17 พ.ย. 2566 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตและพัฒนางานห้องสมุดด้วยแชทจีพีที (ChatGPT)”

17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-15.30 น. หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตและพัฒนางานห้องสมุดด้วยแชทจีพีที (ChatGPT)” วิทยากรโดย นายกฤษดา เรืองสถาน นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หน่วยเทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษา การอบรมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ  กลุ่มช่วงเช้า และกลุ่มช่วงบ่าย มีผู้เข้าอบรมทั้งหมด 39 คน ณ ห้องฝึกอบรม ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภาพบรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตและพัฒนางานห้องสมุดด้วยแชทจีพีที (ChatGPT)” กลุ่มช่วงเช้า
ภาพบรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตและพัฒนางานห้องสมุดด้วยแชทจีพีที (ChatGPT)” กลุ่มช่วงเช้า

ChatGPT เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท OpenAI โมเดลภาษาขนาดใหญ่ถูกฝึกฝนด้วยเทคโนโลยี GPT-3.5 (เวอร์ชันที่ใช้อบรมในครั้งนี้) ให้มนุษย์สามารถพูดคุยกับระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI หรือ Artificial Intelligence) ได้ในลักษณะการสนทนา โต้ตอบ สามารถตอบคำถาม ติดตามยอมรับข้อผิดพลาดและปฏิเสธคำขอที่ไม่เหมาะสมได้ สามารถเรียนรู้และสื่อสารภาษาธรรมชาติในหลายภาษา โดยมีการใช้งานหลากหลายด้าน เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานในการตอบคำถามหรือการแนะนำสิ่งต่าง ๆ

ภาพบรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตและพัฒนางานห้องสมุดด้วยแชทจีพีที (ChatGPT)” กลุ่มช่วงบ่าย
ภาพบรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตและพัฒนางานห้องสมุดด้วยแชทจีพีที (ChatGPT)” กลุ่มช่วงบ่าย

ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ วิทยากรได้แนะนำวิธีคิดวิเคราะห์ แนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนางาน โดยให้ผู้เข้าอบรมฝึกการใช้โปรแกรมและแอปพลิเคชัน ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และโทรศัพท์มือถือของตนเอง เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างงานเอกสารสำหรับการบริการห้องสมุด เขียนบทความ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นต้น โปรแกรมที่แนะนำให้ผู้เข้าอบรมใช้งานร่วมกัน ได้แก่

1. ChatGPT (https://chat.openai.com) โมเดลภาษาที่พัฒนาโดย OpenAI ใช้งานในรูปแบบของ Chatbot อัจฉริยะ ซึ่งวิทยากรได้แนะนำเทคนิคการเขียนข้อความเพื่อตั้งคำถาม หรือการเขียนคำสั่งเพื่อสื่อสารกับ AI ที่เรียกว่า Prompt ระบุให้ “ชัดเจน และเจาะจง” เพื่อให้ได้คำตอบตรงกับลักษณะการทำงานสำนักหอสมุดกลาง เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานมากขึ้น

2. Google Translate (https://translate.google.com) ในการแปลภาษา

3 .โปรแกรม QuillBot (https://quillbot.com) เครื่องมือช่วยเขียนภาษาอังกฤษให้สละสลวยเหมือนเจ้าของภาษาด้วยระบบ AI

4. โปรแกรม grammarly (https://www.grammarly.com) AI ผู้ช่วยเหลือในการตรวจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

ภาพบรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตและพัฒนางานห้องสมุดด้วยแชทจีพีที (ChatGPT)” กลุ่มช่วงบ่าย
ภาพบรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตและพัฒนางานห้องสมุดด้วยแชทจีพีที (ChatGPT)” กลุ่มช่วงบ่าย

ทั้งนี้ สำนักหอสมุดกลางเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียน การสอน และการวิจัย ให้บริการทางการศึกษาด้านต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการนี้ เพื่อให้บุคลากรสำนักหอสมุดกลาง สามารถใช้งาน ChatGPT ช่วยสร้างเอกสารหรือเนื้อหาที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักหอสมุดกลาง เช่น การให้บริการหนังสือ ตำราเรียน วารสาร บริการออนไลน์ หรือเนื้อหาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับงานสำนักหอสมุดกลาง  และสามารถนำคำแนะนำจาก ChatGPT  ที่เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานของสำนักหอสมุดกลาง ซึ่งมีโอกาสสำเร็จในอัตราสูง มาปรับใช้งานสำหรับสำนักหอสมุดกลาง  อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเรียนการสอนและสร้างประสบการณ์ในการเข้าใช้บริการที่น่าสนใจและมีคุณภาพสูงมากขึ้นให้กับผู้เข้าใช้บริการ

รายงานและภาพ : พัฒนาสารสนเทศบนเครือข่าย หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด