กางเกงยีนส์ลีวาย (Levi’s Blue Jeans) ปิ๊ง! จากคนขุดเหมือง
All Posts
นายลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) ชาวเยอรมัน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในยุคตื่นทอง เมื่อปี พ.ศ. 1850 ซึ่งทุกคนต่างมุ่งหน้าไปขุดทองที่เหมืองในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สเตราส์เดินทางไปที่นั่นเช่นกัน เขาไปเพื่อขายของ ซึ่งของที่นำไปขายได้ขายหมดระหว่างทาง เหลือเพียงผ้าเต็นท์เท่านั้น เมื่อไปถึงเหมือง ชาวเหมืองคนนึงได้บอกให้เขาหากางเกงที่ทนทานมาขายบ้าง เพราะกางเกงคนขุดเหมืองขาดง่าย คำพูดนี้จุดประกายความคิดให้สเตราท์ทันที เขาจึงนำเอาผ้าเต็นท์มาให้ช่าง ตัดเป็นเสื้อและกางเกง แล้วนำออกขาย ปรากฏว่าขายดีอย่างนึกไม่ถึง จนผ้าเต็นท์หมดไปในไม่ช้า สเตราท์จึงสั่งผ้าใบเรือมาตัดเสื้อผ้า ในขณะที่ผ้าเต็นท์ขาดตลาด เขาสั่งผ้าหนาอีกหลายชนิดมาจากนิวยอร์ก และนำมาย้อมสีเป็นสีน้ำเงินคราม อันเป็นสัญลักษณ์ของเสื้อผ้ากรรมกร ปี ค.ศ. 1860 ช่างตัดเสื้อชื่อนายจาคอบ เดวิส( Jacob Davis ) จากรัฐเนวาดา ได้ตอกหมุดตามมุมกระเป๋ากางเกงของคนงานเหมือง เพื่อให้บริเวณนั้น ที่มักขาดเสมอ แข็งแรงขึ้น สเตราท์นำวิธีการตอกหมุดมาใช้กับกางเกงเสื้อผ้า ที่มีเนื้อผ้าหนาของเขา และตั้งชื่อว่า “ลีวาย” (Levi’s) ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1873 สเตราท์ได้ จดทะเบียนสิทธิบัตรขึ้น ถือเป็นวันกำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายที่นิยมใช้ทั่วโลกขณะนี้ ที่มา: หนังสือ MK พาปิ๊ง! ไอเดียซิ่ง…ในสิ่งที่ไม่ธรรมดา รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด