![](images/diamond1.jpg)
ภาพ เพชร
จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rex-rex&month=08-2007&date=27&group=1&gblog=52
ความเป็นมา
เพชรเป็นแร่มีรูปร่างผลึก 8 เหลี่ยม หรือ 12 เหลี่ยม มีความโปร่งใส และกึ่งโปร่งใสมีประกายแวววาว
โดยเพชรจัดอยู่ในพวกอัญมณีที่มีค่า สวยงาม และเป็นที่รู้จักกัน เช่นเดียวกับอัญมณีอื่นๆ
แต่จะเป็นของที่หายากกว่าอัญมณีอื่นด้วยเช่นกัน จึงมีการกล่าวว่า
ผู้ที่จะได้ครอบครองเพชรนั้นจะต้องเป็นเศรษฐีหรือเชื้อพระวงศ์
ในเรื่องของความเชื่อในอดีต ผู้ที่สวมใส่เพชรจะมีอำนาจป้องกันสิ่งชั่วร้ายที่จะเข้ามาถึงตัวเองได้
จึงถือได้ว่าเพชรเปรียบเสมือนเป็นเครื่องรางของขลังมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ
เพราะเหตุผลในข้อนี้ ในอดีตจึงมีผู้ชายสวมใส่เพชรมากกว่าผู้หญิง ตำนานโบราณกล่าวว่า
เพชรมีแหล่งกำเนิดมาจากกระดูกยักษ์ ชื่อ มหาพลสูตร ที่คิดพิธีอดอาหารเพื่อเป็นเกียรติยศให้ปรากฏในแผ่นดิน
แต่พอครบ 7 วันก็สิ้นชีวิต เทวดาจึงนำกระดูกไปฝังทุกแห่ง จึงบังเกิดกลายเป็นเพชรรัตน์
ในทางวิทยาศาสตร์ เพชรเกิดจากธาตุคาร์บอน (C) เกือบบริสุทธิ์ คือประมาณ 99.95%
ที่ถูกทับถมอยู่เป็นเวลานานใต้พื้นโลกด้วยแรงกดกว่า 3,000 ตัน
อยู่ลึกประมาณ 80 กิโลเมตรของอ๊อกตาฮีดรอน (Octahedron) ที่มี
ต่อมาหินคิมเบอร์ไลต์ (Kimberite) ได้ดันเพชรขึ้นมาระดับพื้นผิวโลก
นอกจากนี้ยังพบเพชรอยู่ในบริเวณลานแร่ (Alluvian) อยู่ประมาณร้อยละ 90 ของเพชรที่พบทั้งหมด
![](images/diamond2.jpg)
ภาพ ผลึกเพชร จากหนังสือ ถนนสายเพชรพลอย
แหล่งกำเนิดเพชร
เพชรเป็นแร่ซึ่งเกิดจากความกดดันและอุณหภูมิที่ฝังตัวอยู่ใต้พื้นโลกเพชรถูกนำขึ้นมาพร้อมกับพวกแมคม่า(Magma)
พร้อมแร่ชนิดอื่นๆทางภูเขาไฟ
แหล่งที่พบเพชรนั้นมีหลายประเทศแต่ก็มีปริมาณเพชรที่แตกต่างกันไปบางที่ก็มากบางที่ก็น้อยโดยประเทศที่มีการพบเพชรได้แก่
- อินเดีย เป็นประเทศแรกที่ค้นพบเพชร กล่าวว่าประเทศอินเดียมีการขุดเพชรมามากกว่า 5000 ปีมาแล้ว ซึ่งเพชรในประเทศอินเดียเป็นเพชรเม็ดใหญ่ มีคุณภาพสูง และมีมาก
- บราซิล เป็นประเทศที่ค้นพบเพชรรองมาจากประเทศอินเดีย โดยพบในปี พ.ศ.2288 แต่เพชรมีขนาดเล็ก และสวยงามไม่เท่าอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม
- แอฟริกา พบเหมืองแร่ใหม่เมื่อ พ.ศ.2410 หลังจากที่เพชรในประเทศบราซิลเริ่มลดน้อยลง เพชรในประเทศแอฟริกามีคุณภาพสูง สวยงาม มีขนาดใหญ่ และมีปริมาณมาก
- รัสเซีย มีการขุดเพชรขึ้นมาใน ค.ศ.1970 มีปริมาณเพชรมากกว่าแอฟริกา
![](images/diamond3.jpg)
รูปเพชร จาก http://brysonburke.com/diamond_test2.html
เพชรแบ่งได้เป็น 4 ชนิด
การแบ่งแยกชนิดของเพชรนั้นขึ้นอยู่กับความไม่สะอาดต่างๆ ของธาตุอื่นๆ ที่แทรกเข้ามาในผลึกเพชรโดยแบ่งแยกออกเป็นดังนี้
- ชนิด la มีไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 0.1 ได้แก่ เพชรที่ขุดตามธรรมชาติ
- ชนิด lb มีไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 0.2 ได้แก่ เพชรสังเคราะห์
- ชนิด lla ไม่มีไนโตรเจน ชนิดนี้หายากมาก
- ชนิด llb เป็นเพชรที่มี boron อยู่ในผลึกจะมีสีฟ้า หายากมาก
การจำแนกประเภทของเพชร
- Natural Diamond หรือ เพชรธรรมชาติ หรือเพชรแท้ เป็นเพชรที่เกิดจากอะตอมของคาร์บอนใต้ชั้นเปลือกโลก
ที่มีความร้อนและความดันสูงมารวมตัวกันกลายเป็นเพชร ซึ่งเป็นเพชรที่เหมืองต่างขุดหากันเพื่อนำมาขาย
นำมาเจียระไนจนเป็นเครื่องประดับชิ้นงาม และมีราคาสูงในตลาดอัญมณี โดยบริษัท De Beers เป็นบริษัทผูกขาดเพชรรายใหญ่ของโลก
- Diamond Simulant หรือเพชรเทียม เพชรสีเลียนแบบ เป็นเพชรที่เลียนแบบธรรมชาติให้ดูคล้ายเพชร
แต่คุณสมบัติต่างๆ ไม่ใช่เพชร ซึ่งเพชรประเภทนี้จะมีส่วนประกอบทางเคมีอยู่ เช่น เพชรรัสเซีย (Synthetic Cubic Zirconia)
และมอยส์ซาไนส์สังเคราะห์ (Synthetic moissanite) ซึ่งเพชรเทียมเหล่านี้จะมีราคาต่ำกว่าเพชรแท้เล็กน้อย
ส่วนประกอบของเพชรเทียมนี้ไม่ใช่คาร์บอน แต่เป็นเซอร์โคเนียม หรือซิลิคอนคาร์ไบด์
ซึ่งเพชรที่เกิดจากการสังเคราะห์มานี้ จะมีความวาว และมีความแข็งที่ใกล้เคียงกับเพชรแท้มาก
- Synthetic Diamond หรือเพชรสังเคราะห์ เป็นเพชรที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากห้องแล็บ
โดยใช้เทคนิค High Pressure/HigTemperuture ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ความร้อนมหาศาลในการสังเคราะห์
เพื่อเลียนแบบวิธีการเกิดเพชรในธรรมชาติ จึงทำให้เพชรชนิดนี้มีคุณสมบัติเหมือนเพชรแท้ทุกประการเลยก็ว่าได้
แต่กระนั้นเพชรสังเคราะห์นี้ มีค่าใช้จ่ายในการผลิตที่สูงมาก ทำให้นำมาใช้ในประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
![](images/diamond4.jpg)
ภาพ เครื่องประดับเพชร
จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rex-rex&month=08-2007&date=27&group=1&gblog=52
คุณสมบัติในการเลือกซื้อเพชร
- CARAT (น้ำหนัก) ขนาดของเพชรยิ่งโตราคายิ่งสูงขึ้น น้ำหนักเพชรใช้วัดเป็น CARAT ซึ่ง 1 CARAT เท่ากับ 0.200 กรัม (200 มิลลิกรัม หรือ 1/5 กรัม) 1 กรัมเท่ากับ 5 CARAT
- COLOR (สี) เกิดขึ้นจากการรวมตัวทางเคมีของธาตุต่างๆ สีของเพชรมีทุกสี แต่ที่มีค่า ได้แก่ สีทึ่ไม่มีสีอื่นเจือปน (Colorless)
- CLARITY (ความบริสุทธิ์) เพชรแท้ธรรมชาติต้องไม่บริสุทธิ์ 100% ถ้าดูด้วยกล้องขยาย 1,000 เท่า จะมองเห็นเส้นเล็กๆ หรือจุดเล็กๆ ซึ่งแสดงถึงความไม่บริสุทธิ์ของเพชรธรรมชาติ
- CUTTING (การเจียระไน) การเจียระไนมีความสำคัญต่อเพชรมาก ถ้าฝีมือในการเจียระไนสวยจะทำให้เพชรมีประกายสวยขึ้น
![](images/diamond5.jpg)
ภาพเพชรปอตุกีส จากหนังสือถนนสายเพชรพลอย
การจำแนกความบริสุทธิ์ของเพชร
การจำแนกความบริสุทธิ์ของเพชร สามารถจำแนกได้ตามหลักสากล ดังนี้
- Flawless (FL) เป็นเพชรชั้นยอดน้ำงามที่สุด เป็นเพชรปราศจากตำหนิ
- Internal Flawless (IF) เป็นเพชรไร้ตำหนิภายใน อาจมีเล็กน้อยบนผิวหน้าเท่านั้น
- Very Very Small Inclusion (VVS1 / VVS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีตำหนิในเนื้อเพชรให้เห็นได้น้อยมากๆ
- Very Small Inclusion (VS1 / VS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีรอยตำหนิน้อยมากในเนื้อเพชร
- Small Inclusion (SI1 / SI2) - เป็นระดับของรอยตำหนิที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ก็ยังมีขนาดเล็กอยู่ ในระดับสายตาของผู้ยังไม่ชำนาญต้องใช้เวลานานในการสังเกต
- Inclusion (I1 / I2 / I3) - เป็นระดับเพชรที่มีรอยตำหนิ ที่สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะมีมาก จนทำให้สังเกตได้
การตรวจสอบเพชร
- ดูค่าความถ่วงจำเพาะ โดยนำเพชรใส่ในน้ำยามาตรฐาน ที่มีความถ่วงจำเพาะ 3.52 หากเป็นเพชรแท้จะลอยปริ่มน้ำอยู่ระดับเดียวกับน้ำยา
ส่วนเพชรเทียมนั้นโดยส่วนมากแล้วจะจมแต่วิธีนี้จะใช้ไม่ได้กับเพชรเทียมที่เป็นพวกแก้ว Topaz , quartz , Synthetic sapphire และ Synthetic spinel
เพราะค่าความถ่วงจำเพาะของสิ่งเหล่านี้ใกล้เคียงเพชร
- ดูค่าดัชนีหักเห นำเพชรลงในน้ำยามาตรฐานที่มีค่าดัชนีหักเห 1.743
สารที่มีค่าดัชนีหักเหสูงกว่านี้จะเห็นเป็นประกายในน้ำยา แต่หากมีดัชนีหักเหต่ำกว่าจะมองไม่เห็นประกาย
เพชรเทียมจะเป็นเพชรที่มีค่าดัชนีหักเหสูงยกเว้นพวกแก้ว Topaz,quartz , Synthetic sapphire , Synthetic spinel
- ดูความแข็ง เพชรแท้เมื่อถูกคอรันดัมขีดจะไม่เป็นรอย แต่ในเพชรเทียมชนิดอื่นจะเป็นรอยเกิดขึ้น
แต่จะมีรอยชัดเจนมากแค่ไหนก็ขึ้นกับความแข็งของเพชรเทียมชนิดนั้น แต่วิธีนี้หากขีดบนแนวแตกเรียบอาจทำให้เพชรหักบิ่น
และเกิดตำหนิได้จึงไม่ค่อยนิยมใช้วิธีนี้กันมากนัก
- การทดสอบการนำความร้อน โดยใช้เครื่องมือ เทอร์มอลคอนดัคทิวิตี้โพรบ (Themal conductivity probe)
ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจสอบความร้อน ใช้แยกเพชรแท้กับเพชรเทียมออกจากกัน
เป็นเครื่องมือที่สะดวกต่อการพกพา และใช้ได้กับเพชรทุกขนาด รวดเร็ว
![](images/bar15.gif)
บรรณานุกรม
มณิขจิต .(2545) . ถนนสายเพชรพลอย.กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มติชน.
"ความเป็นมาของเพชร" http://www.eduzones.com/knowledge-2-5-27975.html
"ความเป็นมาของเพชร" http://variety.teenee.com/science/4072.html
"ประเภทของเพชร" http://www.diamondthailand.com/thai/speacial_t/speacial10_t.htm
"เพชร"
http://th.wikipedia.org/wiki/เพชร
"แหล่งกำเนิดเพชร" http://www.jewelryseason.com/knowhow/knowhow06.html
รูปภาพ
"เพชร" http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rex-rex&month=08-2007&date=27&group=1&gblog=52
"Diamond" http://brysonburke.com/diamond_test2.html
มณิขจิต .(2545). ถนนสายเพชรพลอย. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มติชน.
รวบรวมข้อมูลโดย : น.ส. โศธิดา ศิริอำนวยศิลป์ นักศึกษาช่วยงาน ปีงบประมาณ 2551
งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ
สนเทศน่ารู้
ขึ้นด้านบน
|