มาท่องเที่ยวชุมชนกุฎีจีน ชุมชนลูกหลานชาวโปรตุเกส

ภาพด้านข้างโบสถ์ซางตาครู้ส <br>ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตรประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ทั้งยังมีชาวต่างชาติ เช่น ชาวโปรตุเกสอพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังมีชุมชนที่ได้รับวัฒนธรรมของชาวโปรตุเกส คือ ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนนี้เป็นชุมชนเล็กๆ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งมีคนไทยเชื้อสายจีนกับคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญเป็นชุมชนที่เก่าแก่ มีอายุกว่า 200 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช

∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴

ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายจีนและเชื้อสายโปรตุเกส ที่อพยพลี้ภัยมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวโปรตุเกสกับชาวจีนตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งปัจจุบัน คือ “ชุมชนกุฎีจีน”

ภาพทางเข้าชุมชนกุฎีจีนตรงท่าเรือ <br>ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร
ภาพทางเข้าชุมชนกุฎีจีนตรงท่าเรือ
ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร
ภาพทางเข้าซอยกุฎีจีน 9 <br>ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร
ภาพทางเข้าซอยกุฎีจีน 9
ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนนี้ คือ โบสถ์ซางตาครู้ส คำว่าซางตาครู้สในภาษาโปรตุเกสแปลว่า “กางเขนศักดิ์สิทธิ์” สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี ในโบสถ์มีระฆังพุทธกาย ซึ่งมีแค่ 2 วัดในประเทศไทยเท่านั้น ใช้ในการตีเพื่อถวายพระพร ข้างในตัวโบสถ์มีกระจกสีสันสวยงามที่เล่าเรื่องราวจากพระคัมภีร์ รวมถึงมีรูปปั้นพระแม่มารี รูปปั้นนักบุญในศาสนาคริสต์ตั้งอยู่ตามบริเวณรอบๆ ชุมชน

ภาพด้านหน้าโบสถ์ซางตาครู้ส <br> ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร
ภาพด้านหน้าโบสถ์ซางตาครู้ส
ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร
ภาพรูปปั้นพระแม่มารีบริเวณชุมชน <br> ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร
ภาพรูปปั้นพระแม่มารีบริเวณชุมชน
ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร

ภูมิปัญญาที่โดดเด่นของชุมชนนี้มาจากชาวโปรตุเกสในสมัยก่อน ได้แก่ ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมชาวจีนกับชาวโปรตุเกส ตัวขนมเป็นของโปรตุเกส แต่มีหน้าเป็นแบบจีน ลักษณะเด่น คือ การใช้วัตถุดิบแค่ 3 อย่างในการทำตัวขนม ได้แก่ แป้ง ไข่ และน้ำตาล มีการโรยหน้าด้วยผลไม้อบแห้ง มี 2 แบบ คือ ขนาดใหญ่กับขนาดเล็ก แบบขนาดใหญ่ มีการโรยหน้าด้วยลูกเกด ฟักเชื่อม มะเขือเทศอบแห้ง และน้ำตาลทราย ส่วนขนาดเล็ก เป็นขนมกุฎีจีนแบบดั่งเดิม คือ ไม่มีหน้า ตัวขนมจะนุ่ม กลิ่นหอม มีรสไม่หวานมาก

ภาพขนมกุฎีจีนแบบขนาดใหญ่ <br> ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร
ภาพขนมกุฎีจีนแบบขนาดใหญ่
ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร
ภาพขนมกุฎีจีนแบบขนาดเล็ก <br> ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร
ภาพขนมกุฎีจีนแบบขนาดเล็ก
ภาพโดย : ธงฉัตร จันทร์บุตร

เทศกาลที่สำคัญในชุมชนนี้ ได้แก่ เทศกาล “พิธีถอดพระ” เป็นวันที่พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน หรือที่เรียกว่า ศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ มีการแสดงร่วม 14 ภาค เป็นการแสดงประวัติก่อนที่พระเยซูจะถูกตรึงไม้กางเขน กล่าวถึงการหกล้ม 14 ครั้ง จนถึงการช่วยท่านลงมาจากการถูกตรึงไม้กางเขน เป็นเทศกาลที่มีมากว่า 100 ปี จัดตามปฎิทินศาสนาศริสต์ประมาณช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
และเทศกาล “คริสมาสตร์” จะมีการประดับแสงไฟตกแต่งหน้าบ้านที่แตกต่างกันไปตามจุดเด่นของแต่ละซอย และมีการทำอาหารโปรตุเกสมาเลี้ยงฉลอง ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี

ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนที่เก่าแก่ มีวัฒนธรรมของชนชาติอื่นมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยได้อย่างลงตัว มีความเป็นเอกลักษณ์ที่ชุมชนอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ซางตาครู้ส โบสถ์ศาสนาคริสต์ที่เป็นศูนย์กลางชุมชน ขนมกุฎีจีนที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมของชาวจีนกับชาวโปรตุเกสเข้าด้วยกัน เทศกาลที่เน้นไปทางศาสนาคริสต์ ซึ่งยังมีอีกหลากหลายชุมชนที่มีวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตในชุมชนนั้น รอให้ผู้คนเข้ามาสัมผัส ศึกษา อนุรักษ์ และเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่าง เพื่ออาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขตราบนานเท่านาน

∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴∴

บรรณานุกรม
ดาวรัตน์ ชูทรัพย์. (2545). หมื่นร้อยพันผสาน : บันทึกสิ่งดีวัฒนธรรมประเพณีวิถีไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ธงฉัตร จันทร์บุตร และคณะ. (2559). ศึกษาชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร. รายงานวิชาสังคมไทยร่วมสมัย. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. หน้าที่ 1-7.
ธงฉัตร จันทร์บุตร และคณะ. (2559). สืบสานภูมิปัญญาขนมโบราณคู่ชุมชนกุฎีจีน. รายงานวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. หน้าที่ 1-12.

ภาพประกอบ 
ภาพโดยธงฉัตร จันทร์บุตร ถ่ายเมื่อปี 2559


เรียบเรียงโดย นักศึกษาฝึกงาน นายธงฉัตร จันทร์บุตร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ภาคการศึกษา 1/2561