พิณ
ภาพประกอบ : http://spcomp.ob.tc/picture/12987/
พิณ มาจากคำว่า วีณา ในภาษาอินเดีย เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายดีดที่มีมานาน นานจนไม่อาจทราบได้ว่า ใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเป็นคนแรก เครื่องดนตรีที่มีหลักการเช่นเดียวกันนี้ พบในหลายๆ ประเทศ แต่ชื่อเรียก ย่อมแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติภาษา และรูปร่างปลีกย่อยอาจแตกต่างกันไปเช่นกัน
พิณ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ เฉพาะพิณของชาวอีสาน ซึ่งแม้แต่ชาวอีสานเอง ก็เรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้แตกต่างกันออกไป เช่น แถบอุบล เรียกว่า "ซุง" ชัยภูมิเรียกว่า "เต่ง" หรือ "อีเต่ง" หนองคาย เรียกว่า "ขจับปี่" เป็นต้น แต่ชื่อสามัญที่คนทั่วไปใช้เรียก คือ "พิณ" นั่นเอง
พิณสมัยก่อน มีเฉพาะพิณโปร่ง นิยมทำจากไม้ขนุนหรือไม้มะม่วง เนื่องจาก ให้เสียงกังวานใสดี เกิดกำทอนดี ไม้ขนุน เนื้อไม่แข็งมาก ใช้มีด ใช้สิ่วเจาะทำพิณได้ไม่ยาก จริงๆ แล้ว ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ไม้มะหาด ไม้ยูง ก็ให้เสียงกังวานใสดีเช่นกัน แต่เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งมาก และค่อนข้างหายาก จึงไม่นิยมนำมาทำพิณ ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ไม้มะเหลื่อม ไม้ฉำฉา เป็นต้น ก็ทำพิณได้เช่นกัน แต่เสียงอาจจะไม่แน่นดี ซึ่งหากจะเอาแค่ดีดแล้วมีเสียงดัง จะใช้ไม้อะไรก็ได้ที่ขึงสายแล้วตัวพิณไม่หัก นอกจากนั้น ช่างทำพิณบางคน อาจทำเต้าพิณจากกะลา น้ำเต้า บั้งไม้ไผ่ กระดองเต่า ใช้หนังสัตว์ เช่นหนังงู เป็นต้น ทำเป็นแผ่นประกบปิดเต้าพิณ
พิณสมัยปัจจุบัน มีทั้งพิณโปร่ง พิณไฟฟ้า และพิณโปร่งไฟฟ้า
สายพิณ เมื่อก่อนนิยมใช้หางม้าหรือไหมทำสาย ปัจจุบันใช้ลวดเหล็กเส้นเล็กๆ หรือลวดสายเบรกจักรยานแทน เพราะหาง่ายและเหนียว พิณ มีเสียงกังวานสดใส สามารถบรรเลงเพลงได้ทั้งจังหวะอ่อนหวาน เศร้ารันทด และสนุกสนานครื้นเครง เข้าถึงอารมณ์แบบพื้นบ้าน พิณจึงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของคนอีสาน
หืน
ภาพประกอบ : http://www.thaigoodview.com/files/
หืนหรือหึน เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเป่า ทำด้วยซีกไม้ไผ่แบน ๆ เท่า 2 นิ้วมือยาวประมาณครึ่งศอก เวลาดีดีใช้ลำโพงปากของผู้ดีดเป็นที่ขยายเสียง ใช้ดีดเล่นเวลาไปเที่ยวเกี้ยวสาวในตอนกลางคืน เสียงดัง "หึน หึน" หรือ "หึ่ง หึ่ง" ช่วยเป็นเพื่อนเวลาเดินในความมืด นอกนั้นหืนยังพอเป็นอาวุธคู่มือได้บ้างเลาสุนัขไล่เห่า บางทีก็ใช้เป็นเครื่องมือสะกิดสาว (ต้อยสาว) เป็นการหยอกเย้าซึ่งถือว่าไม่หยาบคายหรือเกินเลยจนผิดประเพณี อย่างไรก็ดี การดีดหืนก็ทำเป็นทำนองได้ด้วยการยืดหดลิ้น และการแฟบและโป่งของอุ้งปากสลับกันไป
กระจับปี่
ภาพประกอบ : http://www.thaigoodview.com/files/
กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ที่มีมาแต่โบราณ คำว่า "กระจับปี่" สันนิษฐานว่าพัยนมาจากชื่อเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในภูมิภาคนี้ เช่น จาปี หรือ จับเปย ของกัมพูชา กะจาปี ในภาษามลายู ซึ่งน่าจะมาจากภาษาบาลีว่า กัจฉปะ ซึงแปลว่าเต่า ตามรูปร่างลักษณะของกระพุ้งหรือกล้องเสียงที่คล้ายกระดองเต่า รวมทั้งมีการนำกระดองเต่ามาทำเป็นกระพุ้งด้วย
ในการบรรเลงนั้น ผู้ดีดจะต้องใช้ไม้ดีดที่ทำมาจากเขาสัตว์ หรืองาช้างเหลาบาง ดีดสานบริเวณกระพุ้งพิณเพื่อให้เกิดความไพเราะนุ่มนวล
กระจับปี่เคยใช้ในการวงมโหรีเครื่องสี่ของไทยมาแต่สมัยอยุธยา แต่ปัจจุบนใช้น้อยมา เพราะเสียงไม่สู้ดังนัก แต่ยังเป็นที่นิยมอยู่มากในวงดนตรีพื้นบ้านของกัมพูชา
บรรณานุกรม
เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2528). "เอกสารประกอบการสอนสิชาดุริยะ 362 ดนตรีพื้นบ้านอิสาน".มศว มหาสารคาม.
อัษฎาวุธ สาคริก. (2550). ครื่องดนตรีไทย. กรุงเทพฯ : สำนักอุทยานการเรียนรู้.
ภาพประกอบ :
"พิณ" ค้นได้จาก
http://spcomp.ob.tc/picture/12987/1298777666spcomp.jpg
"หืน"
http://www.thaigoodview.com/files/u19117/huen.jpg
"กระจับปี่" ภาพประกอบ :
http://www.thaigoodview.com/files/u19117/RW2717x3.jpg