วันวัณโรคโลก 24 มีนาคม

ภาพผู้ป่วยวัณโรคโลก
ภาพผู้ป่วยวัณโรคโลก

วัณโรคเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่คร่าชีวิตมนุษย์มาช้านานตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ในสมัย 40 – 50 ปีก่อน วัณโรคที่มีคามร้ายแรง และเป็นที่รังเกียจของสังคม เช่นเดียวกับโรคเอดส์ เนื่องจากไม่มียารักษา เมื่อเป็นแล้วมักจะไอเรื้อรังไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร และผอมแห้งตาย อีกทั้งยังแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย นับได้ว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากที่ได้มีการค้นพบตัวยาที่ใช้รักษาได้ผลดี และมีวัคซีนฉีดป้องกัน ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคได้ลดน้อยลงและทำท่าจะห่างหายจากการระบาดของโรคเอดส์ และกลับกลายเป็นเป็นวัณโรคที่มีเชื้อดื้อต่อยารักษา เพราะวัณโรคที่เกิดในผู้ป่วยโรคเอดส์ซึ่งมีร่างกายอ่อนแอ มักจะมีความรุนแรงจนยากที่จะเยียวยาได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลก ด้วยสาเหตุดังกล่าวองค์การอานามัยโลกจึงได้รณรงค์ให้ประเทศต่าง ๆ ควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรคให้สำเร็จ และได้มีการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคอยู่เสมอ

ในปี พ.ศ. 2541 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้มีการประชุม เรื่องวัณโรคที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 24 มีนาคมของทุกปี เป็นวันวัณโรคโลก เพื่อให้ทุกประเทศได้ร่วมกันรณรง์ต่อด้านวัณโรค จากการคาดคะแนขององค์การอนามัยโลก พบว่า แนวโน้มของวัณโรคในอนาคต ในช่วง 10 ปี นับจากปี พ.ศ. 2533 – 2542 จะมีทิศทางเพิ่มขึ้น และวัณโรคจะเป็นโรคติดเชื้อ ที่ก่อให้เกิดปัญหากับประชากรโลกอีกครั้ง เพราะสถิติผู้ป่วยวัณโรคในหลายประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติ ประเทศที่มีปัญหาการแพร่ระบาดของวัณโรคมากที่สุดมี 22 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ บราซิล จีน คองโก เอธิโอเปีย อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน เม็กซิโก พม่า ไนจีเรีย ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย แอฟริกาใต้ ซูดาน แทนซาเนีย ยูกันดา เวียดนาม และ ไทย ผู้เชียวชาญด้านวัณโรคของอังกฤษได้ให้ข้อมุลว่า ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคประมาน 2-3 ล้านคน ในจำนวนนี้จะเป็นเด็กประมาณ 1 แสนคน ถ้าหากยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วคาดว่าในปี พ.ศ. 2563 จะมีผู้ติดเชื้อวัณโรคเพิ่มขึ้นเกือบ 1 พันล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 70 ล้านคน สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2539 มีผู้ป่วยเป็นวัณโรคประมาณ 8 หมื่นคน และในปี พ.ศ. 2534 ผู้ป่วยลดลงเหลือ 4 หมื่นคน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 – 2536 ได้มีการแพร่ระบาดของโรคเอด์ไปทั่วประเทศ ทำให้จำนวนผู้ป่วยเป็นวัณโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประมาณปีละ 2% และข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นปีละ 5 หมื่นคน และในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อประมาณ 2 หมื่น 5 พันคน การแพร่เชื้อระบาดอย่ารวดเร็วของวัณโรค ทำให้โรคนี้กลายเป็น โรคติดต่อเชื้อที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าโรคเอดส์ ดังนั้นทุกประเทศจึงได้ร่วมกันรณรงค์ เพื่อกำจัดโรคนี้ให้หมดไปโดยเร็ว และเร่งไห้ความรู้กับประชาชนทุกรูปแบบ เพื่อป้องกันไม่ไห้มีผู้ติดเชื้อวัณโรครุ่นใหม่อีกต่อไป


บรรณานุกรม
วรนุช อุษณกร. (2543). ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ภาพประกอบ
http://www.thaihealth.or.th/content.php?SystemModuleKey=MainContent&id=2443

ข้อมูลโดย : กลุ่มนักศึกษาฝึกงาน งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด