เรื่องราวของคนและชุมชนลุ่มน้ำในอยุธยา ซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมหนึ่งที่เป็นบ่อเกิดของวิถีไทย ข้อมูลและภาพในหนังสือได้จากการเดินทางสำรวจ และเก็บข้อมูลในชุมชนลุ่มน้ำตามเส้นทางแม่น้ำสายหลัก ที่เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของคนอยุธยา ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย รวมทั้งตามเครือข่ายเส้นทางคลองที่เป็นเครือข่ายแม่น้ำสายหลัก โดยใช้เวลาในการรวมรวมข้อมูล ตั้งแต่ปี 2538 – 2539
ชื่อเรื่อง: ชีวิตชุมชนริมน้ำอยุธยา มรดกไทย มรดกโลก
คณะผู้เขียน: เทพมนตรี ลิมปพยอม, กรรณิการ์ สาตรปรุง, ณรงค์ อาจสมิติ, ปิยะ มณีวงศ์, วีรพงศ์ มีสถาน, เยาวนุช เวศน์ภาดา
สถานที่: ชั้น 3 อาคาร 3
สารบัญ
- ๑ นครแห่งธารา อยุธยา รากฐานวิถีไทย หลังสินกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี-ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พื้นชีวิตอยุธยา สนธิสัญญาเบาริ่ง-มณฑลกรุงเก่า หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ อยุธยามรดกโลก กับกระแสการเปลี่ยนแปลงแห่งสมัย หน้า ๑๑
- ๒ ชีวิตชีวาของชุมชนชาวน้ำ หลากหลายเชื้อชาติ มหรสพและการละเล่นพื้นบ้าน วิถีชาวน้ำ ชีวิตชาวเรือ ชาวน้ำ หน้า ๗๕
- ๓ ภูมิปัญญาสาแหรกวัฒนธรรม เรือ ศาสตร์และศิลป์ : จินตนาการบนสายน้ำ ประมงลุ่มน้ำ คุณค่าชีวิตพึ่งพาตนเอง ข้าวปลาอาหาร ปรุงธรรมชาติ แต่งวัฒนธรรม ปลาตะเพียนสาน หัตถศิลป์แห่งความอุดมของแผ่นดิน เรือนไทยอยุธยา รู้อยู่ รู้ใช้ชีวิต ชุมชนสาคลี ความรู้อยู่ที่ชุมชน หน้า ๑๗๑
- ๔ สายใยวัฒนธรรม ลุ่มน้ำลำคลอง เขตเกาะเมือง แหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน ย่านช่างฝีมือ เขตด้านทิศตะวันออก ย่านอาหารของเมือง เขตด้านทิศเหนือ ชุมทางแม่น้ำ แหล่งหัตถกรรม เขตด้านทิศตะวันตก อู่ข้าวอู่น้ำเมืองกรุงเก่า เขตด้านทิศใต้ แหล่งชุมชนหลากเชื้อชาติ หน้า ๒๑๙
- บรรณานุกรม หน้า ๒๓๒
รวบรวมข้อมูลโดย: ฝ่ายบริการช่วยการค้นคว้าวิจัยและบริการพิเศษ