พระราชสมภพ
จากศิลาจารึก
ทำให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงแต่เพียงคร่าวๆ
ไม่ได้บ่งบอกถึงรายละเอียดชัดเจนนัก
ว่าทรงพระราชสมภพแต่เมื่อปีพระพุทธศักราชใดแน่ชัด
พระองค์ทรงมีพี่น้อง ๕ คน
เป็นชาย ๓ คน เป็นหญิง ๒ คน
พี่ชายคนโตได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเด็ก
และพระองค์ทรงเป็นบุตรชายคนสุดท้องของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับพระนางเสือง
มีท่านผู้รู้หลายท่านที่กล่าวถึงเรื่องศิลาจารึกนี้
โดยส่วนใหญ่ได้แบ่งเรื่องราวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงออกเป็น
๓ ตอน
- ตอนที่ ๑
ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ ถึง ๑๘
เป็นเรื่องพ่อขุนรามคำแหงเล่าประวัติของพระองค์ว่าเป็นใคร
จนกระทั่งได้เสวยราชสมบัติ
โดยใช้คำว่า "กู"
เป็นหลัก
ในส่วนนี้ คาดเดาว่าพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้บันทึกเอง..
- ตอนที่ ๒ ไม่ได้ใช้คำว่า
"กู" เลย แต่ใช้คำว่า "พ่อขุนรามคำแหง"
ในส่วนนี้จะเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ
ตลอดจนขนบธรรมเนียม
และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นของเมืองในขณะนั้น
ในส่วนนี้
ผู้ที่ศึกษาศิลาจารึกได้คาดเดาออกเป็นสองทางว่า
๑.มีผู้บันทึกไว้หลังจากสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง
เนื่องจากในตอนที่ ๒ นี้
เริ่มที่ว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง...
"
๒.พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นผู้รับสั่งให้มีการบันทึกต่อ
เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยที่พระองค์กำลังครองราชย์
- ตอนที่ ๓ ตั้งแต่ด้านที่
๔ บรรทัดที่ ๑๒
ถึงบรรทัดสุดท้าย
เป็นส่วนสรรเสริญพระเกียรติคุณพ่อขุนรามคำแหง
และอาณาเขตเมืองในครั้งกระโน้น
ในส่วนนี้
เข้าใจว่าได้บันทึกโดยคนรุ่นหลัง
ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากการบันทึกในตอนที่
๒ แล้วหลายปี
จากพงศาวดารโยนก
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เป็นพระสหายสนิทกับพญางำเมือง
เจ้าเมืองพระเยา
และพญาเม็งราย
เจ้าเมืองเชียงใหม่
จึงมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมีพระชนมายุรุ่นราวคราวเดียวกัน
ตามพงศาวดารและจดหมายเหตุเมืองเหนือกล่าวว่า
พญางำเมืองสมภพเมื่อปีจอ
จุลศักราช ๖๐๐ (ปีพระพุทธศักราช
๑๗๘๑)
ส่วนพญาเม็งรายสมภพเมื่อปีกุน
จุลศักราช ๖๐๑ (ปีพระพุทธศักราช
๑๗๘๒)
|