วันศิลปินแห่งชาติ 24 กุมภาพันธ์

วันศิลปินแห่งชาติ 24 กุมภาพันธ์
ความเป็นมา

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เริ่มจัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ด้วยพิจารณาเห็นว่าศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นมงคลล้ำค่าของแผ่นดินนั้น สมควรได้รับการยกย่องส่งเสริม สนับสนุนให้มีโอกาสใช้ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าไว้เป็นสมบัติของสาธารณชน และควรได้รับการอุปถัมภ์ช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี โดยได้มีการกำหนดรางวัลรวมถึงคุณสมบัติต่างๆ ของศิลปินแห่งชาติซึ่งศิลปินแห่งชาติได้กำหนดไว้ 3 สาขา ได้แก่ สาขาทัศนศิลป์ ทัศนศิลป์ เป็นคำที่ใช้เทียบคำ (Visual Art) ซึ่งหมายถึงศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติ หรือสามมิติก็ได้โดยสามารถแบ่งได้เป็น 8 สาขา ได้แก่

  1. จิตรกรรม
  2. ประติมากรรม
  3. ภาพพิมพ์
  4. ภาพถ่าย
  5. ภาพวาด
  6. การออกแบบ
  7. สื่อประสม
  8. สถาปัตยกรรม

สาขาวรรณศิลป์ วรรณศิลป์เป็นคำที่ใช้เทียบคำ (Literature) ซึ่งหมายถึงบทประพันธ์ที่ปลุกมโนคิด (imagination) ของผู้อ่านทำให้เกิดจินตนาการ ความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ตามเจตนารมของผู้ประพันธ์ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของวรรณศิลป์ว่า วรรณศิลป์ น.ศิลปะในการแต่งหนังสือ, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์,วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับการยกย่อง ว่าแต่งดี วรรณศิลป์ได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร

สาขาศิลปะการแสดง ศิลปะการแสดง เป็นคำที่ใช้เทียบคำ Perferming Art หมายถึง ศิลปะที่มีการแสดงซึ่งเป็นได้ทั้งจิตรศิลป์ (Fine Art) ประยุกต์ (Applied Art) หลักเกณฑ์การให้สวัสดิการแก่ศิลปินและผู้มีงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมไทยกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม คือ

กลุ่มที่ 1 ศิลปินแห่งชาติ

  1. ค่าครองชีพรายเดือนสำหรับศิลปินแห่งชาติทุกคนๆ ละ 6,000 บาทต่อเดือน
  2. ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบราชการ
  3. ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติภัยและสาธารณภัยเท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 5,000 บาท
  4. ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 12,000 บาท

กลุ่มที่ 2 ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม

  1. ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบราชการ
  2. ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติภัยและสาธารณภัย เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 3,000 บาทต่อครั้ง
  3. ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 7,000 บาท

กลุ่มที่ 3 ศิลปินอื่นที่นอกจากกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2

การช่วยเหลือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการดำเนินงานกองทุนศิลปินเป็นราย ๆ ไป ตามควรแก่กรณี

ศิลปินแห่งชาติ 4 ท่านแรกที่ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 ได้แก่

  1. หม่อมราชวงค์คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
  2. ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงค์เสนี ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์
  3. นายเฟื้อ หริรักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์
  4. นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย

อ้างอิง
http://www.tungsong.com/

ภาพประกอบ

http://www.thai-d.com/Siam-China/hcu/artday.htm

ข้อมูลโดย : กลุ่มนักศึกษาฝึกงาน งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด