“โนรา” หรือ “มโนราห์” เป็นมหรสพศิลปะการร่ายรำทางภาคใต้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิลปะวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบทอดต่อกันมา ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน โนราได้รับความนิยมอย่างกว้างขว้างเกือบทุกท้องถิ่น บ่งบอกถึงการแสดงศิลปะ วัฒนธรรมทางภาคใต้ ความเป็นเอกลักษณ์ จากรุ่นบรรพบุรุษ สู่รุ่นลูก รุ่นหลาน ที่กำลังจะสูญหายไปกับยุคสมัยใหม่ “ลืมแล้วผ้าถุงบ้านเอง”

ศิลปะการแสดง “โนรา” หรือ “มโนราห์” ยังไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัด จากการสันนิษฐาน น่าจะเกิดพร้อมกับโนราโรงครูของภาคใต้ตามตำนานเล่าว่า พระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมืองพัทลุง มีลูกสาว 1 คน ชื่อ นางนวลทองสำลี นางชื่นชอบการร่ายรำเป็นชีวิตจิตใจ จนในคืนหนึ่ง นางฝัน ว่า มีเทพ เทวดามาร่ายรำให้ดู การร่ายรำนั้นรำทั้งหมด 12 ท่า เป็นท่ารำที่สวยงาม

มีเครื่องประโคมดนตรี คือ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และ แตร การประโคมดนตรีลงกับท่ารำเป็นจังหวะ และนางก็ยังจำท่าเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี อยู่มาวันหนึ่งนางเกิดอยากเสวยเกสรดอกบัวในสระหน้าพระราชวัง เมื่อนางได้เสวยเกสรดอกบัวจนหมด หลังจากนั้นนางก็ได้ตั้งท้อง โดยที่มีรู้ว่าชายใดเป็นพ่อของลูกในท้องนาง เรื่องรู้ถึงหูพระยาสายฟ้าฟาด จึงทำให้พระยาสายฟ้าฟาดโกรธหนักมาก ถึงกับคิดที่จะฆ่านางนวลทองสำลีแต่ทำไม่ได้เพราะนางเป็นลูก จึงสั่งลอยแพนางนวลทองสำลี

ลมได้พัดแพไปติดที่เกาะกะชัง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของเกาะใหญ่ในทะเลสาบสงขลา ในปัจจุบัน นางนวลทองสำลีได้อาศัยอยู่ในเกาะศรีกระชังจนคลอดบุตร และได้ตั้งชื่อบุตรว่า เทพสิงขร นางนวลทองสำลีได้สอนให้พระโอรสร่ายรำในท่าเดียวกันกับ เทพ เทวดา ที่เคยมาเข้าฝัน เทพสิงขรฝึกการร่ายรำจนเติบโตและมีผู้กล่าวถึงกันมากมาย ว่ามีท่าร่ายรำที่สวยสดงดงามกว่าใครในแผ่นดิน จนกระทั่งทราบไปถึงพระกันฑ์ของพระยาสายฟ้าฟาด จึงได้ส่งคนมารับไปรำให้ดูในพระราชวัง และเมื่อได้เห็นร่ายรำที่สวยสดงดงาม หน้าตาที่มีความคล้ายกับพระธิดานวลทองสำลี ทำให้พระยาสายฟ้าฟาดรู้ทันที่ว่า เทพสิงขรเป็นพระโอรสของนางนวลทองสำลีที่ถูกลอยแพไปในหลายปีก่อน พระยาสายฟ้าฟาดจึงได้ถอดมงกุฎจากพระเศียร ทรงพระราชทานเทริดให้เทพสิงขรและแต่งตั้งให้เป็น “มโนราห์” ในวังหลวง ทรงพระราชทานชื่อใหม่เป็น “พ่อขุนศรีศรัทธา” ท่านจึงเป็นองค์ประถมโนรา นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


มนต์เสน่ห์ทางศิลปะ วัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และความสวยสดงดงาม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้ดึงดูความสนใจได้เป็นอย่างดี จนบางครั้งเราอาจลืมไปว่า ศิลปะ วัฒนธรรมของเรายังขาดการสานต่อจากรุ่นลูก รุ่นหลาน เช่นเดียวกันกับการร่ายรำโนรา ซึ่งรุ่นลูก รุ่นหลานขาดการปลูกฝักให้รักในศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น รักถิ่นฐานบ้านเกิด เราจงภูมิใจในความเป็นปักษ์ใต้บ้านเรา และพึงบอกกับตัวเองไว้เสมอว่า จงภูมิใจที่เราเกิดในแผ่นดินไทยและจงภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอน ไม่ว่า เหนือ ใต้ อีสาน ออก ตก “ภูมิใจใต้”
ตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง “เทริด”

ภาพยนตร์เรื่อง “เทริด” นำเสนอเรื่องราวที่มาของศิลปะวัฒนธรรมทางภาคใต้เป็นการบอกเล่าถึงต้นกำเนิด “โนรา” ในภาคใต้ วัฒนธรรมท้องถิ่นของแผ่นดิน ทัศนคติของศิลปะที่ต่างความคิด การเปลี่ยนจารีตวัฒนธรรมท้องถิ่นของตายายโนราและบอกเล่าถึงต้นกำเนิด “โนรา” วัฒนธรรมที่รอการผลัดใบ สู่รุ่นลูกรุ่นหลาน งานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของ “เอกชัย ศรีวิชัย”
ตัวอย่าง เทริด (Trailer) ฉาย 19 พฤษภาคม 2559 ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=AtQ-9fu37QE
บรรณานุกรม
ปรีชา นุ่นสุข. (2537). โนรา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อุดม หนูทอง. (2536). โนรา. สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.
โนรายก ชูบัว. (2530). โนรา. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://student.swu.ac.th/hm471010484/
ศาสตร์แห่งครูหมอโนรา. (2557). ประวัติโนรา. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://http://krunora.blogspot.com/p/blog-page_5984.html
ภาพประกอบ
ท่าอากาศยานหาดใหญ่. ภาพทะเลสาบสงขลา. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://hatyaiairportthai.com/th/popular-destinations/
ศาสตร์แห่งครูหมอโนรา. ภาพเครื่องแต่งกายโนรา. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://krunora.blogspot.com/p/blog-page_5844.html
ศาสตร์แห่งครูหมอโนรา. ภาพเครื่องดนตรีโนรา. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://krunora.blogspot.com/p/blog-page_6263.html
culture.skru.ac.th. ภาพโนรา. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://http://culture.skru.ac.th/kongtunnora/2557.html
movie.thaiware.com. ภาพท่ารำ. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://movie.thaiware.com/891-Serd.html
reviewphatthalung.com ภาพยนตร์เรื่องเทริด. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2560, http://www.reviewphatthalung.com/freestyle.php?
วิดีโอประกอบ
ศรีวิชัยโชว์. (2559, พฤษภาคม 7 ). วิดีโอ “ตัวอย่าง เทริด (Trailer) ฉาย 19 พฤษภาคม 2559″ จาก https://www.youtube.com/watch?v=AtQ-9fu37QE
เรียบเรียงโดย กานต์ติมา นราอาสน์ นักศึกษาฝึกงาน ภาควิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาคการศึกษา 2/2559