกแคน 9 คู่ หรือ 18 ลำ มีเสียง 18 เสียง เสียงแคนเก้าจะมีเสียงทุ้มต่ำมีชื่อเรียกรูนับเช่นเดียวกับ แคนเจ็ด แคนแปด แต่จะเพิ่มคู่ที่ 9 ขึ้นมาอีก 1 คู่ และเรียกเสพซ้าย เสพขวา เพิ่มอีก
บรรณานุกรม
บุญเลิศ จันทร.(2531). ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.(2542).สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : สยามเพรส แมเนจเม้นท์.
ภาพประกอบ
ภาพแคน. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2556, จาก http://www.landco-sportland.com/data/products/55SAMCNCN002.jpg
ภาพหมอแคน. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2556, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/แคน
ภาพส่วนประกอบของแคน. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2556, ที่มา : http://www.isangate.com/images2/kan.jpg
เรียบเรียงโดย มณีรัตน์ วัฒตะนะมงคล นักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะมนุษยศาสตร์ เอกสารสนเทศศึกษา ภาคการศึกษา 1/2556