วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร)
All Posts
หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ที่อาศัยอยู่ในเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล เนื่องจากในสมัยนั้นมีผู้อวดอ้างตนในคุณวิเศษกันมาก เชิดชูแต่ลัทธิของตัว พูดจากระทบกระเทียบดูหมิ่นลัทธิอื่น พร้อมทั้งชักจูงมิให้เชื่อลัทธิอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเกสปุตตนิคมดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อวดอ้าง ชาวกาลามะได้ทูลถามด้วยความสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ?
อริยบุคคล
All Posts
อริยบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ประเสริฐ ทางพุทธศาสนาถือว่าความเป็นพระอริยบุคคลนั้น กำหนดได้ด้วยการละสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์) ไว้ในภพ ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นต่ำ เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น ใครละได้หมดก็เป็นพระอรหันต์ สังโยชน์มี 10 อย่าง เทียบตามส่วนที่พระอริยบุคคล ละได้เป็นลำดับดังนี้ 1. พระโสดาบัน ละสิ่งดังต่อไปนี้ 1) สักกายทิฏฐิ – ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน 2) วิจิกิจฉา – ความสงสัยว่าพระรัตนตรัยดีจริงหรือ 3) ศีลพตปรามาส – การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เมื่อบรรลุเป็นพระโสดาบัน ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ แล้วจะบรรลุนิพพาน คือพระอรหันต์ 2. พระสกทาคามี ละขั้นพระโสดาบัน แต่จิตคลายจากราคะ โทสะ และโมหะมากขึ้น เมื่อบรรลุเป็นพระสกทาคามี จะเกิดอีกครั้งเดียว 3. พระอนาคามี ละขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และรวมอีก 2 คือ 4) กามราคะ – ความติดใจในกามารมณ์ 5) ปฏิฆะ – ความขัดเคืองใจ เมื่อบรรลุเป็นพระอนาคามี จะเลิกครองเรือน ประพฤติพรหมจรรย์ ตายแล้วจะไปเกิดในพรหมโลก 4. พระอรหันต์ ละขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และรวมอีก 5 คือ 6) รูปราคะ – ความติดใจในรูป เช่นชอบของสวยงาม 7) อรูปราคะ – ติดใจในของไม่มีรูป เช่นความสรรเสริญ 8) มานะ – ความยึดถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นติดในสมณศักดิ์ 9) อุทธัจจะ – ความฟุ้งซ่านแห่งจิต …