กินปลาลดความเสี่ยงหูตึง
All Posts
การชะลอวัยใส่ใจสุขภาพ ถือเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของบุคคลได้เป็นอย่างดี นอกจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ยังช่วยให้มีสุขภาพดีได้อีกด้วย อาทิเช่น การรับประทานเนื้อปลาที่มีกรดไขมัน omega-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกลุ่มหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ปลาได้ยินเสียงไหม
All Posts
เคยไหมที่เวลาเราให้อาหารหรือเปลี่ยนน้ำให้กับปลา ก็อดที่จะพูดคุยกับปลาไม่ได้ เพราะการคุยกับสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นการสื่อสารถึงความรักที่คุณมีให้แก่เขา แต่กับปลาล่ะ เวลาที่เราพูดด้วยนั้นเขาจะได้ยิน และเข้าใจที่เราพูดด้วยหรือเปล่า ถ้าบอกว่าปลาสามารถได้ยินเสียง ก็คงมีคนถามต่ออีกว่า แล้วไหนล่ะหูของปลา เนื่องจากปลาไม่มีหูส่วนนอกหรือใบหูให้เห็น แต่จริงๆ แล้วปลานั้นได้ยินเสียงจากภายนอก โดยใช้เส้นข้างลำตัวมาทำหน้าที่ในการรับเสียง จากนั้นก็ส่งสัญญาณต่อไปสู่หูชั้นในซึ่งมีหน้าที่รับเสียง และส่งสัญญาณต่อไปยังสมองในการรับรู้ และยังเป็นการรักษาสมดุลในการทรงตัว เช่นเดียวกับมนุษย์ ทว่าความเข้าใจนั้น ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องบอกว่าปลาไม่มีวันเข้าใจภาษาใดๆ ในโลก หรือแม้แต่ภาษาของปลาด้วยกันเอง เพราะปลานั้นมีสมองเล็กมากประมาณเมล็ดถั่วเขียว และมีความจำที่สั้นมากๆ เหมือนที่เราเรียกคนมีความจำสั้นว่า สมองปลาทอง ดังนั้น ปลาจึงดำรงชีพอยู่ด้วยความรู้สึก ที่มา: นิตยสาร Lisa vol.6 no.4 วันที่ 27.1.2005 รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
เชื่อไหมว่าปลามีเห็บ
All Posts
ตามความเข้าใจของคนทั่วไป เห็บนั้นจะเกิดกับสัตว์บกและประเภทที่มีขน เช่น แมว หรือ สุนัข แต่คุณคงไม่ทราบว่าเห็บนั้น สามารถเกิดขึ้นกับปลาได้เช่นกัน นั่นคือ เจ้าเห็บระฆังซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่เรียกว่า โปรโตซัว รูปร่างคล้ายระฆังคว่ำส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ขนขนาดเล็กใช้ในการเคลื่อนที่ และตะขอรอบปาก สำหรับเกาะยึดกับผิวหนังหรือเหงือกของปลา เห็บระฆังอาศัยเซลล์ผิวนอกที่ลอกหลุด และเมือกเป็นอาหาร ปลาจะระคายเคืองจากขนและตะขอโดยเฉพาะที่เหงือก หากสังเกตอาการของปลา จะพบว่าซึมลง ว่ายน้ำถูกับหินหรือตู้ หายใจลำบาก เมือกมากผิดปกติ ซึ่งอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากแบคทีเรียได้ ถ้าเช่นนี้ก็ควรรักษาโดยด่วนด้วยการ นำเกลือ ผสมน้ำให้ได้ความเข้มข้น 1% แล้วแช่ปลาไว้นาน 30 นาที ก็จะสามารถกำจัดเจ้าเห็บระฆังนี้ได้ ไม่ยากเลยใช่ไหมล่ะ ที่มา: นิตยสาร Lisa vol.5 no.25 วันที่ 2.9.2004 รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
เทคนิคการเปลี่ยนน้ำในตู้ปลา
All Posts
ถ้าไม่จำเป็นจริงๆก็ไม่ควรเปลี่ยนบ่อยๆ ปลาที่เลี้ยงไว้ในตู้นั้นเคยชินกับน้ำที่มีอยู่เดิม บางครั้งน้ำจะมีสีเขียว และมีสิ่งสกปรกปนอยู่บ้างก็ไม่ทำอันตรายให้กับปลา กลับตรงกันข้ามปลาจะชอบเสียอีก น้ำที่เปลี่ยนใหม่จะทำให้ปลารู้สึกอึดอัด หมดความสดชื่น ยิ่งถ้าไม่มีน้ำเก่าผสมอยู่เลย จะทำให้ปลาตายได้โดยง่าย หรือไม่ก็เกิดความเจ็บป่วย การเปลี่ยนน้ำ ควรเอาน้ำเก่าออกสักครึ่งหนึ่ง แล้วเอาน้ำใหม่ใส่ครึ่งหนึ่ง น้ำที่เปลี่ยนใหม่ไม่ควรใช้น้ำฝน เพราะน้ำฝนมีสารบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อปลา ควรใช้น้ำประปา แต่ต้องเป็นน้ำประปาที่ใส่ไว้ในโอ่งสัก 5-6 วัน วิธีเปลี่ยนน้ำให้ทำเหมือนกาลักน้ำ ใช้ปลายสายยางด้านที่จุ่มในตู้ปลา ค่อยๆจุ่มลงใต้น้ำที่มีสิ่งโสโครก อีกปลายด้านหนึ่งให้อยู่ต่ำกว่าระดับตู้ปลา ใส่ถังรองรับเอาไว้ จากนั้นใช้ปากดูดเอาอากาศออกจากสายยาง น้ำในตู้ที่อยู่สูงกว่าจะถูกดูดลงมาในที่ต่ำกว่าไหลลงถัง เคลื่อนปลายหลอดที่อยู่ในตู้ปลา ดูดเอาสิ่งโสโครกออก จนหมด เหลือน้ำในตู้ปลาไว้ครึ่งหนึ่ง นำน้ำประปาที่เตรียมไว้ ค่อยๆเติมเข้าไปแทนที่ ที่มา: เทคนิค และวิธีการเลี้ยงปลาตู้ แบบมืออาชีพ โดย ยุทธวัช เกิดนวล ที่มาภาพ: http://community.webshots.com/album/50198906zoYXDS รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด