อยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดาประเทศผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรอันได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส จีน และบรรดา ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นหลักประกันในการรักษาสันติภาพของโลก อันเป็นต้นกำเนิดขององค์การสหประชาชาติ
การริเริ่มก่อตั้งองค์การสหประชาชาติดำเนินมาเป็นขั้นตอนตามลำดับดังนี้
- วันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1941 มีการลงนามในปฏิญญาลอนดอนระหว่างบรรดาผู้แทนรัฐบาลพลัดถิ่นในประเทศอังกฤษ
- วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา และนายวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ ได้ร่วมลงนามกันในกฎบัตรแอตแลนติก
- วันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ผู้แทนของจีน สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ได้มีการประชุมหารือและลงนามในปฏิญญามอสโก
- ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม ถึงวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ผู้แทนของจีนสหภาพโซเวียด อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับร่างกฎบัตรลงประชามติที่ดัมบาร์ตัน โอ๊ค ชานเมืองกรุง วอชิงตัน ดี.ซี.
- วันที่ 4 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล และจอมพลสตาลิน ร่วมประชุมกัน ณ เมืองยัลตา แหลมไครเมีย ในสหภาพโซเวียต เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม ร่างกฎบัตรของสหประชาชาติ
- วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 มีการประชุมที่เมืองซานฟรานซิโก ระหว่างรัฐ 50 รัฐ เพื่อร่วมลงนามในกฎบัตรของสหประชาชาติ
- วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 กฎบัตรสหประชาชาติได้รับสัตยาบันจากสหรัฐอเมริกัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต จีน และประเทศส่วนใหญ่ที่ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติและกฎบัตรเริ่มมีผลบังคับใช้ ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันสหประชาชาติ”

เจตนารมณ์ในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติของบรรดาประเทศต่างๆ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพื่อรักษาสันติภาพของโลก โดยอาศัยระบบความมั่นคงร่วมกัน
- เพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยวางอยู่บนรากฐานแห่งความเสมอภาค
- เพื่อแก้ไขปัญหาอาณานิคมและสนับสนุนให้ดินแดนอาณานิคมมีเอกราชและอธิปไตย

องค์การสหประชาชาติประกอบด้วยองค์การหลัก 6 องค์การ ได้แก่
- สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
- คณะมนตรีความมั่นคง
- คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
- คณะมนตรีภาวะทรัสตี
- สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ
- ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
องค์กรเหล่านี้มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันออกไป และเป็นเอกเทศซึ่งกันและกันแต่มีเป้าหมายอันเดียวกัน คือ ปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กฎบัตรสหประชาชาติได้วางไว้
ประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1946 นับเป็นสมาชิกสหประชาชาติอันดับที่ 55 จากบรรดาสมาชิกทั้งหมด 159 ประเทศ
บรรณานุกรม
วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543.
ภาพประกอบ
http://www.inetours.com/New_York/Tours/NYC_Tours.html
ข้อมูลโดย : กลุ่มนักศึกษาฝึกงาน งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด