เที่ยวอยุธยาเมืองเก่า

ใหม่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือสั้นๆ เรียกว่า “อยุธยา” เมืองแห่งโบราณสถาน สถาปัตยกรรม และความศรัทธา ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทย หลายคนรู้จัก ด้วยประวัติศาสตร์ครั้นเมื่อเป็นราชธานีเก่าแก่กว่า 700 ปี  ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 76 กิโลเมตร

 

เมื่อเอ่ยถึง “อยุธยาเมืองเก่า” ทุกคนต้องนึกถึงวัดวาอารามและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว แถมยังได้ความสบายใจและได้ความเป็นสิริมงคลกลับมาที่บ้านอีกด้วย เพราะที่นี่มีวัดและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ทั้งหมดกว่า 400 แห่ง มีความเป็นมาและความโดดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น วันหน้าพระเมรุ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนันเชิงวรวิหาร  วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นต้น


วัดพระศรีสรรเพชญ์

ศรี
วัดพระศรีสรรเพชญ์
ที่มา: http://pirun.ku.ac.th/~b521070125/page2.html

 

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา มีฐานะเป็นวัดส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐาน เป็นวัดพุทธาวาสที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาเพื่อประกอบพิธีสำคัญต่างๆ ของบ้านเมือง บริเวณใจกลางสุด มีพระเจดีย์ขนาดใหญ่ 3 องค์ สลับระหว่างกลางแต่ละองค์ด้วยมณฑปอีก 3 หลัง ปลายทิศตะวันตกของพระเจดีย์องค์สุดท้ายมีฐานของพระวิหารจัตุรมุข โดยตรงกลางมีเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิ ส่วนมุขทั้งสี่ด้านเชื่อว่าเคยมีพระพุทธรูปนั่ง ยืน นอน และเดิน ด้านทิศตะวันออกต่อกับเจดีย์องค์แรกเป็นวิหารสำคัญที่สุด เพราะบริเวณด้านท้าย ซึ่งเรียกว่า ท้ายจระนำ ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์องค์ต่างๆ เปรียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพฯ ปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐปูนและเจดีย์สามองค์ที่ตั้งตระหง่านเป็นจุดเด่น แต่ยังคงเป็นจุดที่ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ และเมื่อได้ลองจินตนาการดูก็จะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และความงดงามของกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่ยังเป็นราชธานี

วัดใหญ่ชัยมงคล

เจดีย์
เจดีย์ชัยมงคล
ที่มา : http://beerbitter.weebly.com/
วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดใหญ่ชัยมงคล
ที่มา: http://m.donmueangairportthai.com

เดิมชื่อ วัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ เจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหนือมังกะยอชวา  พระมหาอุปราชของหงสาวดี และวิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก

วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดพนัญเชิงวรวิหาร
วัดพนัญเชิง
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/วัดพนัญเชิง

วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย มีพระพุทธรูปนั่งสมัยอยุธยาตอนต้นที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นที่เคารพสักการะของชาวอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง ภายในวัดพนัญเชิงยังจะพบ ตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ก่อสร้างเป็นตึกแบบจีนเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมากในเครื่องแต่งกายแบบจีน ชาวจีนเรียกว่า “จูแซเนี๊ย” เป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนทั่วไป

การเดินทาง 

ในปัจจุบันการคมนาคมขนส่งได้มีการพัฒนาจากอดีตไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ และการขนส่งทางอากาศ มีความสะดวก สบาย และรวดเร็วต่อการเดินทางมากขึ้น ดังนั้นจากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้

ทางรถยนต์รูปรถ
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทางเรือmotorboat-294068__180

ปัจจุบันเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก เพราะนอกจากจะได้ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาที่ประเทศไทยมีการค้าขายกับชาวต่างชาติ โดยเรือสำเภาต่างประเทศที่สัญจรในลำน้ำเจ้าพระยาในอดีต

บริการเรือนำเที่ยวจากกรุงเทพฯ ไปพระนครศรีอยุธยามีดังนี้
1. เรือมโนราห์ 2 ออกจากท่าโรงแรมแมริออท รีสอร์ทแอนด์สปา ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน แวะเที่ยวชมตั้งแต่กรุงเทพฯ วัดอรุณฯ พิพิธภัณฑ์เรือ ผ่านเกาะเกร็ด นนทบุรี วัดปทุมคงคา แวะวัดต่างๆ ในพระนครศรีอยุธยา บางปะอิน โทร. 0 2476 0021- 2
2. เรือมิตรเจ้าพระยา เรือออกจากท่าช้างเวลา 08. 00 น. ทุกวันอาทิตย์ แวะศูนย์ศิลปาชีพบางไทร บางปะอิน ขากลับแวะวัดเฉลิมพระเกียรติ และกลับถึงกรุงเทพฯ เวลา 18.00 น. อัตราค่าโดยสารสำหรับผู้ใหญ่ 390 บาท เด็ก 300 บาท โทร 0 2623 6196, 0 2225 6179

