ประเพณีทอดกฐินในประเทศไทย การทอดกฐินในประเทศไทย เป็นทั้งประเพณีและวิถีไทยในงานบุญ นับตั้งแต่โบราณกาลจนปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนคนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินถึงสามัญชน
Tag: วันสำคัญ
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 1 มกราคม – วันขึ้นปีใหม่ 1 January – New Year?s Day มกราคม* – วันเด็กแห่งชาติ(วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม) January* – Children?s Day (The 2nd Saturday of January) 14 มกราคม – วันอนุรักษ์ทรัพยากร ป่าไม้ของชาติ 14 January – National Forest 16 มกราคม – วันครู 16 January – Teacher?s Day 17 มกราคม – วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 January – Phor Khun Ramkhamhaeng the Great?s Day 18 มกราคม – วันกองทัพไทย 18 January – Thai Army?s Day 2 กุมภาพันธ์ วันนักประดิษฐ์แห่งชาติ 2 February – Inventor?s Day กุมภาพันธ์* – วันวันตรุษจีน (วันที่หนึ่งของปฏิทินจีน) February* – Chinese New Year?s Day (The 1st day of …
ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง สิ่งมีชีวิตนานาชนิด เช่น พืชและสัตว์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันตามหน่วยของพันธุกรรม และสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีความหลากหลายทางพันธกรรมเป็นสายพันธุ์ ยิ่งถิ่นที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกันมากเพียงใด ก็ยิ่งมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมากขึ้นเพียงนั้น
“คริสต์มาส” ถ้าพูดถึงคริสต์มาสในเมืองไทย มักจะเริ่มด้วยห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่จะตกแต่งกันอย่างหรูหราด้วยสีสันสดใส่ไม่ว่าจะเป็นแสงไฟ เสียงเพลงรวมถึงต้นคริสต์มาสอันเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสต์มาส สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นบรรยากาศที่ชักจูงให้คิดถึง วันสำคัญของชาวโลกวันหนึ่ง ก็คือ “วันคริสต์มาส”
รัฐบาลได้ทำการส่งเสริมทางด้านการกีฬาของไทยด้วยดีเสมอมา เพราะตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการเล่นกีฬาว่า นอกจากจะเป็นการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงสดชื่นมีพลานามัยที่ดีแล้ว การกีฬายังเป็นเครื่องช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วนปรับปรุงในด้านความคิดและอุปนิสัยให้ประชาชนในชาติ เป็นผู้มีความเสียสละ รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย และมีความสามัคคีต่อกัน อ่านต่อ >>
วันที่ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักปราชญ์ราชบัณฑิต นักศึกษา และนักเรียนว่าเป็น “วันกรมปรมานุชิตชิโนรส” หรือวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส “มหาสังฆปรินายก ปธานาธิบดีแห่งสงฆ์” ผู้ทรงเป็นปราชญ์ทั้งคดีโลกและคดีธรรม ได้ทรงพระนิพนธ์ ปฐมสมโพธิกถา ลิลิตตะเลงพ่าย สมุทโฆษคำฉันท์ เวสสันดรชาดก และวรรณกรรมที่เลื่องลืออีกหลายเล่ม ที่นับถือกันว่าเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของไทยในด้านพระพุทธศาสนาและวรรคดี อ่านต่อ >>
วันที่ 10 ธันวาคม นอกจากเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทยแล้ว สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชนของโลกด้วย ซึ่งประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบว่าวันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันสิทธิมนุษยชน ยกเว้นกลุ่มสิทธิมนุษยชนในไทย อ่านต่อ >>
10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา 700 ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฎิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร ศาล ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ …
๕ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย อ่านต่อ >>
ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมนับเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในวงกว้าง และนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศ อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้มีการใช้ทรัพยากรมีอัตราเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย รวมถึงการมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