เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ทำปวารณาด้วยสมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
มีภิกษุพวกหนึ่งจำนวนหลายรูปจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งแคว้นโกศล
ประสงค์จะป้องกันการวิวาทมิให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน จึงตั้งกติกาไม่พูดกัน
ใครมีกิจอย่างไรก็ทำไปตามหน้าที่ วิธีนี้เรียกว่า
มูควัตร
คือปฎิบัติเหมือนคนใบ้ ครั้นออกพรรษาแล้วพากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า
กราบทูลมูควัตรที่ตนปฏิบัติให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงตำหนิว่า
ความประพฤติเช่นนั้นเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน
ธรรมดาสัตว์แม้จะอยู่ด้วยกันก็ไม่ถามถึงทุกข์สุขกัน
แล้วตรัสห้ามภิกษุมิให้ปฎิบัติดังนั้นต่อไป ถ้าปฎิบัติจะปรับโทษเป็นอาบัติทุกกฎ
จากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบสามเดือนปวารณาแก่กัน
คือว่ากล่าวตักเตือนข้อผิดพลั้งตามที่ได้เห็นหรือได้ยิน คำปวารณามีใจความว่า
"ท่านทั้งหลายข้าพเจ้าขอปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นเองก็ดี
ด้วยได้ฟังมาก็ดี
ด้วยสงสัยก็ดีขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวต่อข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าสำนึกได้จัดทำการแก้ตัวเสีย" ดังนั้นแสดงให้เห็นว่า
พระพุทธเจ้ามิได้ทรงถือบุคคลเป็นใหญ่ แต่พระองค์ทรงถือพระธรรมคือ
ความถูกความควรเป็นสำคัญ เมื่อรู้เห็น
ความไม่ดีไม่งามของกันและกันแล้ว
ก็ทรงอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ทั้งนี้ก็เพื่อความบริสุทธิ์ในหมู่สงฆ์และเป็นความบริสุทธิ ์ของพระพุทธศาสานา
ด้วยเหตุนี้
วันอออกพรรษาเป็นวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษาตามเวลาที่พระพุทธองค์ได้ทรงกำหนด
จึงถือว่าเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งของไทย
กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันออกพรรษา
๑. บำเพ็ญกุศล อาทิ ทำบุญใส่บาตร จัดดอกไม้ ธูปเทียน
ไปบูชาพระที่วัด ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร
ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้น
๒. ร่วมกุศลกรรม
"ตักบาตรเทโว"
๓.จัดนิทรรศการ กิจกรรมต่างๆ
เพื่อเป็นการเผยแพร่เกี่ยวกับวันออกพรรษา
๔.ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติ
ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฎิบัติกันมีอยู่
๒ อย่าง คือ
๑. ประเพณีตักบาตรเทโว
๒. ประเพณีเทศน์มหาชาติ
๑.ประเพณีการตักบาตรเทโว
จะกระทำกันในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
คือหลังจากวันออกพรรษา แล้ว ๑ วัน
คำว่า "เทโว" ย่อมาจาก
"เทโวโรหณะ" แปลว่าการเสด็จลงจากเทวโลก
การตักบาตรเทโว
จึงเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์
เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก
โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา
และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร
ในครั้นนั้นบรรดาพุทธศานนิกชนผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใส
เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น
จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
พิธีที่จัดกันในวันออกพรรษานี้
บางวัดอาจทำกันเพียงธรรดาๆ แต่บางวัดอาจจัดใหญ่โต
อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนมีบาตรใหญ่ตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป
มีคนลากล้อเลื่อนไปช้าๆ พระสงฆ์ สามเณรถือบาตรเดินตาม
เพื่อให้ทายกทายิกาที่ยืนนั่งกันอยู่เป็นแถวได้ใส่บาตรของนิยมนำไปใส่บาตรในวันนั้น นอกจากข้าวกับข้าว ผลไม้
แล้วก็มีข้าวต้มมัดไต้ และ
ข้าวต้มมัดโยน เป็นส่วนใหญ่
ซึ่งแต่ละท้องถิ่น ก็จะมีประเพณีตักบาตรเทโว
ที่จัดใหญ่โตต่างกัน เช่น
 |
ภาคกลาง จ.อุทัยธานี
เป็นงานประเพณีที่ชาวอุทัยธานียึดถือปฏิบัติกันมา
ตั้งแต่ครั้ง บรรพบุรุษ
จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ชาวอุทัยธานีทุกคนภูมิใจกันมากเพราะเป็นการจัดงานตักบาตรเทโว
ที่มีความสอดคล้องกับพุทธตำนานมากที่สุด
พิธีกรรม
โดยเริ่มงานตั้งแต่เช้าตรู่ จะมีภิกษุสงฆ์ จำนวน ๕๐๐ รูป
เดินตามขบวนแห่
พระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ลงมาตามบันไดซึ่งภาพที่ปรากฏต่อสายตานั้นจะเหลืองอร่าม
ไปด้วยสีผ้ากาสาวพัตรของพระภิกษุสงฆ์ทีทอดตัวลงมาอย่างช้า
ๆ ส่วนสองข้างของบันไดจะปกคลุมไปด้วยหมอกควันสีขาว
พวยพุ่งออกมาจนทำให้เห็นสีเหลืองเด่นชัด
เป็นสง่างามน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ครั้นพระภิกษุสงฆ์
ลงมาถึงลานวัดสังกัส รัตนคีรีแล้ว
|
 |
ภาคกลาง จ.สุโขทัย
ที่ปรากฎและมีชื่อเสียงคือ
งานตักบาตรเทโวของวัดราชธานี อ.เมืองสุโขทัย
และวัดน้ำขุน อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย มีการทำบุญตักบาตร
ใส่ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มลูกโยน
เพราความเชื่อที่ว่าพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากเทวโลกมีผู้มาต้อนรับมากมายทำให้ไม่สามารถเข้าใกล้พระพุทธองค์ได้
ต้องโยนอาหารลงในบาตร
มีกีฬาทางน้ำคือการแข่งเรือในแม่น้ำยม
โดยเชิญเรือจากหลายแหล่งมาร่วมแข่งขันบางปีได้เชิญเรือจากหลายแหล่งมาร่วมแข่งขันบางปีได้เชิญเรือจากต่างจังหวัดมาร่วมแข่งด้วย
การจัดงานที่วัดน้ำขุน
อุปกรณ์จัดงานตักบาตรเทโว
เป็นงานศิลปะที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
ช่วยกันประดิษฐ์ไปตามจินตนาการ
แม้ในปัจจุบันรูปแบบก็ยังจัดในรูปแบบเดิม
แต่อุปกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
พิธีกรรม
ก่อนจะถึงวันงานคณะกรรมการจะได้เชิญชาวบ้านส่งบุตรหลานมาเป็นเทวดา
นางฟ้า และผู้เข้าร่วมขบวนแห่
ปัจจุบันขบวนแห่งานตักบาตรเทโวจะเริ่มที่หน้าวัดหนองแหนซึ่งอยู่ห่างจากที่จัดงานประมาณ
