ประเพณีชักพระ
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม
ประวัติความเป็นมาของประเพณีชักพระ พุทธประวัติกล่าวว่า วันที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์สู่มนุษย์โลก หลังจากเสด็จขึ้นไปเทศนา โปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดุสิตตลอดพรรษา คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษาทรงเสด็จลงมาตามบันไดแก้ว, บันไดทอง, บันไดเงิน บันไดทั้ง 3 ทอดลงมายังประตูนครสังกัสสะ เมื่อเสด็จถึงประตูเมืองเป็นเวลาเช้าตรู่ของวันแรม 9 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันออกพรรษาพอดี
วันออกพรรษา
วันสำคัญในแต่ละเดือน
วันออกพรรษา ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษา (นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษาจนถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ครบ 3 เดือนพอดี) หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝน พระสงฆ์จาริกไปแรมคืนที่อื่นได้ เพื่อเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตามความประสงค์ โดยไม่จำเป็นต้องกลับมาค้างแรม ณ วัดที่ตนสังกัด วันออกพรรษานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา หมายถึง การที่พระภิกษุสงฆ์เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันกล่าวตักเตือนได้ ปวารณา เป็นพิธีกรรมของสงฆ์ ที่ท่านทำปวารณาต่อกันในวันออกพรรษา ต่างรูปต่างกล่าวคำปวารณาตามลำดับอาวุโส