สนเทศน่ารู้ :: สะพานในกรุงเทพมหานคร

Bridges Menu

สะพานในกรุงเทพมหานคร

BRIDGES IN BANGKOK


สะพานพระราม 9


สะพานพระราม 9
http://www.kachon.com/tour/detail.asp?id=1570

สะพานพระราม 9 หรือบางคนเรียกว่า สะพานแขวน ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพานเพื่อรับ น้ำหนักของสะพาน

สะพานพระราม 9 เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อ สะพานพระราม 9 เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยมีกิจกรรมวิ่งมาราธอนลอยฟ้าในเวลา 06.00 น. ในวันที่ทำพิธีการเปิด

โครงสร้างของสะพาน
โครงสร้างของสะพานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

           1. โครงสร้างตัวสะพาน
โครงสร้างตัวสะพาน (Superstructure) ประกอบด้วย ตัวสะพาน เสาขึง สายเคเบิล เป็นเหล็กทั้งสิ้น มีรายละเอียดดังนี้
ตัวสะพาน (Bridge Deck) ประกอบด้วย เหล็กแบบ Box Girder มีคานขวาง (Cross Girder) ทุก ๆ ระยะ 3.60 เมตร ตัวสะพานแบ่งตามความยาวของสะพานออกเป็น 2 สวนคือ
            - ตัวสะพานซึ่งอยู่ระหว่างเสาขึงทั้งสองข้างมีความยาว 450 เมตร เรียกว่า Main Span เฉพาะช่วงของ Main Span มีรูปตัดเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูกว้าง 33 เมตร ช่วงของ Back Span มีรูปตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในส่วนที่บรรจบกับ Main Span มีความกว้าง 33 เมตร และลดลงเป็น 31 เมตร เพื่อต่อกับเชิงลาดของสะพานภายในสะพานมีช่องทางเดินตลอดสะพาน แบ่งเป็น 3 ช่อง มีความสูง 4.00 เมตรเพื่อความสะดวกในการเดินสำรวจสภาพและซ่อมบำรุงภายในสะพาน
            - เสาขึง (Pylon) มี 2 ต้น เป็นเสาเหล็กรูปหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3.00 x 4.50 เมตร ที่โคนเสาบนพื้นสะพาน และลดลงเป็น 2.50 x 3.00 เมตร ที่ยอดเสาสูง 87 เมตร เสาขึงนี้จะทำหน้าที่ยึดและรับแรงดึงจากสายเคเบิลแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาตอม่อ (Pylon Pier) ภายในจะมีบันไดและลิฟท์เพื่อใช้ตรวจสอบและซ่อมบำรุง
            - สายเคเบิล (Cable) ประกอบด้วย เส้นลวด (Wire) ขนาดเล็กจำนวนมากขบกัน ในลักษณะบิดเป็นเกลียวรอบจุดศูนย์กลาง เรียกว่า Locked Coil Cable มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 121 - 167 มิลลิเมตร ความยาว 50-223 เมตร รวมจำนวน 4 ชุด ชุดละ 17 เส้นรวมทั้งหมด 68 เส้น สามารถรับแรงดึงได้ตั้งแต่ 1,500 - 3,000 ตัน
           2. โครงสร้างฐานรากสะพาน
โครงสร้างฐานรากสะพาน (Substructure) ประกอบด้วย เสาตอม่อ แท่นหัวเข็ม เสาเข็ม ซึ่งล้วนแต่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีรายละเอียด ดังนี้
            - เสาตอม่อ (Pier) เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 8 ต้น ที่ฝั่งกรุงเทพฯ 4 ต้น ฝั่งธนบุรี 4 ต้น ตัวริมเรียกว่า Junction Pier (Po และ P7) เป็นเสาคู่ ถัดเข้ามาอีก 2 ตัว เรียกว่า Back Span Pier (P1, P2, P5 และ P6) เป็นเสาตันคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 3.2 x 18.0 เมตร สำหรับตอม่อริมน้ำ (P3 และ P4) มีขนาด 11.0 x 18.0 เมตร เป็นเสากลวงคอนกรีต เสริมเหล็กโดยมีผนังหนา 1.00 เมตรโดยรอบ
            - เสาเข็ม (Bore Pile) เป็นเสาเข็มเจาะคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00 เมตร ลึกประมาณ –30 เมตร รทก ถึง –35 เมตร รทก จำนวนเสาเข็มสำหรับฐานรากริม, ฐานรากกลาง จำนวน 2 ฐาน และฐานรากเสาสูง 8, 8, 10 และ 64 ต้นตามลำดับ
            - แท่นปิดหัวเสาเข็ม (Pile Cap) เป็นแท่นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อรองรับเสาสะพานสำหรับฐานรากริม ฐานรากกลาง 2 ฐาน และฐานรากเสาสูงโดยมีขนาด 10 x 25 x 2.50 เมตร ขนาด 11 x 20 x 4.00 เมตรและขนาด 32 x 37 x 6.00 เมตร ตามลำดับ เฉพาะแท่นปิดหัวเสาเข็มของ ฐานรากเสาสูงจะมีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้ปริมาณคอนกรีตถึง 7,000 ลูกบาศก์เมตร โดยเทต่อเนื่อง

ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานพระราม 9

วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527
วันเปิดการจราจร : วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท ฮิตาชิ โซนโซน คอร์ปอเรชั่น โตเกียว คอนสตรัคชั่น จำกัด และ บริษัท โกบี สตีล จำกัด
ราคาค่าก่อสร้าง : 1,418,100,000 บาท
แบบของสะพาน : ชนิดเสาขึงระนาบเดี่ยว
ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง : 41.00 เมตร
ความยาวของสะพาน : 782.00 เมตร
เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 1,127.00 เมตร 2
เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 807.00 เมตร
รวมความยาวทั้งหมด : 2,716 เมตร
จำนวนช่องทางจราจร : 6 ช่องทางจราจร
ความกว้างสะพาน : 33.00 เมตร


ด้านบนสะพานพระราม 9
http://en.structurae.de/files/photos/108/rama8_01.jpg


ด้านข้างสะพานพระราม 9
http://i173.photobucket.com/albums/w67/
BlueDragoExp_photo/2.jpg

 

  สนเทศน่ารู้  ของดีประจำจังหวัด ขึ้นด้านบน 

บรรณานุกรม
"สะพานพระราม 9" สืบค้น 26 ต.ค. 2551 : https://www.exat.co.th/th/projects/index.php?ID=24
"สะพานพระรามเก้า และสวนสาธารณะสะพานพระราม 9กรุงเทพฯ" สืบค้น 26 ต.ค. 2551 : http://www.thai-tour.com/thai-tour/Bangkok/data/pic-thebridge-ramaIX.htm
"กินลม...ชมสะพาน" สืบค้น 26 ต.ค. 2551 : http://newgenstravel.com/webboard/wb_show.asp?Lang=&id=2051&ipagenum=32&xpagenum=627

ภาพประกอบ
"สะพานพระราม 9" สืบค้น 26 ต.ค. 2551 : http://www.kachon.com/tour/detail.asp?id=1570
"ด้านบนสะพานพระราม 9" สืบค้น 26 ต.ค. 2551 : http://en.structurae.de/files/photos/108/rama8_01.jpg
"ด้านข้างสะพานพระราม 9" สืบค้น 26 ต.ค. 2551 : http://i173.photobucket.com/albums/w67/BlueDragoExp_photo/2.jpg

รวบรวมข้อมูลโดย : กลุ่มนักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ปีการศึกษา1/2551

 

ปรับปรุงล่าสุด : 05 พฤศจิกายน 2551 17:38:04 น.