๒ กิโลเมตรเศษ ในขบวนจะประกอบด้วย กลองยาว
บุษบกสำหรับประดิษฐาน พระพุทธรูป พระอินทร์ พระพรหม
เทพบุตร นางฟ้า ฤาษี ขอทานและสัตว์นรกจำนวนมาก
เมื่อเริ่มขบวนชาวบ้านจะพากันมาคอยร่วมทำบุญตักบาตร
ซึ่งเป็นข้าวสารอาหารแห้ง
การเคลื่อนขบวนจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ให้พระภิกษุรับบาตร |
 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองบัวบำภู
พิธีกรรม
๑. จัดเตรียมขบวนรถทรงหรือคานหามพระพุทธรูป
เพื่อชักหรือหามนำหน้าพระสงฆ์ในการรับบาตร
หรือจะให้อุบาสกอุบาสิกาเป็นผู้เชิญพระพุทธรูปก็ได้
๒. พระพุทธรูปที่จะเชิญนิยมพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร
ถ้าไม่มีอาจใช้ปางอื่น ๆ แต่ให้เป็นพระพุทธรูปยืน
๓. พุทธศาสนิกชนเตรียมภัตตาหารใส่บาตร
โดยเฉพาะข้าวต้มลูกโยนที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของพิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ
๔. มีการแสดงพระธรรมเทศนา
|
งานตักบาตรเทโวเป็นงานที่ช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้แก่ชาวบ้านอย่างมาก
เป็นเครื่องควบคุมสังคมให้ ละ ลด เลิกอบายมุข
หันหน้าเข้าวัดเพื่อทำบุญ
จึงมีส่วนช่วยให้สังคมเกิดสันติสุขเป็นอย่างดี |
ขึ้นด้านบน
๒.ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ
งานเทศน์มหาชาตินี้
นิยมทำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐินไปแล้ว อาจทำในวันขี้น ๘
ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำก็ได้
ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์
จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง
แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน ๔ เรียกว่า
"งานบุญผะเหวด"
ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง
บางท้องถิ่นทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี
งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในกาลพิเศษจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล
โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน ๑๐
การเทศน์มหาชาตินั้น
มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์
ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดังตำนานต่อไปนี้
ตำนาน
เทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์
การเทศน์มหาชาติ
คือการมหากุศลที่เตือนบุคคลให้น้อมรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ
คือความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว
เพื่อผลประโยชน์สูงอันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญเป็นเทศกาลที่คงความหมายอย่างแท้จริง
การเทศน์ทุกกัณฑ์จะมีผู้เป็นเจ้าภาพจัดกัณฑ์เทศน์ถวาย
เมื่อพระที่ตนรับกัณฑ์เทศน์ขึ้นเทศน์เจ้าภาพจะจุดเทียนบูชาคาถาหว่านข้าวตอกข้าวสาร
การเทศน์ในสมัยก่อนพระเจ้าของกัณฑ์จะอ่านจากอักษรธรรม(อักษรลาว)
ซึ่งจารลงบนใบลานเป็นแผ่นยาว คำว่า "จาร" มาจากภาษาเขมรแปลว่า
การเขียนด้วยเหล็กแหลมบนใบลาน
แต่ปัจจุบันจะนิยมพิมพ์ลงบนใบลานเป็นตัวหนังสือไทยปัจจุบัน
เป็นเรื่องราวในแต่ละกัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสำหรับพระรุ่นใหม่
เมื่อจบกัณฑ์จะตีฆ้องเป็นสัญญาณ
การเป็นเจ้าของกัณฑ์ในหมู่บ้านในชนบทอาจแบ่งเจ้าภาพเป็นคุ้ม
เรื่องราวและประวัติความเป็นมาแต่ละกัณฑ์มีดังนี้
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร
เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี
ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร
ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญท้าวสักกะเทวราช
สวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร ๑๐
ประการ คือให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี
ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้มีคิ้วดำสนิท
ขอให้พระนามว่าผุสดี
ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทังหลายและมีใจบุญ
ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์
ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท ขอให้มีผิวงาม
และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค
ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต
พระนางเทพผุสดีได้จุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช
เมื่อเจริญชนม์ได้ ๑๖ ชันษา
จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร
ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี
ให้นามว่า "ปัจจัยนาค" เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ ๑๖ พรรษา
ราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรีพระราชบิดาราชวงศ์มัททราช
มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ ชาลี ราชธิดาชื่อ กัณหา
พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ
ต่อมาพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค
พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ
ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ
การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่
ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี
ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร
จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ
การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสา
สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐
กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศ
เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายพระพักตร์สู่เขาวงกต
เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระนคร
กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง
แต่พระเวสสันดรทรงปฎิเสธ
และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรมซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช
กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา
และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส
ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พำนักในบ้านทุนวิฐะ
เที่ยวขอทานตามเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ
จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว
เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก
นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชก ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี
ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน
หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตี นางอมิตดา
ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้
เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน
เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสู่อาศรมจุตดาบส
ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญชัย
จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่
ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา
เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับอจุตฤๅษี
ชูชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤๅษีจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร
กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทางสองโอรสแก่เฒ่าชูชก
พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก
รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว
ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร
สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ
พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก
กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี
เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด
อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก
พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึก
จนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทาง
จนค่ำเมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส
พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ
จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์
พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง
เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ
พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว
หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบ นางจึงได้ทรงอนุโมทนา
กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ
เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี
แล้วถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ
ท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรี
พระเวสสันดรจึงพระราชทานให้
พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ
เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน
ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป
ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช
เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพี
เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้
ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้
เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร
จนเดินทางถึงกรุงสีพี
พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์
เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสององค์
ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน
ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย
ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร
ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์
เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ
อาศรมดาบสที่เขาวงกต
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓
วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า
พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนครสีพี
จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา
พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ
รวมทั้งทหารเหล่าทัพ
ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืนท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์
เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนคร
พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา
พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด
พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี
และเสด็จกลับสู่สีพีนคร
เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง
ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน
พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชน
ท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการ
ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง
พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาไปตามปรารถนา
ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง
ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ
ประเพณีงานบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ
อันเป็นประเพณีอันเก่าแก่ที่มีเรื่องราวเล่าขาน
และปฏิบัติสืบทอดมาแต่โบราณ
ยังธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงามของชาวอีสาน
อย่างเช่น จังหวัดร้อยเอ็ดหรือสาเกตนครอันยิ่งใหญ่ในอดีต
ได้จัดงานบุญผะเหวดให้เป็นงานประเพณีประจำปีของจังหวัดทุกๆ ปี
วันปวารณาออกพรรษา | ประเพณีตักบาตรเทโว |
ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ
|