สะพานในกรุงเทพมหานคร

สะพานในกรุงเทพมหานคร BRIDGES IN BANGKOK

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งมีแม่น้ำลำคลอง อยู่มากโดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านหลายจังหวัด ใช้ในการอุปโภคบริโภค เดินทางสัญจรคมนาคมขนส่ง แลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าทางน้ำโดยอาศัยเรือเป็นพาหนะ ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อประเทศมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ในปัจจุบันการสัญจรคมนาคมทางน้ำถูกลดบทบาทลงไปมาก ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันทำให้การสัญจรคมนาคมทางบก โดยอาศัยรถยนต์และรถไฟ เป็นพาหนะที่มีความสะดวกสบายและรวดเร็วมากกว่า สะพานจึงเริ่มมีบทบาทขึ้นโดยถูกสร้างขึ้นมาหลายสมัยหลายรัชกาล ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป แต่ที่สำคัญก็เพื่อใช้ในการคมนาคมขนส่งทางบก ให้สามารถข้ามผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาจากอีกฝั่งหนึ่ง สู่อีกฝั่งหนึ่ง เป็นเส้นทางสำคัญของรถยนต์และรถไฟ ช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัด และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ชมวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำเจ้าพระยาในมุมมองที่แปลกตาออกไปของเมืองหลวงแห่งนี้

สะพานในกรุงเทพมหานครที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่
(เรียงลำดับจากต้นน้ำไปยังท้ายน้ำ)

1. สะพานพระราม 7

ภาพสะพานพระราม 7ที่มา: http://eng2526.nisitchula.com/
ภาพสะพานพระราม 7
ที่มา: http://eng2526.nisitchula.com/

สะพานพระราม 7 ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนนทบุรี เพราะมีพื้นที่สะพานอยู่ในเขตบางพลัดของกรุงเทพมหานคร และอำเภอบางกรวยของจังหวัดนนทบุรี สะพานพระราม 7 เปิดใช้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแทนสะพานพระราม 6 มีรูปแบบการสร้างเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง  ในปัจจุบันเปิดเส้นทางเดินรถจราจร 6 ช่องทาง เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด มีความกว้างของตัวสะพาน 29.10 เมตร และมีความยาว 934 เมตร สร้างเสร็จและเปิดให้ใช้การจราจรเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานพระราม 7

วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2533
วันเปิดการจราจร : วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด, บริษัท โอบายาชิ คอร์โปเรชั่น จำกัด และบริษัท นันทวัน จำกัด
ราคาค่าก่อสร้าง : 1,008,000,000 บาท
แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
โครงสร้างส่วนบน : คานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง
สูงจากระดับน้ำ : 8.90 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (85.00+120.00+85.00)
ความกว้างของสะพาน : 29.10 เมตร (2×14.55)
ความยาวของสะพาน : 290 เมตร
เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 335.87 เมตร
เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 184.80 เมตร
รวมความยาวทั้งหมด : 933.19 เมตร
จำนวนช่องทางวิ่ง : 6 ช่องทางจราจร (ด้านละ 3 ช่องจราจร)
ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 19.50 เมตร (6 x 3.25)
ความกว้างของสะพาน : 29.10 เมตร
ความกว้างของทางเท้าแต่ละด้าน : 2.50 เมตร (มีเฉพาะด้านซ้าย)
ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44
จำนวนช่องทางวิ่ง : 3 ช่องทางจราจร (ของแต่ละสะพาน)
ความกว้างช่องละ : 3.25 เมตร
ทางเท้ากว้าง : 2.50 เมตร

สะพานพระราม 7 ตอนกลางคืนhttp://www.thaitransport-photo.net
ภาพสะพานพระราม 7 ตอนกลางคืน
http://www.thaitransport-photo.net

2. สะพานพระราม 6

สะพานพระราม 6 ทางรถไฟสะพานพระราม 6http://www.thaitransport-photo.net
ภาพสะพานพระราม 6 ทางรถไฟสะพานพระราม 6
http://www.thaitransport-photo.net

สะพานพระราม 6 ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครในเขตบางพลัด และจังหวัดนนทบุรีในอำเภอบางกรวย เหมือนสะพานพระราม 7

สะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรก ของประเทศไทย ลงนามในสัญญาก่อสร้าง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2465 เริ่มการก่อสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465 วางหีบพระฤกษ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2466 โดย กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ติดต่อกัน

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวสะพานได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก และมีการซ่อมแซมให้กลับมาใช้เดินรถยนต์ได้อย่างเดิม อยู่หลายครั้งประกอบกับอายุการใช้นานที่เก่าแก่ลง จนเมื่อมีการสร้างสะพานพระราม 7 เสร็จสิ้น จึงทำการยุติเส้นทางรถยนต์ลง ในปัจจุบันสะพานพระราม 6 ถูกใช้เป็นเส้นทางรถไฟอย่างเดียว ส่วนเส้นทางเดินรถยนตร์จะใช้สะพานพระราม 7 แทน

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานพระราม 6

วันที่ทำการก่อสร้าง : เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท Les Etablissements Dayde’ แห่งประเทศฝรั่งเศส
รูปแบบการสร้าง : สะพานสร้างตามแบบ Cantilever ประกอบด้วยสะพานเหล็ก 5 ช่วง ส่วนหนึ่งเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กให้รถยนต์ทุกชนิดผ่าน อีกส่วนหนึ่งเป็นทางรถไฟ พร้อมทางเดินเท้า 2 ด้าน
สูงจากระดับน้ำ : 10 เมตร
ความยาวของสะพาน : 442.08 เมตร
ความกว้างของสะพาน : 10 เมตร

สะพานพระราม 6 ทางรถไฟสะพานพระราม 6 http://www.thaitransport-photo.net
ภาพสะพานพระราม 6 ทางรถไฟสะพานพระราม 6
http://www.thaitransport-photo.net
บนสะพานราม 6 ตอนเย็น http://www.nairobroo.com
ภาพบนสะพานราม 6 ตอนเย็น
http://www.nairobroo.com

3. สะพานกรุงธน

สะพานกรุงธนhttp://www.bloggang.com
ภาพสะพานกรุงธน
http://www.bloggang.com

สะพานกรุงธน หรือบางคนรู้จักในชื่อ สะพานซังฮี้ ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนราชวิถี และเขตดุสิตกับเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร สะพานกรุงธน เริ่มก่อสร้างเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 โดยบริษัทฟูจิ คาร์แมนูแฟ็กเจอริง จำกัด ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีบริษัท สหวิศวการโยธา จำกัด เป็นผู้แทนในประเทศไทย และได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 สะพานกรุงธนประกอบด้วยโครงสะพานเหล็กยาว 6 ช่วง เชิงสะพานทั้งสองฝั่งเป็นคอนกรีต มีทางเท้าทั้งขนาบสองข้าง ช่วงลอดกลางสะพานสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 7.50 เมตร เป็นสะพานที่เปิดไม่ได้ สร้างเสร็จและเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2500 งบประมาณค่าก่อสร้างรวมเป็นเงินทั้งหมด 24,837,500 บาท

สะพานกรุงธนถูกสร้างเพื่อแบ่งเบาการจราจรของสะพานพระพุทธยอดฟ้าที่มีภาวะการจราจรที่หนาแน่นมาก แม้แต่ในปัจจุบันสะพานกรุงธนก็มีการจราจรติดขัดมากเช่นเดียวกัน

สะพานกรุงธนจะเริ่มต้นที่ถนนราชวิถีหรือถนนซังฮี้ และขณะที่เริ่มก่อสร้างประชาชนเรียกสะพานนี้ว่า “สะพานซังฮี้” เรื่อยมาจนปัจจุบัน

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานกรุงธน

วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 แล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2500
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : FUJI CAR MANUFACTURING CO.,LTD.
ราคาค่าก่อสร้าง : 24,837,500.00 บาท
แบบของสะพาน : ชนิดปิดตายช่วงต่อเนื่องกัน
ความยาวของสะพาน : 366.20 เมตร
สูงจากน้ำทะเลปานกลาง : 7.50 เมตร
เชิงลาดสะพานฝั่งพระนคร : 185.50 เมตร
เชิงลาดสะพานฝั่งธนบุรี : 97.20 เมตร
รวมความยาวทั้งหมด : 648.90 เมตร
ช่องจราจร : 4 ช่อง
ทางเท้ากว้างข้างละ : 2.50 เมตร
น้ำหนักโครงเหล็ก : รวมทั้งพื้นจราจร สำหรับช่วง 64.00 เมตร หนัก 440 ตัน สำหรับช่วง 58.00 เมตร หนัก 400 ตัน รับน้ำหนักได้ TRACTOR TRUCK WITH SEMI-TRAILER 29.25 TONS ต่อช่วงสะพานหรือ 16 TONS TRUCK TRAINS วิ่งสวนกัน 4 คัน และ วิ่งตามกันห่าง 4 เมตร น้ำหนักแผ่อีก 400 kg/m2

ป้ายสะพานกรุงธน http://cocon.exteen.com/20071202/entry
ภาพป้ายสะพานกรุงธน
http://cocon.exteen.com
เส้นทางจราจรบนสะพานhttp://cocon.exteen.com
ภาพเส้นทางจราจรบนสะพาน
http://cocon.exteen.com

4. สะพานพระราม 8

สะพานพระราม 8http://www.nairobroo.com
ภาพสะพานพระราม 8
http://www.nairobroo.com

สะพานพระราม 8 ขนานกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานแห่งนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 เชื่อมระหว่างถนนบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน เขตบางพลัดกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร

สะพานพระราม 8 สร้างขึ้นเพื่อลดปัญหาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตามโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ ชึ่งเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พระองค์มีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ขึ้น

สะพานพระราม 8 เริ่มเปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เวลา 7:00 น. ช่วยลดระเวลาเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง 30% และบนสะพานกรุงธน อีก 20% และยังสามารถลดมลพิษทางอากาศบริเวณในเมือง (สถิติตั้งแต่เริ่มเปิดใช้)

สิ่งพิเศษสุดของสะพานพระราม 8 ที่สะพานอื่นในกรุงเทพฯ ยังไม่มีก็คือ ที่ปลายยอดเสาสูงของตัวสะพานจะมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมีโครงสร้างโลหะกรุกระจกลักษณะคล้ายดอกบัว สูงจากพื้นดินถึง 165 เมตร หรือสูงเท่าตึก 60 ชั้น พื้นที่ 35 ตารางเมตร จุคนได้ครั้งละเกือบ 50 คนซึ่งจะเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไปด้วยแต่การก่อสร้างส่วนนี้จะแล้วเสร็จภายหลังพร้อม ๆ กับลิฟต์ของคนพิการซึ่งอยู่หัวมุม 2 ฝั่งแม่น้ำ ประมาณเดือนกันยายน เนื่องจากโครงสร้างเสาสูงเป็น แบบตัว Y คว่ำการขึ้นลงจุดชมทิวทัศน์จึงต้องติดตั้งลิฟต์ทั้งในแนวเฉียงและแนวดิ่ง โดยเป็นแนวเฉียงจากพื้นดิน 80 เมตรก่อน จากนั้นจึงเป็นแนวดิ่งอีก 155 เมตร แต่บรรทุกได้เที่ยวละประมาณ 5 คน ใช้เวลาขึ้น-ลง 2-3 นาที นอกจากนี้ยังมีลิฟต์ธรรมดาอยู่คนละด้านเพื่อใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ในการดูแลและตรวจตราสะพาน

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานพระราม 8

วันที่ทำการก่อสร้าง : ปี พ.ศ. 2538
วันที่เปิดการจราจร : 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
แบบของสะพาน : สะพานขึงแบบอสมมาตร
ความยาวของสะพาน : 475 เมตร
ส่วนประกอบต่างๆ : เน้นความโปร่งบาง เรียบง่าย และสวยงาม วัสดุที่ใช้ในโครงสร้างของสะพานเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ส่วนของสะพานเสารูปตัว Y คว่ำ เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำหน้าที่หิ้วส่วนโครงสร้างสำคัญส่วนอื่นๆ ของสะพาน ออกแบบโดยใช้เค้าโครงมโนภาพของเรือนแก้ว ราวกันตก ซึ่งทำจากโลหะออกแบบเป็นลวดลายที่วิจิตรและอ่อนช้อย จำลองมาจากดอกบัวและกลีบบัวเสาโครงสร้าง ใต้แผ่นพื้นตกแต่งด้วยลวดลายซึ่งจำลองมาจากดอกบัว ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนแสงลงสู่ผิวจราจรใต้ทางยกระดับ ช่วยเพิ่มความสว่างบริเวณใต้ทางยกระดับและประหยัดไฟในเวลากลางคืน

การจราจรบนสะพาน http://www.nairobroo.com
ภาพการจราจรบนสะพาน
http://www.nairobroo.com

5. สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าhttp://gotoknow.org
ภาพสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
http://gotoknow.org

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีสะพานพระราม 8 ขนานอยู่ ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมต่อระหว่างถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กับเขตบางพลัดเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สร้างขึ้นเพื่อลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งติดขัด โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า “สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข้อมูลเกี่ยวกับ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

วันที่ทำการก่อสร้าง : พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)
วันเปิดการจราจร : วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973)
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : OBAYACHI-GUMI CO.,LTD. , SUMITOMO CONSTRUCTION CO.,LTD.
ราคาค่าก่อสร้าง : 117,631,024.98 บาท
แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
โครงสร้างส่วนบน : คอนกรีตอัดแรง
สูงจากระดับน้ำ : 11.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (83.00+110.00+83.00)
ความยาวของสะพาน : 280.00 เมตร
เชิงลาดสะพานฝั่งพระนคร : 176 เมตร
เชิงลาดสะพานฝั่งธนบุรี : 206 เมตร
รวมความยาวทั้งหมด : 662 เมตร
ความกว้างสะพาน : 26.60 เมตร
จำนวนช่องทางวิ่ง : 6 ช่องทางจราจร
ความกว้างทางเท้าแต่ละด้าน : 2.50 เมตร
ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 21.00 เมตร
ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44
ความกว้างผิวจราจรบนสะพาน : 21.00 เมตร

สภาวะการจราจรhttp://tour.bknowledge.org
ภาพสภาวะการจราจร
http://tour.bknowledge.org

6. สะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานปฐมบรมราชนุสรณ์http://www.kachon.com
ภาพสะพานปฐมบรมราชนุสรณ์
http://www.kachon.com

สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมระหว่างปลายถนนตรีเพชร เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ของกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันสะพานพุทธยอดฟ้านอกจากเป็นเส้นทางการจราจรทางรถยนตร์แล้ว ยังมีลานสาธารณะและลานกีฬาให้มาใช้พักผ่อนหย่อนใจ ส่วนในเวลากลางคืนเริ่มประมาณ 19 นาฬิกาจนถึงเกือบ 24 นาฬิกา จะมีตลาดนัดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าแฟชั่นของวัยรุ่นที่นิยมมากเช่นกัน ทำให้ตลาดสะพานพุทธในปัจจุบันคลาคล่ำด้วยวัยรุ่นจำนวนมากทุกค่ำคืน เปิดบริการขายสินค้าในตลาดนัดสะพานพุทธมีอยู่ทุกวัน ยกเว้นแต่เพียงวันจันทร์ วันเดียวเท่านั้น

สะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นสะพานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2472 เนื่องในโอกาสที่สถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี และมีพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกันเพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก ทั้งยังเป็นการขยายพระนครอีกด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นประกอบกันเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ที่ปลายถนนตรีเพชร

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า

วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929)
วันเปิด : วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932)
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : DORMAN LONG & CO.LTD
ราคาค่าก่อสร้าง : 4 ล้านบาทเศษ (ราคาในปี พ.ศ. 2471)
แบบของสะพาน : ชนิดเปิด-ปิดได้ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นปิดตาย)
โครงสร้างส่วนบน : เป็นลักษณะโครงเหล็กตลอด
ความสูงจากระดับน้ำ : 7.30 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ความกว้างของสะพาน : 10.00 เมตร

การจราจรบนสะพานพุทธ http://www.thaitransport-photo.net
ภาพการจราจรบนสะพานพุทธยอดฟ้า 
http://www.thaitransport-photo.net
สะพานพระพุทธยอดฟ้าhttp://www.thaitransport-photo.net
ภาพสะพานพระพุทธยอดฟ้า 
http://www.thaitransport-photo.net

7. สะพานพระปกเกล้า

สะพานพระปกเกล้าhttp://www.snr.ac.th
ภาพสะพานพระปกเกล้า
http://www.snr.ac.th

สะพานพระปกเกล้า สร้างขนานกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี

สะพานพระปกเกล้าสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการบรรเทาปัญหาจราจรเนื่องจากการจราจรบริเวณนั้นติดขัดมาก จึงจำเป็นต้องสร้างสะพานนี้ขึ้นขนานกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า บนสะพานมีทางรถไฟอยู่บริเวณตอนกลางของสะพานอีกด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับ สะพานพระปกเกล้า

วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524
วันเปิดการจราจร : วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2527
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด
ราคาค่าก่อสร้าง : 475,000,000.00 บาท
แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
โครงสร้างส่วนบน : คอนกรีตอัดแรง
สูงจากระดับน้ำ : 8.90 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
สร้างสะพานเป็นแบบสะพานคู่ : ห่างกัน 15.00 เมตร (ซึ่งจัดเป็นทางสำหรับระบบขนส่งในอนาคต)
จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (56.00+100.00+56.00)
เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 348.20 เมตร
เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 184.80 เมตร
ความกว้างของสะพาน : 13.20 เมตร
จำนวนช่องทางวิ่ง : 3 ช่องทางจราจร (ของแต่ละสะพาน)
ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 11.25 เมตร(ของแต่ละสะพาน)
ความกว้างช่องละ : 3.25 เมตร
ทางเท้ากว้าง : 1.50 เมตร
ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44

8. สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน

สะพานสมเด็จระเจ้าตากสินhttp://www.thaitransport-photo.net
ภาพสะพานสมเด็จระเจ้าตากสิน
http://www.thaitransport-photo.net

สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า สะพานสาทร ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนสาทร กับถนนกรุงธนบุรี แบ่งทางเดินรถเป็นขาเข้าและขาออก ตรงกลางเป็นรางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม การจราจรบนสะพานนี้หนาแน่นและติดขัดมาก

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน

วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
วันเปิดการจราจร : วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง :
Italian Thai Development Corporation Co., Ltd. ของประเทศไทย
Dragages of Travaux Publics Co., Ltd. ของประเทศฝรั่งเศส
Impresa Generale di Construzion (Italvie-Spa.) ของประเทศอิตาลี
ราคาค่าก่อสร้าง : 619,994,537.00 บาท
แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
โครงสร้างส่วนบน : คอนกรีตอัดแรง
สูงจากระดับน้ำ : 12.00 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (66.00+92.00+66.00)
ตัวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำความยาว : 224.00 เมตร
ช่วงกลางแม่น้ำมีความยาว : 92.00 เมตร
เชิงลาดสะพานฝั่งพระนครด้านเหนือน้ำ : 552.00 เมตร
เชิงลาดสะพานฝั่งพระนครด้านใต้น้ำ : 570.00 เมตร
เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 475.00 เมตร
ความกว้างของสะพาน : 12.85 เมตร
ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 19.50 เมตร
ความกว้างช่องละ : 3.25 เมตร
ทางเท้ากว้าง : 1.60 เมตร
ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44
สูงจากระดับน้ำ : 1.20 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
สร้างสะพานเป็นแบบสะพานคู่ ห่างกัน : 15.00 เมตร
จำนวนช่องทางวิ่ง : 6 ช่องทางจราจร
ทางเท้ากว้าง : 1.60 เมตร

9. สะพานพระราม 3

สะพานพระราม 3http://www.taklong.com
ภาพสะพานพระราม 3
http://www.taklong.com

สะพานพระราม 3 หรือบางคนเรียกว่า สะพานกรุงเทพ 2 เนื่องจากสร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ สะพานแห่งนี้ก็เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษก เขตธนบุรี กับถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม

สะพานพระราม 3 สร้างขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาการจราจร เนื่องจากสะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้างสะพานพระราม 3 ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ สะพานพระราม 3 ยังเป็นสะพานที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับ สะพานพระราม 3

วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2539
วันเปิดการจราจร : วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : Ed.Zublin Ag.Wayss & Freytag And Stecon Joint Venture
ราคาค่าก่อสร้าง : งบประมาณแผ่นดิน 411,489,540 บาท และจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) 2,481,181,265 เยน
แบบของสะพาน : สะพานคานรูปกล่อง (ฺBox Girder)
ความกว้างของสะพาน : 6 ช่องจราจร 2 ทิศทาง 23 เมตร
สูงจากระดับน้ำ : 34 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ความกว้างของช่องลอด : 66 เมตร
ความยาวของโครงสร้างสะพาน : หลักช่วงกลางน้ำ 226 เมตร, หลักช่วงข้าง 125 เมตร
ความยาวเชิงลาดของสะพาน : ทั้ง 2 ฝั่ง 1,694 เมตร
ความยาวเชิงลาดทางขึ้น : ที่ถนนตก 211 เมตร , ที่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน 625 เมตร
ความยาวเชิงลาดทางลง : ที่ถนนเจริญกรุง 366 เมตร
ถนนระดับดิน : ทั้งสองฝั่ง 834 เมตร
ความยาวสะพานพร้อมเชิงลาด : 3,372 เมตร โดยเริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดของโครงการก่อสร้างและปรับปรุงถนนพระรามที่ 3 ห่างจากแยกถนนเจริญกรุง ประมาณ 300 เมตร

สะพานพระราม 3 ข้างสะพานกรุงเทพhttp://my.dek-d.com
ภาพสะพานพระราม 3 ข้างสะพานกรุงเทพ
http://my.dek-d.com
สะพานพระราม 3 ตอนกลางคืนhttp://i27.photobucket.com
ภาพสะพานพระราม 3 ตอนกลางคืน
http://i27.photobucket.com

10. สะพานกรุงเทพฯ

สะพานกรุงเทพhttp://learners.in.th
ภาพสะพานกรุงเทพ
http://learners.in.th

สะพานกรุงเทพ ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างบริเวณสี่แยกถนนตก เขตบางคอแหลม กับบริเวณสี่แยกบุคคโล เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 2 รองจากสะพานพระพุทธยอดฟ้า สามารถปิด-เปิด ให้เรือรบเข้าออก และเป็นเส้นทางจราจรเพื่อให้รถข้ามผ่าน

รูปแบบการก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตอัดแรง โดยวิธีการอิสระซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย มีช่องทางจราจร 4 ช่อง ความยาวสะพาน 350.80 เมตร ช่วงกลางน้ำยาว 226 เมตร เปิดใช้งาน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502

ในตอนนี้ยังคงเปิด-ปิด เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านอยู่ตลอด ทำให้จำเป็นต้องปิดเส้นทางจราจร สถาพการจราจรบนเส้นทางนี้จึงติดขัดเป็นอย่างมาก ประกอบกับตัวสะพานมีอายุการใช้งานที่เก่าแก่มาก จึงมีการสร้าง สะพานพระราม 3 ที่มีความสูงมากขึ้นเพื่อให้เรือสินค้าผ่านไปได้ และช่วยขยายสภาพการจราจร

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานกรุงเทพ

วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 แล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2500
วันเปิดการจราจร : วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959)
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : FUJI CAR MANUFACTURING CO.,LTD.
ราคาค่าก่อสร้าง : 31,912,500.00 บาท
แบบของสะพาน : ชนิดเปิด-ปิดได้
จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 5 ช่วง ( 64.00+64.00+60.00+64.00+64.00)
ความยาวของสะพาน : 350.80 เมตร
ความสูงจากน้ำทะเลปานกลาง : 7.50 เมตร
เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 129.70 เมตร
เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 180.55 เมตร
รวมความยาวทั้งหมด : 661.05 เมตร
จำนวนช่องทางวิ่ง : 4 ช่องทางจราจร
ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 12.00 เมตร
ความกว้างสะพาน : 17.00 เมตร
ความกว้างทางเท้าแต่ละด้าน : 2.50 เมตร
ออกแบบรับน้ำหนัก : H-16-44
น้ำหนักโครงเหล็ก : รวมทั้งพื้นจราจร สำหรับช่วง 64.00 ม. หนัก 440 ตัน
สำหรับช่วงเปิด-ปิด : หนักข้างละ 200 ตัน
ระดับคอสะพาน : ฝั่งพระนคร 4.15 เมตร ฝั่งธนบุรี 4.15 เมตร
รับน้ำหนักได้ : TRACTOR TRUCK WITH SEMI-TRAILER 29.25 TONS ต่อช่วงสะพาน
หรือ 16 TONS TRUCK TRAINS วิ่งสวนกัน 4 คัน และ วิ่งตามกันห่าง 4 เมตร น้ำหนักแผ่อีก 400 kg/m2

สะพานกรุงเทพในปัจจุบันhttp://www.yimsiam.com
ภาพสะพานกรุงเทพในปัจจุบัน
http://www.yimsiam.com
สะพานกรุงเทพในอดีตhttp://www.snr.ac.th
ภาพสะพานกรุงเทพในอดีต
http://www.snr.ac.th

11. สะพานพระราม 9

สะพานพระราม 9http://www.kachon.com
ภาพสะพานพระราม 9
http://www.kachon.com

สะพานพระราม 9 หรือบางคนเรียกว่า สะพานแขวน ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพานเพื่อรับ น้ำหนักของสะพาน

สะพานพระราม 9 เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อ สะพานพระราม 9 เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยมีกิจกรรมวิ่งมาราธอนลอยฟ้าในเวลา 06.00 น. ในวันที่ทำพิธีการเปิด

โครงสร้างของสะพาน
โครงสร้างของสะพานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. โครงสร้างตัวสะพาน โครงสร้างตัวสะพาน (Superstructure) ประกอบด้วย ตัวสะพาน เสาขึง สายเคเบิล เป็นเหล็กทั้งสิ้น มีรายละเอียดดังนี้
ตัวสะพาน (Bridge Deck) ประกอบด้วย เหล็กแบบ Box Girder มีคานขวาง (Cross Girder) ทุก ๆ ระยะ 3.60 เมตร ตัวสะพานแบ่งตามความยาวของสะพานออกเป็น 2 สวนคือ

– ตัวสะพานซึ่งอยู่ระหว่างเสาขึงทั้งสองข้างมีความยาว 450 เมตร เรียกว่า Main Span เฉพาะช่วงของ Main Span มีรูปตัดเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูกว้าง 33 เมตร ช่วงของ Back Span มีรูปตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในส่วนที่บรรจบกับ Main Span มีความกว้าง 33 เมตร และลดลงเป็น 31 เมตร เพื่อต่อกับเชิงลาดของสะพานภายในสะพานมีช่องทางเดินตลอดสะพาน แบ่งเป็น 3 ช่อง มีความสูง 4.00 เมตรเพื่อความสะดวกในการเดินสำรวจสภาพและซ่อมบำรุงภายในสะพาน
– เสาขึง (Pylon) มี 2 ต้น เป็นเสาเหล็กรูปหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3.00 x 4.50 เมตร ที่โคนเสาบนพื้นสะพาน และลดลงเป็น 2.50 x 3.00 เมตร ที่ยอดเสาสูง 87 เมตร เสาขึงนี้จะทำหน้าที่ยึดและรับแรงดึงจากสายเคเบิลแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาตอม่อ (Pylon Pier) ภายในจะมีบันไดและลิฟท์เพื่อใช้ตรวจสอบและซ่อมบำรุง
– สายเคเบิล (Cable) ประกอบด้วย เส้นลวด (Wire) ขนาดเล็กจำนวนมากขบกัน ในลักษณะบิดเป็นเกลียวรอบจุดศูนย์กลาง เรียกว่า Locked Coil Cable มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 121 – 167 มิลลิเมตร ความยาว 50-223 เมตร รวมจำนวน 4 ชุด ชุดละ 17 เส้นรวมทั้งหมด 68 เส้น สามารถรับแรงดึงได้ตั้งแต่ 1,500 – 3,000 ตัน

2. โครงสร้างฐานรากสะพาน โครงสร้างฐานรากสะพาน (Substructure) ประกอบด้วย เสาตอม่อ แท่นหัวเข็ม เสาเข็ม ซึ่งล้วนแต่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีรายละเอียด ดังนี้

– เสาตอม่อ (Pier) เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 8 ต้น ที่ฝั่งกรุงเทพฯ 4 ต้น ฝั่งธนบุรี 4 ต้น ตัวริมเรียกว่า Junction Pier (Po และ P7) เป็นเสาคู่ ถัดเข้ามาอีก 2 ตัว เรียกว่า Back Span Pier (P1, P2, P5 และ P6) เป็นเสาตันคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 3.2 x 18.0 เมตร สำหรับตอม่อริมน้ำ (P3 และ P4) มีขนาด 11.0 x 18.0 เมตร เป็นเสากลวงคอนกรีต เสริมเหล็กโดยมีผนังหนา 1.00 เมตรโดยรอบ
– เสาเข็ม (Bore Pile) เป็นเสาเข็มเจาะคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00 เมตร ลึกประมาณ –30 เมตร รทก ถึง –35 เมตร รทก จำนวนเสาเข็มสำหรับฐานรากริม, ฐานรากกลาง จำนวน 2 ฐาน และฐานรากเสาสูง 8, 8, 10 และ 64 ต้นตามลำดับ
– แท่นปิดหัวเสาเข็ม (Pile Cap) เป็นแท่นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อรองรับเสาสะพานสำหรับฐานรากริม ฐานรากกลาง 2 ฐาน และฐานรากเสาสูงโดยมีขนาด 10 x 25 x 2.50 เมตร ขนาด 11 x 20 x 4.00 เมตรและขนาด 32 x 37 x 6.00 เมตร ตามลำดับ เฉพาะแท่นปิดหัวเสาเข็มของ ฐานรากเสาสูงจะมีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้ปริมาณคอนกรีตถึง 7,000 ลูกบาศก์เมตร โดยเทต่อเนื่อง

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานพระราม 9

วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527
วันเปิดการจราจร : วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท ฮิตาชิ โซนโซน คอร์ปอเรชั่น โตเกียว คอนสตรัคชั่น จำกัด และ บริษัท โกบี สตีล จำกัด
ราคาค่าก่อสร้าง : 1,418,100,000 บาท
แบบของสะพาน : ชนิดเสาขึงระนาบเดี่ยว
ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง : 41.00 เมตร
ความยาวของสะพาน : 782.00 เมตร
เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 1,127.00 เมตร 2
เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 807.00 เมตร
รวมความยาวทั้งหมด : 2,716 เมตร
จำนวนช่องทางจราจร : 6 ช่องทางจราจร
ความกว้างสะพาน : 33.00 เมตร

ด้านบนสะพานพระราม 9http://en.structurae.de
ภาพด้านบนสะพานพระราม 9
http://en.structurae.de
ด้านข้างสะพานพระราม 9http://i173.photobucket.com
ภาพด้านข้างสะพานพระราม 9
http://i173.photobucket.com

12. สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม

สะพานวงแหวนอุตสาหกรรมhttp://www.oknation.net/
ภาพสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม
http://www.oknation.net/

สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 3 ถนนปู่เจ้าสมิงพราย กับถนนสุขสวัสดิ์ รูปแบบเป็นแบบสะพานขึง ขนาด 7 ช่องการจราจร มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549

สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม สร้างเพื่อรองรับการขนถ่ายและลำเลียงสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพ (ท่าเรือคลองเตย) และรองรับการลำเลียงสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในแถบจังหวัดสมุทรปราการ
เสริมโครงข่ายถนนและแบ่งเบาปริมาณการจราจรในพื้นที่บริเวณโครงการเป็นโครงข่ายสำหรับการขนถ่ายและลำเลียงสินค้าในพื้นที่โครงการไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศ เช่น ด้านทิศใต้ออกสู่ถนนพระรามที่ 2 หรือทางด้านทิศตะวันออกไปสู่ถนนสุขุมวิท หรือถนนบางนา-ตราด เป็นต้น

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม

วันที่เริ่มดำเนินงาน : 5 มีนาคม 2539
แบบของสะพาน : สะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ช่วง
ราคาค่าก่อสร้าง : 8,739 ล้านบาท
ลักษณะการก่อสร้าง : แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ช่วงเหนือ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านเหนือ เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 326 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีต และเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 128 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง ความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าสามารถแล่นลอดได้

ช่วงใต้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ เชื่อมระหว่างตำบลทรงคะนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพาน ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 398 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีตและเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 152 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง ความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถลอดได้เพื่อเข้าสู่ท่าเรือคลองเตย

ช่วงตะวันตก เป็นทางยกระดับข้ามถนนพระราชวิริยาภรณ์ และเป็นทางระดับพื้นราบ ก่อนจะเป็นทางยกระดับอีกครั้งเมื่อบรรจบกับถนนสุขสวัสดิ์ โดยแยกเส้นทางออกไปจากช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

บนสะพานวงแหวนฯ ตอนค่ำคืนhttp://www.rpst-digital.org
ภาพบนสะพานวงแหวนฯ ตอนค่ำคืน
http://www.rpst-digital.org
วงแหวนอุตสาหกรรม http://www.rpst-digital.org
ภาพวงแหวนอุตสาหกรรม
http://www.rpst-digital.org

บรรณานุกรม

ประวัติสะพานสำคัญ….สะพานพระราม 7. ( ม.ป.ป.). http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_th_ramavii.htm

เลี้ยวขวาสนทนาจราจร ถนนพระรามที่…(3). ( ม.ป.ป.). http://www.thairath.co.th/news.php?section=bangkok04&content=99775

ประวัติ สะพานพระราม 7″ สืบค้น 26 ต.ค. 2551. ( ม.ป.ป.). http://my.dek-d.com/bua_za_kitty/story/viewlongc.php?id=291972&chapter=40

สะพานพระราม 6. ( ม.ป.ป.). http://www.bangkoktourist.com/thai_places_rama6_bridge.php

สะพานพระราม 6 สะพานรถไฟ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก. ( ม.ป.ป.). http://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=437

ล่อง..ลำน้ำเจ้าพระยา. ( ม.ป.ป.). http://www.siamturakij.com/home/news/print_news.php?news_id=4743

ประวัติสะพานสำคัญ….สะพานกรุงธน. ( ม.ป.ป.). http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_th_krungthon.htm

ชมความงามหลากสะพาน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา. ( ม.ป.ป.). http://www.kachon.com/tour/detail.asp?id=1570

สะพานซังฮี้’จุดชมวิวนักตกปลา. ( ม.ป.ป.). http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=4570

โครงการสะพานพระราม 8. ( ม.ป.ป.). http://www.bma.go.th/html/page6512.html

สะพานพระราม 8 สะพานขึงแบบอสมมาตรอันดับ 5 ของโลก. ( ม.ป.ป.). http://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=573

กินลม…ชมสะพาน. ( ม.ป.ป.). http://newgenstravel.com/webboard/wb_show.asp?Lang=&id=2051&ipagenum=32&xpagenum=627

ประวัติสะพานสำคัญ….สะพานพระปิ่นเกล้า. ( ม.ป.ป.). http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_th_pinklao.htm

กินลม…ชมสะพาน. ( ม.ป.ป.). http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/index16.html

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เริ่มเปิดการจราจรเป็นวันแรก. ( ม.ป.ป.). https://guru.sanook.com/25446/

ประวัติสะพานสำคัญ….สะพานพระพุทธยอดฟ้า. ( ม.ป.ป.). http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_th_memorial.htm

กินลม…ชมสะพาน. ( ม.ป.ป.). http://newgenstravel.com/webboard/wb_show.asp?Lang=&id=2051&ipagenum=32&xpagenum=627&idCat=

ชมความงามหลากสะพาน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา. ( ม.ป.ป.). http://www.kachon.com/tour/detail.asp?id=1570

ประวัติสะพานสำคัญ….สะพานพระปกเกล้า. ( ม.ป.ป.). http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_th_pokklao.htm

สะพานข้ามเจ้าพระยาที่ฝั่งธน. ( ม.ป.ป.). http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/index16.html

ประวัติสะพานสำคัญ…สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช . ( ม.ป.ป.). http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_th_taksin.htm

สะพานข้ามเจ้าพระยาที่ฝั่งธน. ( ม.ป.ป.). http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/index16.html

ป้ายสื่อความหมายประวัติศาสตร์.. ตอนที่ 2. ( ม.ป.ป.). http://203.155.220.217/dotat/periodical_4_3_2548/14-15/14-15.htm

ประวัติสะพานสำคัญ….สะพานพระราม 3. ( ม.ป.ป.). http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_th_ramaiii.htm

สะพานข้ามเจ้าพระยาที่ฝั่งธน. ( ม.ป.ป.). http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/index16.html

ประวัติ สะพานพระราม 3. ( ม.ป.ป.). http://my.dek-d.com/bua_za_kitty/story/viewlongc.php?id=291972&chapter=44

ประวัติสะพานสำคัญ….สะพานกรุงเทพ. ( ม.ป.ป.). http://www.roadmaintenance.thaigov.net/bridge_th_krungthep.htm

สะพานกรุงเทพ. ( ม.ป.ป.). http://www.bangkoktourist.com/thai_places_rama6_bridge.php

สะพานข้ามเจ้าพระยาที่ฝั่งธน. ( ม.ป.ป.). http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/index16.html

สะพานพระราม 9. ( ม.ป.ป.). https://www.exat.co.th/th/projects/index.php?ID=24

สะพานพระรามเก้า และสวนสาธารณะสะพานพระราม 9 กรุงเทพฯ. ( ม.ป.ป.). http://www.thai-tour.com/thai-tour/Bangkok/data/pic-thebridge-ramaIX.htm

กินลม…ชมสะพาน. ( ม.ป.ป.). http://newgenstravel.com/webboard/wb_show.asp?Lang=&id=2051&ipagenum=32&xpagenum=627

รายละเอียดโครงการสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). http://www.geocities.com/irr_123/project_description.html

กินลม…ชม สะพาน. (ม.ป.ป.). http://newgenstravel.com/webboard/wb_show.asp?Lang=&id=2051&ipagenum=32&xpagenum=627

ชมความงามหลากสะพาน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา. (ม.ป.ป.). http://www.kachon.com/tour/detail.asp?id=1570

ภาพประกอบ

สะพานพระราม 7. ( ม.ป.ป.). http://eng2526.nisitchula.com/forum/forum_postpop.asp?FID=3&TID=373&PN=1&TPN=35

สะพานพระราม 7ตอนกลางคืน. ( ม.ป.ป.). http://www.thaitransport-photo.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4429&postdays=0&postorder=asc&start=20

สะพานพระราม 7. ( ม.ป.ป.). http://eng2526.nisitchula.com/forum/forum_postpop.asp?FID=3&TID=373&PN=1&TPN=35

สะพานพระราม 7 ตอนกลางคืน. ( ม.ป.ป.). http://www.thaitransport-photo.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4429&postdays=0&postorder=asc&start=20

ทางรถไฟสะพานพระราม 6. ( ม.ป.ป.). http://www.thaitransport-photo.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1837

ป้ายสะพานพระราม 6 บนสะพานยามเย็น. ( ม.ป.ป.). http://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=437

สะพานกรุงธน. ( ม.ป.ป.). http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbas&group=1&month=05-2006&date=09

ป้ายสะพานกรุงธน , เส้นทางจราจรบนสะพาน. ( ม.ป.ป.).  http://cocon.exteen.com/20071202/entry

สะพานพระราม 8, การจราจรบนสะพาน. ( ม.ป.ป.). http://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=573

สะพานพระปิ่นเกล้า. ( ม.ป.ป.). http://gotoknow.org/file/enqd_mu/view/49763

สภาวะการจราจร. ( ม.ป.ป.). http://tour.bknowledge.org/gallery/20/20-1194346598.jpg

สะพานปฐมบรมราชนุสรณ์. ( ม.ป.ป.). http://www.kachon.com/tour/detail.asp?id=1570

การจราจรบนสะพานพุทธ, สะพานพระพุทธยอดฟ้า. ( ม.ป.ป.). http://www.thaitransport-photo.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3359&postdays=0&postorder=asc&start=240

สะพานพระปกเกล้า. ( ม.ป.ป.). http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/index16.html

สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน. ( ม.ป.ป.). http://www.thaitransport-photo.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1225

สะพานพระราม 3.551. ( ม.ป.ป.). http://www.taklong.com/pictpost/s-pi.php?No=46766

สะพานพระราม 3 ข้างสะพานกรุงเทพ. ( ม.ป.ป.). http://my.dek-d.com/bua_za_kitty/story/viewlongc.php?id=291972&chapter=44

สะพานพระราม 3 ตอนกลางคืน. ( ม.ป.ป.).  http://i27.photobucket.com/albums/c156/docorooo/DSC07032-s.jpg

สะพานกรุงเทพ. ( ม.ป.ป.). http://learners.in.th/file/ning1144/3.jpg

สะพานกรุงเทพในปัจจุบัน. ( ม.ป.ป.). http://www.yimsiam.com/cgi-bin/data/logisticsfan/pic/00000322.jpg

สะพานกรุงเทพในอดีต. ( ม.ป.ป.). http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/16_files/bridge3.jpg

สะพานพระราม 9. ( ม.ป.ป.). http://www.kachon.com/tour/detail.asp?id=1570

ด้านบนสะพานพระราม 9. ( ม.ป.ป.). http://en.structurae.de/files/photos/108/rama8_01.jpg

ด้านข้างสะพานพระราม 9. ( ม.ป.ป.). http://i173.photobucket.com/albums/w67/BlueDragoExp_photo/2.jpg

สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). http://www.oknation.net/blog/print.php?id=107803

บนสะพานยามค่ำคืน, วงแหวนอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). http://www.rpst-digital.org/forum/showthread.php?t=11785

รวบรวมข้อมูลโดย : กลุ่มนักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ปีการศึกษา 1/2551