จอ LCD (Liquid Crystal Display) ปิ๊ง! จากสารเหลวที่ตกผลึก
All Posts
ในปี ค.ศ. 1888 นายฟรายด์ริช ไรนิตเซอร์ (Friedrich Reinitzer) เป็นนักพฤกษศาสตร์ ชาวออสเตรีย ขณะที่เขาศึกษาสารไขมันจากพืช ชั่วข้ามคืนเท่านั้น เขาพบสารชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายโคเลสเตอรอล อยู่ในสภาวะละลายเป็นของเหลวในภาวะที่มีความร้อน พอเย็นตัวลงก็กลายเป็นสารสีขุ่น และเมื่อเย็นลงอีกก็กลายเป็นสีใส พอเย็นตัวถึงจุดหนึ่ง กลับเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินและตกผลึก ซึ่งเป็นผลึกเหลว นำมาใช้สร้างจอแอลซีดี หน้าปัดนาฬิกาข้อมือแบบดิจิตอล หน้าจอเครื่องคิดเลข หน้าจอเครื่องแฟกซ์ จอคอมพิวเตอร์ จอทีวีที่ติดตั้งในรถยนตร์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ และแม้แต่จอทีวีขนาดใหญ่?ตัวจอเหล่านี้มีคุณสมบัติในการทำงานที่อาศัยการเบี่ยงเบนของแสง สามารถปรับ หรือขยับให้แสงเข้าหน้าปัดจอได้มากน้อยตามต้องการ ผู้ที่นำการค้นพบผลึกเหลวมาพัฒนาขยายผลก็คือ นายจอร์จ ฮีลเมียร์ (George Heilmeier) ในปี ค.ศ. 1963 เริ่มใช้กับหน้าปัดนาฬิกาเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี ค.ศ. 1969 นายเจมส์ เฟอร์กาสัน (James Fergason) ได้นำหน้าปัดแอลซีดีมาพัฒนาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และขยายผลในการใช้สู่จอต่างๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในทุกวันนี้ ที่มา: หนังสือ MK พาปิ๊ง! ไอเดียซิ่ง…ในสิ่งที่ไม่ธรรมดา รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด