โมกราชินี
WRIGHTIA SIRIKITIAE MID. & SUNTISUK
ภาพ : ดัดแปลงจากวารสารชีวปริทรรศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ.2544 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้กรมป่าไม้ใช้พระนาม “ โมกราชินี ”
สำหรับพรรณไม้สกุลโมกมันชนิดใหม่ของโลกที่พบในวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ศ. ดร. ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำรวจและจำแนกพรรณไม้ กรมป่าไม้ ซึ่งสำรวจพบพรรณไม้สกุลโมกมันชนิดใหม่ของโลก ระหว่างการสำรวจพรรณพฤกษชาติ ภูเขาหินปูนทางภาคกลาง ได้พบไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นพรรณไม้ผลัดใบชนิดหนึ่ง ดูเผินๆ คล้ายกับโมกหลวง ซึ่งกรมป่าไม้มีอยู่ แต่เมื่อเห็นดอกทราบได้ทันทีว่า เป็นพรรณไม้ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากพรรณไม้โมกหลวง หรือโมกมันทั่ว ๆ ไป จึงได้นำพรรณไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และผลมาวิเคราะห์อีกครั้งที่ห้อลปฎิบัติการของกรมป่าไม้ ก็พบว่า เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่แท้จริง สกุลเดียวกับโมกมัน มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า “
WRIGHTIA ”
กรมป่าไม้จึงได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ใช้ชื่อพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกตามพระนามว่า “ โมกราชินี ” หรือ WRIGHTIA SIRIKITIAE MID. & SUNTISUK สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาต และทรงปลื้มพระทัยมาก ว่า ประเทศไทยได้ค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกชนิดนี้ ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากพบเฉพาะบริเวณเขาหินปูน บริเวณวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ไม่พบที่อื่นอีกเลยในประเทศไทย โมกพันธุ์นี้มีอยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 10 ต้น เป็นไม้ขนาดเล็ก ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ดอกสีขาวกลิ่นหอมอ่อน ขยายพันธืโดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง จะมีการตีพิมพ์ในวารสารพฤกษศาสตร์สากล Thai Forest Bulletin ( Botany) No.29 August 2001 ของกรมป่าไม้ซึ่งจะเผยแพร่ไปทั่วโลก.
นามเฉลิมพระเกียรติอื่น ๆ
สิรินธรวัลลี
|
กล้วยไม้ sirindhornia
|
ปลาบู่มหิดล
|
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
|
ปูพระพี่นาง
|
ปูเจ้าฟ้า
|
ดอกควีนสิริกิติ์
|
ดอกโมกราชินี
|
ปูเจ้าพ่อหลวง
|
ภาพปูราชินี
|
ภูเวียงโกซอรัส
|
|
อ้างอิง
กรุงเทพธุรกิจ 14, 4706 ( 11 ส.ค. 2544 )หน้า 6
รวบรวมข้อมูลโดย : ฝ่ายวารสารและเอกสาร
จำนวนผู้อ่าน : 155