
กิจการตำรวจได้กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
โดยพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุสดมภ์
ได้แก่ เยน วัง คลัง นา และพร้อมกันนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้มีการตำรวจขึ้น โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียน
อันมีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชา
ในปี พ.ศ. 2405
ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงกิจการตำรวจครั้งสำคัญ
กล่าวคือ มีการจัดตั้งกองตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกตามแบบอย่างยุโรป เรียกว่า
กองโปลิศ โดยจ้างชาวมลายูและชาวอินเดียเป็นตำรวจ เรียกว่า คอนสเตเปิล
ให้มีหน้าที่รักษาการณ์แต่ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน และขึ้นอยู่กับสังกัดกรมพระนครบาล
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงกองโปลิศ
และจัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นเป็นทหารโปลิศ ในปี พ.ศ. 2419
เพื่อให้เป็นกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาค
และให้สามารถปฏิบัติการทางทหารได้ด้วย โดยได้ว่าจ้างนาย G. Schau
ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้วางโครงการ
ในปี พ.ศ. 2420 กองทหารโปลิศได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นกรมกองตระเวนหัวเมือง
และได้มีการจัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง
ในปี พ.ศ. 2440
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่ตั้งให้ พลตรี พระยาวาสุเทพ (G.
Schau)
เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร และได้มีการขยายกิจการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ

กิจการตำรวจในยุคนี้ขึ้นอยู่กับ 2 กระทรวง คือ กรมพลตระเวน หรือ
ตำรวจนครบาล ขึ้นอยู่กับกระทรวงพระนครบาล
ส่วนกรมตำรวจภูธรขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีการรวบรวมกิจการตำรวจมาเป็นกรมเดียวกัน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.
2458 เรียกว่า กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน
และในปลายปีได้เปลี่ยนเป็นกรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจนครบาล
และยกฐานะของเจ้ากรมขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2465
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงพระนครบาลเป็นกระทรวงเดียวกัน
เรียกว่า กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล
จึงโอนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2469
กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมตำรวจภูธร
และกรมตำรวจนครบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมตำรวจภูธร
แต่ยังคงแบ่งตำรวจออกเป็น 2 ประเภท คือ ตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้าย
ไต่สวนทำสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง เรียกว่า ตำรวจนครบาล
ส่วนตำรวจที่ทำการจับกุมผู้ร้ายได้แล้ว
ส่งให้อำเภอไต่สวนทำสำนวนให้อัยการประจำจังหวัดนั้นๆ เรียกว่า ตำรวจภูธร
จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2475 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก กรมตำรวจภูธร มาเป็น
กรมตำรวจ และได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.
2542 เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม
ซึ่งเป็นวันประกาศรวมกรมพลตระเวนกับกรมตำรวจภูธรเป็นกรมเดียวกัน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงยึดถือเอาวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปีเป็น "วันตำรวจ"
กระทั่งในปี พ.ศ. 2560 พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ณ ขณะนั้น
ได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลง โดยให้ถือเอาวันที่ 17 ตุลาคม ของทุกปีเป็น "วันตำรวจ"
ซึ่งตรงกับวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541
เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม ได้ตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
จึงเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการแสดงความเคารพเทิดทูนพระองค์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

บรรณานุกรม
วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543.
สยามรัฐออนไลน์. "17 ตุลาฯ วันตำรวจ"เปิดป้าย สำนักงานตำรวจแห่งชาติใหม่ ใหญ่อลังการ. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2564, จาก https://siamrath.co.th/n/109588.
ภาพประกอบ
http://www.police.go.th/
http://chiangrai.police.go.th/ ข้อมูลโดย : กลุ่มนักศึกษาฝึกงาน งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
สนเทศน่ารู้
ขึ้นด้านบน
|