ที่มาขนมปาท่องโก๋ของคนไทย
All Posts
ประเทศจีนราวปี พ.ศ. 297 “ใจก๊วย” เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเจ้าชิวั่งตี่ มีหน้าที่คอยเพ็ดทูลแนะนำสิ่งต่างๆ ถวาย ได้รับหนังสือลับจากกองทัพตาด ให้กราบทูลแนะนำกษัตริย์ให้ยอมแพ้แก่ตาดจะปูนบำเหน็จให้ ด้วยความโลภใจก๊วยจึงทำตาม กองทัพตาดจึงเข้าเมืองได้ เณรเทศพระเจ้าพระเจ้าชิวังตี่ออกนอกประเทศ แล้วแต่งตั้งใจก๊วยเป็นกษัตริย์ขูดรีดจากประชาชน กังฟู (ขุนพลของพระเจ้าชิวั่งตี่) จึงรวบรวมผู้คนยกทัพเข้าตีเมืองหลวงได้ ครั้นกังฟูสิ้นชีวิตลง ชาวจีนระลึกถึงคุณงามความดี พร้อมใจสร้างศาลเจ้าเพื่อสักการะบูชา พร้อมกับรูปปั้นใจก๊วยไว้หน้าประตูศาลเจ้า ทุกวันที่ชาวจีนไปสักการะในศาลเจ้าของกังฟู จะเขกศรีษะรูปปั้นใจก๊วยทุกคน นานเข้ารูปปั้นหดหายเหลือแค่คอ เพื่อลงโทษให้สาสามจึงได้คิดทำขนมใช้แป้งปั้นเป็นตัวใจก๊วยไม่มีคอ ทอดน้ำมันกำลังเดือด ขนมชื่อ “อิ้วใจก๊วย” (ใจก๊วยถูกทอดในน้ำมัน) เมื่อขนมชนิดนี้เข้าในสมัยรัชกาลที่ 6 ใหม่ๆ มีซิ้มแก่ๆ หาบขนมนี้มาขายพร้อมกับปาท่องโก๋ (มีลักษณะคล้ายซาลาเปา แต่มีงาโรยหน้า) ปากก็ร้องขายขนมปาท่องโก๋ คนไทยซื้อขนมอิ้วใจก๊วยมารับประทาน โดยคิดว่าชื่อปาท่องโก๋เลยเรียกขนมชนิดนี้ว่า “ปาท่องโก๋” ติดปากมาจนทุกวันนี้ ที่มา: หนังสือสารคดีทวีปัญญา โดย ประยงค์ อนันทวงศ์ รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด