เราควรจะรู้ตัวว่าเมื่อไหร่ควรจะพอ และหยุดกิน ไม่ใช่กินเพื่อให้คุ้มตามข้อเสนอที่ทางร้านหยิบยื่น แต่เราต้องกินอย่างใส่ใจกับสุขภาพตระหนักถึงคุณประโยชน์ และโทษที่ได้รับด้วยเช่นกัน
1. กินอาหารประเภทเนื้อสัตว์จำพวกเนื้อหมู ไก่ วัว ปลาหมึก ให้น้อยลง
โดยทานเนื้อปลา หรือผักแทนที่ เพราะเป็นอาหารที่ย่อยง่ายอีกทั้งปราศจากไขมัน และไม่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
2. กินอาหารที่ต้มหรือลวก
โดยพยายามกินอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ทอด ให้น้อยที่สุด
3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมระหว่างทาน
เพราะว่าสองสิ่งนี้ให้พลังงานอาหารที่มาก และต้องใช้เวลานานในการเผาผลาญ ควรเปลี่ยนเป็นน้ำเปล่าหรือน้ำชาแทนที่
4. สังเกตเนื้อสัตว์ก่อนหยิบมารับประทาน หรือปรุง
ว่ามีสภาพ รูป สี กลิ่น ต่างไปจากปกติหรือไม่
5. เมื่อเห็นว่ากระทะหรือเตาย่างเริ่มไหม้
ควรเรียกพนักงานให้เปลี่ยนอันใหม่ให้ ไม่ควรเกรงใจทนกินต่อไป เพราะสิ่งที่สะสมอยู่บนกระทะนั้นนอกจากจะเป็นสารก่อมะเร็งตัวฉกาจแล้ว ยังทำให้เนื้อไม่สุกทั่วถึงกัน เนื่องจากคราบไหม้จะปิดกั้นความร้อนทำให้เนื้อที่ได้ไม่สุกดี
6. อย่ารีบทานจนเกินไป
อาจฆ่าเวลาด้วยการเดินย่อย หรือคุยสังสรรค์กับเพื่อน เพื่อช่วยร่างกายในเรื่องการย่อยอาหาร
7. ออกกำลังกายเผาผลาญพลังงานส่วนเกินจากมื้อนั้นๆ ด้วยวิธีเบาๆ
เช่น ค่อยๆ เดิน เพื่อกระตุ้นให้กระเพาะย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากกินอาหารแล้วนั้น อย่าเพิ่งล้มตัวลงนอนในทันที ควรจะนั่งพักสักครู่ หรือทำกิจกรรมเบาๆ อื่นๆ ก่อน
8. รับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ในร้านที่ไว้วางใจได้
ทั้งความสด สะอาดของอาหาร และความอนามัยของภาชนะ
อย่าลืมว่า..สิ่งที่คุณจะได้รับไม่ว่าจะดีหรือร้าย ก็จะส่งผลจากสิ่งที่คุณกินเข้าไปนั่นเอง
“You are what you eat”
ที่มา: คอลัมน์ Special Report นิตยสาร ใกล้หมอ ปีที่ 30 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549
รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด