เกาลัดคั่วที่เห็นมากแถวเยาวราช มักจะมีเม็ดสีดำเล็กๆ คั่วรวมอยู่ด้วย หลายคนคิดว่าเป็นเมล็ดกาแฟ จริงๆ แล้วไม่ใช่ เจ้าเม็ดสีดำเล็กนั้นคือเม็ดทรายขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เป็นทรายที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือที่เห็นตามตู้ปลาสีออกน้ำตาล พ่อค้าจะนำเอาทรายแห้งใส่ลงไปในกระบะใบใหญ่ พอทรายร้อนระอุได้ที่จนเป็นสีดำ ก็จะนำเอาลูกเกาลัดใส่ลงไป บางร้านเติมน้ำตาลทรายคั่วรวมกันให้ได้รสหวาน บางเจ้าเพิ่มกลิ่นหอมด้วยการใส่เมล็ดกาแฟคั่วรวมไป เหตุผลที่ต้องใช้เม็ดทราย ก็เพราะเม็ดทรายช่วยเก็บความร้อนไว้ได้ ซึ่งดีนักสำหรับการทำให้เกาลัดสุกถึงเนื้อผลด้านใน เพราะหากสังเกตกันดีๆ เนื้อผลของเกาลัดนั้นจะไม่ติดกับเปลือก ดังนั้นการใช้ทรายที่ร้อนระอุตลอดเวลาจะช่วยให้เนื้อเกาลัดค่อยๆ สุก แต่ต้องหมั่นคนเพื่อไม่ให้เกาลัดไหม้ ซึ่งจะคั่วกันนานราว 30-40 นาที เม็ดทรายนั้นใช้ได้นานกว่า 1 เดือน เรียกว่าคั่วเกาลัดได้หลายกระทะจนทรายที่เป็นเม็ดเริ่มป่นเป็นผงนั่นแหล่ะจึงจะเปลี่ยนไปใช้เม็ดทรายชุดใหม่ ที่มา : นิตยสาร ครัว krua vol. 13 no. 149 November 2006 รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
Tag: ทำอาหาร
เวลาเอาเกลือละลายน้ำ ถ้าจะให้เกลือละลายเร็วเราจะต้อง ใช้น้ำร้อน เกลือจะละลายเร็ว เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ก็เพราะเกลือต้องการความร้อน สำหรับช่วยในการละลายตัว ให้หมดโดยเร็วนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเอาน้ำแข็งใส่ลงไปในเกลือ เกลือที่ต้องการละลายตัว ไม่สามารถจะหาความร้อนที่ไหนมาช่วยละลายได้ จึงดึงความร้อนจากน้ำแข็ง ซึ่งปนลงไปนั่นเอง น้ำแข็งซึ่งเย็นอยู่แล้วจึงยิ่งเย็นลงไปอีก และเย็นลงเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลเช่นนี้ตัวไอศกรีมซึ่งอยู่ในถังและมีสภาพเป็นของเหลวจึงถูกดึงความร้อนออกไป เพื่อไปช่วยเกลือและน้ำแข็งนอกถัง ของเหลวในถังจึงเย็นลงตามลำดับจนกระทั่งจับตัวกันแข็งขึ้น ที่มา: วิทยาศาสตร์ 5 นาที ชุดที่ 2 โดย อำนาจ เจริญศิลป์ ภาพประกอบ: allybally4b (กุมภาพันธ์ 2562). ไอศครีม. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2562, จาก https://pixabay.com/images/id-3932597/. รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
ถ้าใช้น้ำเปล่าผสมลงในไข่ตุ๋น จะทำให้เนื้อไข่ตุ๋นมีรูพรุน เพราะมีน้ำและอากาศเข้าไปแทรกอยู่มาก การจะทำให้เนื้อไข่ตุ๋นเป็นเนื้อเดียวกัน ต้องใช้น้ำข้าวที่เราหุงข้าวผสมลงไปแทนน้ำ เนื้อไข่จะเป็นเนื้อเดียวกัน (อร่อยมาก) ข้อควรระวัง..!! น้ำข้าวไม่ใช่น้ำซาวข้าวนะคะที่มา: หนังสือความรู้คู่บ้าน โดย พรรณิภา ต่วนโสภณ รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด