องค์พระสมุทรเจดีย์

เทศกาล และงานประเพณี จังหวัดสมุทรปราการ
งานนมัสการพระเจดีย์กลางน้ำหรือพระสมุทรเจดีย์ ถือเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง… พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ? ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์ขึ้น และแล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแรกสร้างเป็นเจดีย์ทรงระฆังย่อมุมไม้สิบสอง สูง 27.75? เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ต่อมาถูกคนร้ายขโมยไป ล่วงถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชประสงค์ให้สร้างเจดีย์ให้สูงใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อความสง่างามและเป็นจุดหมายตาสำหรับเรือสินค้าของชาวต่างชาติว่ามาถึง สยามแล้ว จึงมีการสร้างเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ สูง 39.75 เมตร ครอบทับพระเจดีย์องค์เดิม ดังที่เห็นในปัจจุบัน คำเรียก “พระเจดีย์กลางน้ำ” นั้นมาจากเดิมพระเจดีย์ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาชายตลิ่งตื้นเขินงอกเป็นแผ่นดินออกมาเชื่อมกับเกาะอันเป็นที่ตั้งของ พระสมุทรเจดีย์
เกาะดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกพระเจดีย์กลางน้ำดังเดิม ทุกๆ ปีจะมีการจัดงานนมัสการพระสมุทรเจดีย์โดยกำหนดเอาวันแรม? 5 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันเริ่มงาน ก่อนเริ่มงานประมาณวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชายหญิงพร้อมใจกันเย็บผ้าแดงผืนใหญ่ แล้วอัญเชิญผ้าแดงตั้งบนบุษบกแห่ไปรอบๆ ตัวเมือง และนำลงเรือแห่ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงอำเภอพระประแดงเพื่อให้ชาวอำเภอ พระประแดงร่วมอนุโมทนา จากนั้นจึงแห่กลับมาทำพิธีทักษิณาวรรตรอบองค์พระสมุทรเจดีย์? ก่อนนำผ้าขึ้นห่มองค์พระสมุทรเจดีย์
ประเพณีรับบัว – เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบกันมาแต่โบราณของชาว อำเภอบางพลี ในสมัยก่อนนั้นในแถบอำเภอบางพลีมีประชาชนอาศัยอยู่แบ่งเป็น 3 พวก คือ คนไทย คนรามัญ และคนลาว แต่ละพวกช่วยกัน ทำมาหากินโดยแยกย้ายกันไปคนละทางเพื่อจะได้รู้ถึงภูมิประเทศว่าด้านไหนหากิน คล่องกว่ากัน คนลาวไปทางคลองสลุด คนไทยไปทางคลองชวดลาดข้าว และคนรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกคนรามัญที่ไปทางคลองลาดกระบังทำอยู่ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนกและหนูชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆ จึงเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นฐานเดิม โดยอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปก็ได้เก็บดอกบัวในบึงบริเวณนั้นเพื่อนำไปกราบมนัสการหลวงพ่อโต พร้อมทั้งขอน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล และสั่งเสียคนไทยที่สนิทกันว่า ในปีต่อๆ ไปเมื่อถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยกันเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ให้ที่วัดหลวงพ่อโต แล้วพวกตนจะมารับเอาดอกบัวไป คนไทยก็ตอบตกลงยินดีที่จะเก็บดอกบัวไว้ให้ ในปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยต่างก็ช่วยกันเก็บดอกบัวมารวบรวมไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ใน แล้วพวกรามัญก็มารับดอกบัวเป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ประเพณีรับบัวได้เลือนหายไปตามกาลเวลา กระทั่งสมัยที่ นายชื้น วรศิริ เป็นนายอำเภอ อำเภอบางพลี ช่วงปี พ.ศ. 2478-2481 ได้รื้อฟื้นประเพณีรับบัวขึ้นมาใหม่ ครั้งนี้มีความแตกต่างไปจากเดิม คือ มีการประกวดเรือสวยงาม โดยทำรูปหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน ที่ชาวบางพลีให้ความเคารพนับถือประดิษฐานไว้ในเรือ ด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงอัญเชิญหลวงพ่อโตองค์จำลองประดิษฐานบนเรือ แล้วแห่ไปตามลำคลอง เพื่อให้ผู้ศรัทธาได้นมัสการด้วยการโยนดอกบัวไปยังเรือนั้น ประเพณี ?รับบัว? จึงเปลี่ยนเป็น ?โยนบัว? ในเวลาต่อมา
องค์หลวงพ่อโต

สงกรานต์พระประแดง- เมืองพระประแดง หรือเมืองนครเขื่อนขันธ์หรือที่ชาวรามัญเรียกว่า เมืองปากลัด เป็นเมืองเก่าแก่มีประเพณีและศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เนื่องจากมีพื้นที่เสมือนเมืองหน้าด่านของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ได้ทรงสร้างเมือง นครเขื่อนขันธ์ และได้ย้ายครอบครัวรามัญจากเมืองสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 300 คน มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้ ฉะนั้นประเพณีและศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่จึงเกี่ยวกับชาวรามัญทั้งสิ้น อาทิ การสรงน้ำพระพุทธรูปในมณฑป วัดโปรดเกศเชษฐาราม การปล่อยนกปล่อยปลา โดยมีตำนานอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรกเป็นการช่วยชีวิตปลาที่ตกคลักอยู่ตามหนองบึงที่กำลังแห้งในฤดูแล้ง ชาวบ้านจะช่วยกันจับปลาไปปล่อยในที่มีน้ำเพื่อให้พ้นความตาย ประการที่สองเป็นการรักษาพันธุ์ปลาในทางอ้อมอีกด้วย การแห่ปลาของชาวพระประแดงทำกันทุกปีระหว่างเทศกาลสงกรานต์ มีสาวรามัญร่วมขบวนแห่ นำปลาไปปล่อยในที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม ก่อนการแห่นกแห่ปลา ในขบวนแห่ก็มีการละเล่น ได้แก่ แตรวง ทะแยมอญ เถิดเทิง? ร่วมขบวนไปเป็นที่สนุกสนานรื่นเริง ส่วนมากจะเป็นเวลาประมาณ 15.00 นาฬิกา และตอนกลางคืนมีการเล่นสะบ้า อันเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ของชาวรามัญ นอกจากนี้ยังมีการประกวดนางสงกรานต์ และที่พิเศษกว่า การจัดงานสงกรานต์ที่อื่นๆ คือการประกวดหนุ่มลอยชาย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสงกรานต ์เมืองพระประแดง
นางสงกรานต์และหนุ่มลอยชายพระประแดง ประจำปี 2551

บรรณานุกรม
?พระเจดีย์กลางน้ำ งานใหญ่จังหวัดสมุทรปราการ? ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2553,
จาก? http://www.oknation.net/blog/print.php?id=508901
“ประเพณีรับบัว? ค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2553,
จาก? http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/
samutprakan/pracha_c/bangplee/sec01p01.html
เรื่องที่เกี่ยวข้อง คือ “ของดีประจำจังหวัดสมุทรปราการ”
เรียบเรียงโดย : วิมล ชีวะธรรม ฝ่ายห้องสมุดวิทยาเขต บางนา