24 ก.พ. 2564 โครงการ  I love library “Library Map of the world” เล่าสู่กันฟัง หัวข้อ “ห้องสมุดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากวิสัยทัศน์ สู่แนวปฏิบัติ”

24 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.30 น. งานบริการสารสนเทศ ฝ่ายบริการสารสนเทศ จัดโครงการ I love library “Library Map of the world” เล่าสู่กันฟัง หัวข้อ “ห้องสมุดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากวิสัยทัศน์ สู่แนวปฏิบัติ”  โดย คุณวลัยพร พรเปี่ยมศักดิ์ และคุณสมหฤทัย สุวรรณ พิธีกรดำเนินรายการโดย คุณศรนารายณ์ บุญขวัญ ณ ห้องฝึกอบรม ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภาพนายศรนารายณ์ บุญขวัญ พิธีกรดำเนินรายการโครงการI love library 24 ก.พ. 2564
ภาพคุณศรนารายณ์ บุญขวัญ พิธีกรดำเนินรายการโครงการ I love library  24 ก.พ. 2564
ภาพคุณสมหฤทัย สุวรรณ เล่าสู่กันฟัง เรื่อง ห้องสมุดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากวิสัยทัศน์ สู่แนวปฏิบัติ
ภาพคุณสมหฤทัย สุวรรณ เล่าสู่กันฟัง เรื่อง ห้องสมุดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากวิสัยทัศน์สู่แนวปฏิบัติ
คุณวลัยพร พรเปี่ยมศักดิ์ เรื่อง ห้องสมุดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากวิสัยทัศน์สู่แนวปฏิบัติ
คุณวลัยพร พรเปี่ยมศักดิ์ เล่าสู่กันฟัง  เรื่อง ห้องสมุดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากวิสัยทัศน์สู่แนวปฏิบัติ
ภาพบรรยากาศ เล่าสู่กันฟังฯ ณ ห้องอบรม ชั้น 1 อาคาร 1 24 ก.พ. 2564
ภาพบรรยากาศ เล่าสู่กันฟังฯ ณ ห้องอบรม ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดกลาง 24 ก.พ. 2564

สืบเนื่องจากวันที่ 18 ธันวาคม 2563 สำนักหอสมุดกลางส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการประชุมสามัญ และประชุมวิชาการประจำปี 2563 ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา เรื่อง “ห้องสมุดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากวิสัยทัศน์ สู่แนวปฏิบัติ”  (SDGs from vision to librarian Action)  ณ ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารสำนักงานวิทยาทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยชมรมบรรณรักษ์สถาบันอุดมศึกษา ชมรมบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศนานาชาติ ชมรมผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานวิทยาทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2558 องค์การสหประชาชาติ (United Nations) เสนอวาระการพัฒนาระดับโลก คือ การร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ลงนามรับรองวาระการพัฒนาดังกล่าว โดยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาที่มุ่งมั่นสร้างความเสมอภาค เท่าเทียมและยั่งยืนร่วมกันของมวลหมู่ประชาคมโลก ครอบคลุมทั้งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม โดยมีหลักการสำคัญว่า “จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (no-one left behind)”

ในปี 2558 IFLA (International Federation of Library Associations and Institutions) – สหพันธ์นานาชาติแห่งสถาบันและสมาคมห้องสมุด ได้ให้ความสำคัญต่อเป้าหมายดังกล่าว ตระหนักในบทบาทการดำเนินงาน และกระตุ้นให้สมาชิกห้องสมุดทั่วโลกนำเสนอเรื่องราวของการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านเว็บไซต์ของ IFLA ที่ชื่อว่า “Library Map of the World”

sustrainable development goals 17 goals to transform our world
Sustrainable development goals 17 goals to transform our world ที่มา : https://www.ifla.org/files/assets/hq/topics/libraries-development/documents/access-and-opportunity-for-all.pdf

องค์การสหประชาชาติ (United Nations) กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาสังคมโลกที่จะนำไปใช้ในทศวรรษหน้า 17 ประเด็น คือ

