มองลึก นึกไกล ใจกว้าง เป็นหนังสือธรรมะสำหรับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เขียนโดย ว.วชิรเมธี ภายในตัวเล่มเต็มไปด้วยสาระธรรม เกี่ยวข้องกับประเด็นทางโลกอันวุ่ยวายสับสนของสังคมไทย ยุค 4-5 ปีที่ผ่านมาโดยตรง โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งท่าน ว.วชิรเมธี ได้ให้สติ พร้อมทั้งยกธรรมะของพระพุทธเจ้ามาอธิบาย เพื่อแยกผิดชอบชั่วดีได้ด้วยตนเอง
ตัวอย่างเช่น “มองลึก คือ เวลามองอะไร อย่ามองแค่ปรากฏการณ์ อย่ามองภาพลักษณ์ภายนอก ที่เรามองกันอย่างฉาบฉวย แล้วก็คิดเอาเองว่า สิ่งนั้นเป็นความจริงสูงสุดแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ อย่าเชื่อในสิ่งที่ตาเห็น เพราะสิ่งสำคัญไม่อาจเห็นด้วยตา” นี่คือมองลึก ส่วน “นึกไกล” และ “ใจกว้าง” ทำอย่างไร สามารถค้นหาได้จากหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง: มองลึก นึกไกล ใจกว้าง
ผู้แต่ง: ว.วชิรเมธี
สถานที่: ชั้น 3 อาคาร 1
สารบัญ
- ภาค ๑ ธรรมะกับการมองโลก หน้า ๑๑
- น้ำทุกหยดมีต้นน้ำ หน้า ๑๓
- มองลึก : จากสามเณรเป็นราชบัณฑิต หน้า ๑๙
- …
- ภาค ๒ ธรรมะกับเศรษฐกิจ หน้า ๕๑
- แนวคิดเตือนใจเตรียมไว้รับมือเศรษฐกิจ หน้า ๕๓
- ความทุกข์ ๓ ระดับ : ไม่มี ไม่พอ และไม่เท่า หน้า ๖๓
- …
- ภาค ๓ ธรรมะกับสันติภาพโลก หน้า ๘๗
- ฝ่าความมืดด้วยแสงไฟ ฝ่าการเมืองไทยด้วยแสงธรรม หน้า ๘๙
- การเมืองวิกฤต เศรษฐกิจวิกล คนวิวาท ชาติวิโยค หน้า ๙๕
- …
- ภาค ๔ ปุจฉา – วิสัชนา หน้า ๑๔๗
- ๑. ช่วยเหลือผู้อื่น แต่ได้รับคำติเตียนทำอย่างไร หน้า ๑๔๙
- ๒. นำสัตว์มาทดลอง รู้ว่าบาป แต่ต้องทำเพราะหน้าที่ แก้อย่างไร หน้า ๑๕๐
- …
- ๕. อะไรคือหลักกำหนดว่ายังไม่พอ หรือพอแล้ว หน้า ๑๕๘
- เกี่ยวกับผู้เขียน หน้า ๑๖๒