หมายเหตุ: อัตราค่าโดยสารขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคาน้ำมัน

ทางรถโดยสารประจำทางbus

กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รถออกจากสถานีขนส่ง สายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต 2) ทุกวัน วันละหลายเที่ยว รถธรรมดาและรถปรับอากาศ

ทางรถตู้ air22

จากกรุงเทพฯ ไปอยุธยา มีบริการรถตู้ตรงบริเวณอนุสาวรีย์และตรงข้ามโรบินสันรังสิต
ทางรถไฟ รถไฟ

การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีบริการทุกวัน ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยาและอำเภอภาชี แล้วรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี

นอกจากนี้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเมืองเก่าแก่ของประเทศไทย ที่มี วัด ตลาดน้ำ เมืองโบราณมากมาย ที่น่าสนใจและมีความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังมี ตลาดน้ำต่างๆ เช่น ตลาดน้ำอโยธา ตลาดน้ำทุ่งบัวชม มีของอร่อยน่ารับประทาน รวมไปถึงของฝากหรือของที่ระลึกอีกด้วย และยังสามารถท่องเที่ยวทางน้ำเลียบชายฝั่งรอบเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา โดยการเช่าเหมาเรือหางยาวได้ที่ท่าน้ำหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาและเส้นทาง

บรรณานุกรม

นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์. (2551). เที่ยวเมืองไทยกับไกด์บุก. (พิมพ์ครั้งที่2).
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พงไพร. (2553). เที่ยวกรุงเก่าเล่าเรื่องวัด. กรุงเทพฯ : ปราชญ์.

ตะลอนเที่ยวทั่วไทย ทัวร์ออนไทยดอทคอม. (ม.ป.ป.). วัดพนัญเชิงวรวิหาร. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559,
จาก http://www.touronthai.com/วัดพนัญเชิง-28002001.html

สถานที่ท่องเที่ยว. (2546-2559). วัดใหญ่ชัยมงคล. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559,
จาก http://thai.tourismthailand.org/สถานที่ท่องเที่ยว/วัดใหญ่ชัยมงคล–12

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559, จาก http://www.ayutthaya.go.th/travel-1/temple.html

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ม.ป.ป.). การเดินทางมาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2559, จาก http://www.ayutthaya.go.th/travel-1/Travelayu.html

สถาบันอยุธยาศึกษา. (2559). วัดพระศรีสรรเพชญ์. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2559, จาก http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/202/116/

สนุกดอทคอม. (2556,มิถุนายน 7). 10 สถานที่ฮอตสุดๆ เมืองมรดกโลกอยุธยา ห้ามพลาด!.
ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559, จาก http://travel.sanook.com/1390156/

ภาพประกอบ

วัดพระศรีสรรเพชญ์. (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559, จาก
http://pirun.ku.ac.th/~b521070125/page2.html

วิกิพีเดีย. (ม.ป.ป.). วัดพนัญเชิง. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559,
จาก http://th.wikipedia.org/wiki/วัดพนัญเชิง

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในประเทศไทย. (2558, สิงหาคม 10). วัดใหญ่ชัยมงคล.
ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559, จาก http://m.donmueangairportthai.com/th/popular-destinations/1705/wat-yai-chai-mongkhon-phra-nakhon-si-ayutthaya

Beer..Bitter. (ม.ป.ป.). เจดีย์ชัยมงคล. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559,
จาก http://beerbitter.weebly.com/36233633360436513627359736563594363336183617359135883621.html

Maxman. (2556, พฤศจิกายน 13). เที่ยวอยุธยา เรียนรู้ 9 วัด ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2559, จาก http://travel.8888.in.th/เที่ยวอยุธยา-เรียนรู้-9-วัด-ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน/

Pixabay. (ม.ป.ป.). การ์ตูนรูปเรือ. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2559, จาก https://pixabay.com/en/motorboat-speedboat-boat-ship-294068/

เรียบเรียงโดย ศุภิสรา คูสมบูรณ์ทรัพย์ นักศึกษาฝึกงาน ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภาคการศึกษาที่ 2/2558