ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: ความเป็นมาของอำเภอสำคัญในประวัติศาสตร์ภาคกลาง


หนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นฯ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นราชสักการะเนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเจริญพระชมน์พรรษาครบ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เป็น 4 เล่ม แยกตามรายภาค เนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่มจะแบ่งออกเป็น 5 ตอน ได้แก่ 1) สภาพทั่วไป 2) ประวัติความเป็นมาของอำเภอ 3) ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม 4) สถานที่สำคัญ และ 5) การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เนื้อหาส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของอำเภอสำคัญๆ รวม 40 อำเภอ จากรายงานการวิจัยที่ทางประทรวงมหาดไทยได้ร่วมวิจัยกับรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อีกส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลที่ทางคณะผู้วิจัยของสถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้วิจัยเพิ่มเติมในลักษณะของ “ประวัติศาสตร์บอกเล่า” ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ในท้องถิ่นเป็นจำนวนกว่า 400 คน

ชื่อเรื่อง: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ความเป็นมาของอำเภอสำคัญในประวัติศาสตร์ภาคกลาง

จัดทำโดย: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

สถานที่: ชั้น 3 อาคาร 3

สารบัญ

  • คำปรารภ คำนำ  อารัมภบท บทนำ หน้า ก
  • สภาพและสถานการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมของอำเภอในปัจจุบัน  หน้า ง
  • การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  หน้า ช
  • ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: ความเป็นมาของอำเภอสำคัญในประวัติศาสตร์ (ภาคกลาง) หน้า ๑
  • ภาคผนวก หน้า ๑๔๗
  • คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๔๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ คำสั่งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ที่ ๓/๒๕๔๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ  หน้า ๑๕๒
  • รายนามผู้ให้ข้อมูล หน้า ๑๕๕
  • คณะผู้จัดทำ หน้า ๑๕๗

รวบรวมข้อมูลโดย: ฝ่ายบริการช่วยการค้นคว้าวิจัยและบริการพิเศษ