คลองยังคงมีความสำคัญจริงหรือ
All Posts
คลอง หมายถึง ทางน้ำ หรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล , ทาง, แนว (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542, 226) ส่วนในทางระบบนิเวศวิทยาหมายถึง แหล่งน้ำหรือทางน้ำที่เชื่อมต่อกันระหว่างแหล่งน้ำสองแห่งให้ไหลติดต่อถึงกันได้ อาจเป็นแม่น้ำกับแม่น้ำ หรือบึงและหนองน้ำต่าง ๆ กับแหล่งน้ำอื่น ซึ่งรวมถึงทะเลด้วย อย่างไรก็ตาม คลองจัดเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน การตั้งชื่อคลองในสมัยก่อนจะตั้งให้คล้องจองกันเช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรมประชากร คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรมย์ คลองอุดมชลธาร ในที่นี้จะกล่าวถึงคลองสำคัญ ได้แก่ คลองหลอด ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เชื่อมระหว่างคลองคูเดิมและคลองรอบกรุงเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และคมนาคม ปัจจุบันเรียกเป็น 2 คลองว่าคลองหลอดวัดราชนัดดา และคลองหลอดวัดราชบพิธหรือคลองสะพานถ่าน คลองมหานาค ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะบริเวณสี่แยกมหานาค เป็นบริเวณเรือสินค้าต่าง ๆ มาชุมนุมค้าขายกันมาก คลองโอ่งอ่าง เป็นคลองคูเมืองที่มีส่วนสำคัญในการป้องกัน ที่ชื่อโอ่งอ่างเป็นเพราะปากคลอง มีเรือพวกมอญสามโคก เมืองปทุมธานีบรรทุกโอ่งมาจอดขายประจำ คลองแสนแสบ ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นคลองที่ขุดต่อจากคลองมหานาคไปทางใต้ผ่านคลองบางกะปิ หัวหมากบางขนาก ไปออกแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา คลองแสนแสบมีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก เพราะเป็นคลองเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง คลองผดุงกรุงเกษม ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันเป็นแหล่งชุมนุมค้าขาย เช่นบริเวณเทเวศร์และมหานาค คลองเปรมประชากร เป็นคลองแรกที่ขุดในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นคลองเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน คลองประปา ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยขุดขึ้นเพื่อเป็นคลองส่งน้ำตามโครงการชลประทาน เพื่อให้มีน้ำประปาใช้ในกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันใช้ในกิจการของการประปานครหลวง คลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ กลายมาจากคลองแม่น้ำอ้อมซึ่งหมายถึงเส้นทางสายเดิมของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเป็นตอนที่อ้อมมาก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงขุดคลองลัดร่นระยะทางตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยถึงปากคลองบางกอกใหญ่ หรือแม่น้ำเจ้าพระยาตอนที่ผ่านสถานีรถไฟธนบุรีจนถึงป้อมวิไชยประสิทธิ์ในปัจจุบัน คลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวง ปากคลองแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ไปบรรจบคลองบางขุนศรีบริเวณปากคลองภาษีเจริญ มีคลองสำคัญไหลเชื่อมต่อ คือ คลองบ้านสมเด็จ คลองบางไส้ไก่ คลองสำเหร่คลองบางน้ำชน คลองบางสะแกและคลองด่าน คลองภาษีเจริญ ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 อยู่ในเขตภาษีเจริญเริ่มปากคลองที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกันบริเวณวัดปากน้ำไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี …