เครื่องเบญจรงค์
All Posts
เครื่องเบญจรงค์ เป็นงานหัตถศิลปล้ำค่า ที่มีความสวยงามแสดงถึงวิถีวัฒนธรรม รสนิยม และเอกลักษณ์ของไทย รัฐบาลจึงเลือกนำมาเป็นภาชนะสำหรับจัดเลี้ยงอาหารค่ำ ต้อนรับผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเซีย และแปซิฟิค (เอเปค 2003) ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯระหว่างวันที่ 20 – 21 ตุลาคม (พ.ศ. 2546) นี้ นอกจากนี้ยังจัดทำเป็นของที่ระลึกเพื่อมอบให้กับผู้นำประเทศต่าง ๆ อีกด้วย เครื่องเบญจรงค์มีการผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อใด ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
All Posts
ปีนี้ (พ.ศ. 2546) ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วย “ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เอเซีย – แปซิฟิค 2003” (เอเปค) ในการนี้รัฐบาลมอบหมายให้กองทัพเรือจัดแสดงกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมเอเปคจากชาติต่าง ๆ ได้ชื่นชมกับความงามอันยิ่งใหญ่ตระการตา และทรงคุณค่าทางศิลปะของกระบวนเรือ ซึ่งไม่อาจหาชมได้จากประเทศอื่น ๆ และนับเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เรือกระบวนพยุหยาตรามาจัดแสดง โดยที่มิใช่งานพระราชพิธี บทความนี้จึงใคร่ขอนำเสนอประวัติและความเป็นมาของกระบวนเรือดังกล่าวให้ทราบพอสังเขป
เทศกาลกินเจ
All Posts
ประวัติของเทศกาลกินเจมีหลายตำนาน บางตำนานเล่าว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการไว้ทุกข์ 10 วันให้ ชาวฮั่น 9 คน ที่ได้ทำการปฏิวัติต่อต้านพวกแมนจู บางตำนานเล่าว่าเป็นการระลึกถึงกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “หงี่หั่วท้วง” ที่พลีชีพ ต่อสู้ชาวแมนจูโดยการนุ่งขาว ห่มขาวและไม่รับประทานเนื้อสัตว์ บางตำนานเล่าว่าเป็นการบูชากษัตริย์เป๊งของราชวงศ์ช้อง ของมลฑลฮกเกี้ยนและเผยแพร่เข้ามาประเทศไทยโดยชาวแต้จิ๋วที่อพยพจากมณฑลฮกเกี้ยน นอกจากนี้มีบางกระแสเชื่อว่าการกินเจเป็นการสักการะพระพุทธเจ้าในอดีต 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 โดยการตั้งปณิธานในการกินเจ งดเว้นอาหารคาว เพื่อเป็นการสมาทานศีล 2 ประการ คือ เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตของตน และเว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเลือดเนื้อของตน
หนังสืออนุสรณ์งานศพ
All Posts
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ใน “กฤษณาสอนน้องคำฉันท์” บทนี้ ถือเป็นบทพระนิพน์ธ์ที่มีความหมายเตือนสติมนุษย์ทุกผู้ทุกนามถึงสัจจธรรมแห่งการดำรงชีวิต โดยให้ระลึกไว้เสมอว่าเมื่อมีลมหายใจอยู่นั้นให้เพียรกระทำแต่ความดี และคุณประโยชน์ให้กับสังคมเพื่อคนที่อยู่ข้างหลังจะได้จดจำ จารึกถึงคุณงามความดี และคุณประโยชน์ที่ได้กระทำไว้เมื่ออำลาจากโลกนี้ไปแล้ว
รางวัลศรีบูรพาประจำปีพุทธศักราช 2546
All Posts
การมอบรางวัล ศรีบูรพา กำหนดเป็นประเพณีในวันนักเขียน 5 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งจัดโดย สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย การได้รับรางวัล ศรีบูรพา ถือเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ของนักเขียนทุกคน เพราะ “ศรีบูรพา” คือนามปากกาของ “นายกุหลาบ สายประดิษฐ์” นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้มีอุดมการณ์อันมั่นคง ต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนจนถูกจับจำคุกหลายปีในข้อหากบฎ และสุดท้ายก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตในประเทศไทยได้ ต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศจีนจนเสียชีวิตที่นั่น และเมื่อนำอัฐิกลับมาบำเพ็ญกุศลในประเทศไทย มีผู้มาร่วมทำบุญจำนวนมาก ทำให้มีเงินเหลือจำนวนหนึ่ง “นางชนิด สายประดิษฐ์” ภรรยาร่วมกับนายสุวัฒน์ วรดิลก นำเงินดังกล่าวตั้งเป็นกองทุนศรีบูรพา นำดอกเบี้ยที่ได้รับมาเป็นรางวัลศรีบูรพามอบให้แก่บุคคลผู้ทำงานในแวดวงวรรณกรรมของแต่ละปี