รบกวนด้วยนะคะ(การนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับงานบริการของห้องสมุด)

เริ่มโดย PARN, พฤศจิกายน 03, 2009, 09:45:47 AM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สวัสดีค่ะ

หนูอยากทราบว่า

ในปัจจุบันนี้ทางวงการบรรณารักษ์

ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีอะไรบ้างมาประยุกต์ใช้กับงานบริการของห้องสมุดทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากเทคโนโลยี RFID และบาร์โค้ด

ยังมีเทคโนโลยีอะไรอีกบ้างคะ



ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะคะ

#1
สวัสดีคะ
            ให้ดูข้อมูลจากไฟล์ที่แนบมา และต้องศึกษาจากรายการหนังสือที่ส่งมาให้ด้วย

เพิ่มเติมข้อมูล
    ‘เทเลเซ็นเตอร์’ ห้องสมุดเทคโนโลยี 3 จี
กทช. จับมือ กสท และ ควอลคอมม์ เดินหน้าโครงการเพื่อสังคม ใช้เทคโนโลยี 3จี ซีดีเอ็มเอ EV-DO ให้บริการด้านการแพทย์และห้องสมุดในพื้นที่ห่างไกล
ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวถึงนโยบายโครงการบริการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation หรือ USO) ว่า กทช. ร่วมกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรทเต็ด ดำเนินการจัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เทเลเซ็นเตอร์ (Telecenter)แล้วเสร็จ 2 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน ต.แม่นางขาว อ.คุระบุรี และห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ต.บ้านบางเหรียง อ.ทับปุด จ.พังงา ซึ่งติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(พีซี)จำนวน 8 เครื่อง และโน้ตบุ๊กอีก 4 เครื่อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านเครือข่ายมัลติมีเดียความเร็วสูง ซึ่งใช้เทคโนโลยี 3จี ซีดีเอ็มเอ 2000 1x EV-DO เชื่อมโยงศูนย์กลางเครือข่ายการเรียนรู้ทางไกล กับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) 
สำหรับบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านเครือข่ายมัลติ มีเดียความเร็ว สูงเทคโนโลยี    3จี ซีดีเอ็มเอ 2000 1x EV-DO สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งทั่วโลกมีผู้ใช้บริการ EV-DO แล้ว  กว่า 500 ล้านคน จากผู้ให้บริการ 67 ราย ใน 30 ประเทศ โดยประเทศไทยใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งใช้เพื่อสนับสนุนโครงการโทรคมนาคมเพื่อสาธารณสุข (Telehealth) ในพื้นที่ห่างไกล โดยให้เจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัยสามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในเมืองผ่านระบบดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที ส่วนการนำระบบดังกล่าวมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นดำเนินงาน.
จาก http://www.eduzones.com/knowledge-2-8-44257.html

เทคโนโลยีห้องสมุด และ Library 2.0
แนวคิด Library 2.0 เกิดจากความแพร่หลายของเทคโนโลยี Web 2.0 ซึ่งเปลี่ยนแบบการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้ จากเดิมทำให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศเอง แต่ปรับรูปแบบให้สารสนเทศไปถึงผู้ใช้ โดยผู้ใช้สารสนเทศไม่ต้องร้องขอ ซึ่งจะทำให้การเข้าใช้สารสนเทศห้องสมุดแพร่หลายและถึงผู้ใช้ตามความสนใจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การใช้แนวคิด Library 2.0 จึงเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบเว็บไซต์ห้องสมุด ซึ่งเป็นรูปแบบการนำเสนอเว็บไซต์แบบเดิม
Library Automation Software
แนวคิดของ Library 2.0 จะเกิดขึ้น เมื่อห้องสมุดมีฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุดแล้ว ซึ่งเรียกว่า Library Catalog โดยการใช้โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การใช้ OPAC เดิม สามารถเพิ่มการใช้งานให้ใช้กับ RSS feed เพื่อให้ผู้ใช้ดึงข้อมูลจาก Subject นั้นมาแสดงผลในเว็บของผู้ใช้แต่ละคนเองได้
จาก http://dekkid.blogspot.com/2007/05/library-20.html

นำโชค โสมาภา. MAGIC Version 3.0 Library ซอฟต์แวร์ไทยมาตรฐานสากล ซอฟต์แวร์บริหารห้อง   
       สมุดแมจิกไลเบอรี่.   (Windows Magazine ปีที่ 6,66( ม.ค. 2542) หน้า 187-188 ) ชั้น 2
       อาคาร 2