  1. NO POVERTY : การขจัดความยากจนทุกรูปแบบ (No poverty in all its forms everywhere)
  2. ZORO HUNGER : การขจัดความหิวโหย การบรรลุถึงความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture)
  3. GOOD HEALTH AND WELL-BEGING : การมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี
  4. QUALITY EDUCATION: การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียม ทั่วถึงและมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all)
  5. GENDER EQUALITY : การบรรลุความเท่าเทียมกัน ระหว่างเพศ การเพิ่มพลังสตรีและเด็กหญิง การเข้าถึงการ
  6. CLEAN WATER AHD SANITATION : ใช้น้ำสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี (Clean water and sanitation for all)
  7. AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY : การเข้าถึงพลังงานที่มั่นคงและ สะอาด
  8. DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH : การมีงานที่มีคุณค่าเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
  9. INDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTURE : การส่งเสริมอุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้าง พื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  10. REDUCED INEQUALITIES : การลดความเหลือมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
  11. SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES : การตั้งถิ่นฐานและชุมชนอย่างยั่งยืน
  12. RESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTION : การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  13. CLIMATE ACTION : การเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (Urgent action to combat climate change and its impacts)
  14. LIFE BELOW WATER : การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน (Conserving and sustainable utilization of coastal and marine resources)
  15. LIFE ON LAND : การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนบกและ รักษาระบบนิเวศ (Sustainable management of forests, combat desertification)
  16. PEACE, JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONS : การสร้างสังคมสันติสุข ยุติธรรมและมีสถาบันทางสังคมที่มีความเข้มแข็ง
  17. PARTNERSHIPS FOR THE GOALS : การส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในทุกระดับในการบรรลุถึงเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ สมาชิกในชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มาแบ่งปัน บอกเล่าประสบการณ์ ถึงการพัฒนาห้องสมุดของแต่ละมหาวิทยาลัยให้ได้เป้าหมายตาม “Library Map of the world” ดังนี้

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเด็นที่เล่า คือ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่เป้าหมายต้นแบบมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนในทุกมิติ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช สำนักบรรณสารสนเทศ ประเด็นที่เล่า คือ “นนทบุรีศึกษา บทบาทห้องสมุด มสธ. กับการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่
ชุมชนยั่งยืน” โดย คุณวรนุช สุนทรวินิต

มหาวิทยาลัยบูรพา ประเด็นที่เล่า คือ “บริการห้องสมุด เพื่อส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้อย่างยั่งยืน” โดย คุณวันทนา กิติศรีวรพันธุ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ประเด็นที่เล่า คือ “การรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาพลเมืองวิวัฒน์สู่ความยั่งยืน” โดย อาจารย์เกวลี รังษ์สุทธาภรณ์

มหาวิทยาลัยรังสิต ประเด็นที่เล่า คือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต กับ UN SDGs ภายใต้หัวข้อ “ความยั่งยืน บริบทโลก บทบาทเรา” โดย ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ

ช่วงสุดท้ายของการบรรยาย คุณเสาวณีย์ กำเนิดเรือง รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริการสารสนเทศ ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในวันนี้ เนื่องจากเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ซึ่งฝ่ายวิชาการส่งบุคลากรของสำนักหอสมุดกลางเข้าร่วมประชุม โดยมีค่าใช้จ่าย และโครงการ I Love Library นี้ เกิดจากดำริของหัวหน้าฝ่ายฯ ท่านเดิม เมื่อคุณเสาวณีย์ กำเนิดเรือง เข้ามารักษาการและเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีจึงสนับสนุนโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง และทำการปรับปรุงรูปแบบการเชิญผู้เข้าร่วมอบรมใหม่ ส่งผลให้วันนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการมากขึ้น

วิทยากรวันนี้ได้นำความรู้ที่ได้รับจากการไปร่วมประชุมสัมมนามาถ่ายทอดต่อเพื่อนร่วมงานกระจายความรู้ ให้บุคลากรสำนักหอสมุดกลางรู้เท่าทันแนวโน้มของการพัฒนา วิสัยทัศน์ และแนวปฏิบัติการดำเนินงานของ IFLA ได้กำหนดเป้าหมายไว้สำหรับทศวรรษหน้า รวมถึงสมาชิกชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย หลายสถาบันได้ร่วมบอกเล่าประสบการณ์การพัฒนาห้องสมุดของตนเอง ให้ได้ตามเป้าหมายของ IFLA

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
IFLA. (2015,Septemper).  ACCESS AND OPPORTUNITY FOR ALL. https://www.ifla.org/files/assets/hq/topics/libraries-development/documents/access-and-opportunity-for-all.pdf
สยาม อรุณศรมรกต และยงยุทธ วัชรดุลย์. (2016). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย,
11(3), 1-7.

รายงาน : ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาเว็บไซต์ หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด