น้ำตาลเทียม แอสพาร์แตม
All Posts
ปัจจุบันแอสพาร์แตมคู่แข่งของซัคคารีน (น้ำตาลเทียมอีกชนิด) กำลังได้รับ ความนิยมในการใช้เป็นน้ำตาลเทียม สำหรับผู้ที่ต้องการความหวาน แต่ไม่ต้องการน้ำตาล เช่น บุคคลที่ต้องการลดความอ้วน แอสพาร์แตมประกอบด้วยกรดอะมิโนอันเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน 2 ตัว คือเฟนนีลอลานิน (phenylalanine) และกรดแอสพาร์ติค (aspartic acid) ที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องแล็บ มีสีขาว ไม่มีกลิ่น มีแต่รสหวาน ไม่มีรสขม หรือรสอื่นเจือปน (แต่ซัคคารีนมีรสขมติดลิ้น) มีความหวานประมาณ 180-200 เท่าของน้ำตาล ทำให้ใช้เพียงเล็กน้อยก็ให้ความหวานเพียงพอ เมื่อกินแอสพาร์แตม ร่างกายย่อย เผาผลาญ และให้พลังงาน 4 คาลอรี่/กรัม เหมือนอาหารโปรตีน จึงไม่พบแอสพาร์แตมในเลือด (ส่วนซัคคารีนจะไม่เผาผลาญ และไม่เปลี่ยนแปลง ต้องขับถ่ายออกทางปัสสาวะ) ข้อจำกัด ปัจจุบัน ยังไม่พบอันตรายจากน้ำตาลเทียมแอสพาร์แตม มีแค่บางคนมึน ปวดศรีษะ หงุดหงิด เหนื่อยอ่อน และนอนไม่หลับ อาการเบาบาง ไม่รุนแรง และไม่บ่อย จึงสัษนิษฐานว่าเป็นอาการแพ้เหมือนคนบางคนแพ้อาหารบางชนิด พอสรุปได้ว่า ไม่มีอันตรายต่อคนปกติ สำหรับคนเป็นโรค phenylketouria (ร่างกายเผาผลาญเฟนนีลอลานินไม่ได้ ) ไม่ควรกินน้ำตาลเทียมชนิดนี้? ? ?ข้อเสีย ?- เก็บไม่ได้นานเกินหนึ่งปี ?- สลายตัวที่อุณหภูมิสูง เมื่อสลายตัวจะหมดรสหวาน จึงใช้ปรุงอาหารที่ต้องผ่านความร้อนสูง เช่น เค้ก คุกกี้ ไม่ได้ แต่ใส่ได้ภายหลังหุง ต้มเสร็จแล้ว และอาหารเย็นลงได้ ที่มา: หนังสือ”เรื่องต้องรู้เพื่อชีวิต เคมีในบ้าน” โดย อรวินท์ โทรกี รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด