ช่วยตอบข้อสงสัย

เริ่มโดย noknew, พฤษภาคม 10, 2008, 09:54:34 AM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

- บัญชีหัวเรื่อง ศัพท์สัมพันธ์ คำสำคัญ แตกต่างกันอย่างไรค่ะ

- การควบคุมบรรณานุกรมคืออะไร มีอะไรบ้างค่ะ

-คัดเตอร์ มีความสำคัญต่อบรรณารักษ์และห้องสมุดอย่างไรค่ะ

จากคำถาม ได้ส่งข้อมูลมาให้ คุณสามารถศึกษาและหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือที่แนะนำให้ค่ะ

1.บัญชีหัวเรื่อง ศัพท์สัมพันธ์ คำสำคัญ แตกต่างกันอย่างไรค่ะ
   บัญชีหัวเรื่อง เป็นคู่มือที่บรรณารักษ์ใช้เลือกคำหรือวลี เพื่อกำหนดใช้แทนเนื้อหาของเอกสารและจัดทำบัตรเรื่องไว้ให้ผู้ใช้ทราบ
   ศัพท์สัมพันธ์ คือ คำ กลุ่มคำที่รวบรวมจากเอกสารหรือศัพท์ที่บรรณารักษ์และนักวิชาการบัญญัติขึ้น ศัพท์สัมพันธ์เป็นศัพท์ควบคุม มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง
   คำสำคัญ (Key words) เป็น คำทั่วไปผสมกับคำวิสามานยนาม ที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูล เช่น จิตวิทยา ภาษี ซิกมันด์ ฟรอยด์
      บัญชีหัวเรื่องนิยมใช้ กันแพร่หลายในห้องสมุด ส่วนศัพท์สัมพันธ์นิยมใช้ในห้องสมุดเฉพาะสาขาวิชา ถึงแม้จะรวบรวมศัพท์ไว้อย่างกว้างขวางก็ยังแคบกว่าหัวเรื่อง ส่วนคำสำคัญใช้ประโยชน์ในสืบค้นข้อมูล และการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศ
   ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ตำราเรียน ม.ร.  IS 103, IS 303
2.การควบคุมบรรณานุกรมคืออะไร มีอะไรบ้างค่ะ
   การควบคุมบรรณานุกรมคือ การติดตาม รวบรวม จัดการรายชื่อหรือ รายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศในรูปบรรณานุกรม โดยวัตถุประสงค์เพื่อ ระบุรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุด และเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศหรือเพื่อประโยชน์ในการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศ
   จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ วัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์
   ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เสริมศรี เจริญผล. 2531. การควบคุมทางบรรณานุกรมวัสดุไม่ตีพิมพ์= LS 414  (LS414 3103 ส257)  ชั้น 2 อาคาร 1
3.  คัดเตอร์ มีความสำคัญต่อบรรณารักษ์และห้องสมุดอย่างไรค่ะ
   เลขคัตเตอร์มีความสำคัญในการจัดหมู่ของหนังสือ เพื่อการขยายเลขหมู่ และเป็นเลขประจำหนังสือ บรรณารักษ์สามารรถจัดประเภท และควบคุมหนังสือตามเลขที่กำหนด ทำให้หนังสือมีสัญลักษณ์เฉพาะยิ่งขึ้น และสามารถขยายเลขหมู่เมื่อมีหนังสือเพิ่มขึ้น ทำให้บรรณารักษ์มีหลักในการปฏิบัติงานเดียวกัน และทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดถูกจัดอย่างมีระบบ ส่งผลให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
   เลขคัตเตอร์ มีทั้งหมด 5 ประเภท  แต่ละประเภทจะมีข้อกำหนดในตัวเอง ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก  เพชราภรณ์ จันทรสูตร์. 2547. กา รวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 4   (IS315 47144 พ252 2547) ชั้น 2 อาคาร 1 เป็นหนังสืออิเล็คทรอนิกส์