เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง จากการสัญจรทางน้ำที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นถนน ที่ได้กลายมาเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตและความเจริญของเมืองในยุคใหม่ และมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นตามยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน
สำนักการโยธากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีวิวัฒน์องค์กรมาจากพระราชดำริของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 และเป็นหน่วยงานหลักในการก่อสร้าง ทำนุบำรุงถนนของกรุงเทพฯ จึงทำจดหมายเหตุนี้ขึ้นบอกเล่าถึงความเป็นมา ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องราวที่น่าสนใจในการพัฒนาถนนสายต่างๆ ที่สำคัญในกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจประวัติศาสตร์ ให้ตระหนักถึงคุณค่าและช่วยกันรักษาถนนหนทางในกรุงเทพฯ ที่ยังประโยชน์แก่ลูกหลานจนถึงทุกวันนี้
ชื่อเรื่อง: จดหมายเหตุ เล่าเรื่องถนนเมืองบางกอก
โดย: สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
สถานที่: ชั้น 3 อาคาร 1
สารบัญ เล่ม 1 รัชกาลที่ 4-5
- บทนำ ปูมตำนานถนนเมืองสยาม (จากสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์) หน้า 6
- ภาคที่ 1 ก้าวแรกแห่งการวางรากฐาน โครงข่ายถนนเมืองหลวง หน้า 10
- ภาคที่ 2 พระราชดำริถนน 100 สาย เพื่อพระนครศิวิไลซ์ หน้า 50
- ภาคผนวก หน้า 300
- บรรณานุกรม หน้า 30
สารบัญ เล่ม 2 รัชกาลที่ 6-9
- บทนำ วิวัฒน์งานโยธากับการพัฒนาโครงข่ายถนนเมืองหลวง (จากรัชกาลที่ ๖ ถึงรัชกาลปัจจุบัน) หน้า 6
- ภาคที่ 1 สืบสานโครงข่าย สนองพระราชปณิธานพระพุทธเจ้าหลวง หน้า 8
- ภาคที่ 2 พัฒนาโครงข่าย เชื่อมโยงกรุงเทพฯ และปริมณฑล หน้า 78
- ภาคที่ 3 พัฒนาเส้นทาง เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค หน้า 128
- ภาคที่ 4 เติมเต็มโครงข่าย ตามแนวทางพระราชดำริ หน้า 168
- ภาคผนวก หน้า 304
รวบรวมข้อมูลโดย: หน่วยพัฒนาเว็บไซต์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด