ชีวิตยุคไอที การใช้งานคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัย เพื่อทำงาน หรือติดตามข่าวสาร จำเป็นต้องใช้สายตาจ้องมองเป็นเวลานาน การดูแลสุขภาพดวงตาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เทคนิคเพื่อบริหารดวงตาให้มีสุขภาพดีนั้นมีหลากหลาย โยคะมีการบริหารดวงตา โดยต้องถอดแว่นหรือคอนแทคเลนส์ออกก่อน แล้วทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
Tag: ดูแลดวงตา
นอกจากรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอสำหรับการดูแลดวงตาของคุณให้สวยใสอยู่เสมอ แต่คุณต้องใส่ใจและถนอมดวงตาของคุณไว้ เพื่อให้อยู่กับคุณไปนานๆ โดยการใช้สายตาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนี้ อ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และถือหนังสือห่างจากดวงตา ประมาณ 1 ฟุต ไม่ควรอ่านหนังสือเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ ควรพักสายตาประมาณ 30-45 นาที เมื่อคุณรู้สึกปวดเมื่อยตา ดูโทรทัศน์ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และควรนั่งห่างจากจอโทรทัศน์ ประมาณ 5 เท่าของขนาดโทรทัศน์ ไม่ควรจ้องมองพระอาทิตย์เป็นเวลานานๆ ควรสวมแว่นตาทุกครั้งที่ต้องออกไปสัมผัสกับแสงแดด หรือขับขี่รถยนตร์ หลีกเลี่ยงการมองหรือจ้องคลื่นแม่เหล็กจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เตาไมโครเวฟ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ เวลาที่เศษผงเข้าตา ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด แต่ให้คุณล้างตาด้วยน้ำสะอาด หรือหยอดน้ำยาล้างตาแทน ทุกครั้งที่ลงเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ ควรสวมใส่แว่นตาว่ายน้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันคลอรีนหรือเศษผงเข้าตา ควรระมัดระวังการละเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตา เมื่อรู้สึกปวดเมื่อยตา ไม่ควรกดนวดดวงตา หรือกรอกดวงตาไปมา แต่ควรหลับตาประมาณ 20 -30 นาที ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้า แว่นตา ยาหยอดตา ร่วมกับผู้อื่น คุณควรปิดไฟนอน เพื่อเป็นการพักสายตา และยังช่วยประหยัดไฟได้อีกด้วย ในกรณีที่สารเคมีเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาด แล้วไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน คุณควรไปตรวจวัดสายตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละครั้ง ที่มา : คอลัมน์ Food For Health นิตยสาร ใกล้หมอ health well – being ปีที่ 30 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2549 หน้า 102 รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
การบริหารดวงตา นอกจากลดสายตาสั้น กันสายตายาว ไม่ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ แล้ว ยังช่วยลด และป้องกันอาการบกพร่องที่จอรับภาพได้อีกด้วย (อาการบกพร่องที่จอรับภาพ คือรู้สึกตามีแสงแปลบปลาบ หรือเห็นหิ่งห้อยวิ่งไปมา หรือเห็นเป็นแสงสว่างวงๆ วาบๆ บ่อยๆ อาการเหล่านี้หากปล่อยไว้ จอรับภาพอาจพิการ หรือถึงกับมองไม่เห็นได้) ทำสม่ำเสมอทุกๆ วันช่วยให้เลือดมาเลี้ยงจอรับภาพมากขึ้น อาการบกพร่องจะน้อยลง หรืออาจหายไปได้ ส่วนคนที่สายตาปกติดีอยู่แล้ว การบริหารนี้ก็ช่วยให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรง นัยย์ตาสดใส ท่าที่ 1 กลอกลูกตามองไปทางซ้ายสุด และมองมาทางขวาสุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 ครั้ง ท่าที่ 2 เหลือบลูกตาขึ้นมองเพดาน โดยวางหน้าตรง ไม่แหงน และเหลือบตาลงล่างสุดมองพื้น ทำขึ้นๆลงๆ 10 ครั้ง ท่าที่ 3 เหลือบตามองขึ้นไปที่ปลายคิ้วซ้าย และลากเหลือบลงมาที่แก้มขวา ทำ 10 ครั้ง ท่าที่ 4 เหลือบตามองขึ้นไปที่ปลายคิ้วขวา และลากตาเหลือบลงมาที่แก้มซ้าย ท่าที่ 5 กลอกลูกตาหมุนไปเป็นวงกลมซ้าย-ขวา ทำข้างละ 10 ครั้ง ท่าที่ 6 เป็นการเพ่งลูกตาเพื่อบริหารกล้ามเนื้อทั้ง 6 มัดพร้อมกัน โดยการนั่งบนเก้าอี้ วัดความสูงจากยอดศรีษะตนเอง ถึงก้นที่นั่งบนเก้าอี้ เช่น วัดได้ 70 ซ.ม. เอาความยาว 70 ซ.ม. วัดจากลูกตาไปที่กำแพงในท่านั่งเก้าอี้ แล้วจุดหรือทำศัญลักษณ์ไว้ที่กำแพงระดับเดียวกับลูกตาในขณะที่นั่งเก้าอี้นั้น จากนั้นค่อยๆเพ่งมองจุดหรือสัญลักษณ์นั้นห้ามกะพริบตา จนรู้สึกแสบตา น้ำตาเอ่อออกมาจึงค่อยกะพริบตา ทำหลายๆครั้ง จะรู้สึกว่าสายตามองชัดเจนขึ้น ท่าที่ 7 หลับตาทั้งสองข้าง เอานิ้วชี้ทั้งสองข้างวางเหนือคิ้วแต่ละข้าง แล้วค่อยๆกดนวดคิ้วและรอบดวงตา เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่อยู่รอบนอกของตา ที่มา:?นิตยสาร ชีวจิต ปีที่ 4 ฉบับที่ 80 …
มีวิธีง่ายๆที่สามารถทำได้เองไม่ยากเลย ดังนี้ พักดวงตา โดยใช้ใบชาซึ่งมีตัวยาที่จะช่วยให้ดวงตาได้พัก และหล่อเลี้ยงความเย็นเข้าไปได้ ถ้าเป็นใบชาที่ห่อไว้ในผ้าบาง และมีด้ายผูกดึงออกมา ให้อุ่นถุงใบชานั้นแล้วนำมาปิดที่ดวงตาทั้งสองข้าง ในราว 2-3 นาทีจึงเอาออก ตาบวม มีวิธีแก้ไขคือบดมันฝรั่งประมาณ 4 ช้อนชา แล้วประคบบนเปลือกตาและบริเวณรอบๆราว 15 นาที หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็น รอยช้ำใต้หนังตา ชงน้ำชารสเข้มๆสัก 7 ถ้วย แช่แผ่นผ้าขาวลงในถ้วยน้ำชานั้นก่อนนำมาประคบเปลือกตา รอยช้ำนั้นจะค่อยๆหายไป รอยเส้นใต้ขอบตา แช่ผ้าเช็ดหน้าโปร่งบางลงในน้ำชารสเข้มแล้วผึ่งให้หมาดเล็กน้อย ก่อนนำมาลูบไล้บริเวณรอบดวงตาและที่รอยเส้น ประคบไว้ประมาณ 30 นาที แล้วจึงเปิดออก ที่มา: หนังสือความรู้คู่บ้าน โดย พรรณิภา ต่วนโสภณ รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด